การลดหย่อนภาษีนอกจากจ่ายค่าประกันชีวิตแล้วการลงทุนในกองทุน LTF และ RMF ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลดหย่อนภาษีด้วยเช่นกัน
การประกันชีวิตข้อเสียคือต้องจ่ายจำนวนที่ค่อนข้างแน่นอนทุกปีเป็นระยะเวลาที่นาน แต่การลงทุนใน LTF หรือ RMF เราสามารถเลือกได้ว่าจะลงทุนเท่าไรในแต่ละปีตามกำลังทรัพย์ของเราในปีนั้นๆไป
ผู้เขียนได้มีโอกาศลงทุนในกองทุน LTF มาแล้ว 4 ปี ปฏิทินก็เลยอยากจะถ่ายทอดความรู้ที่พอมีอยู่บ้างเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุน LTF ไว้ซะหน่อย
LTF ย่อมาจากคําว่า “Long Term Equity Fund” หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือกองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งการเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น
สําหรับผู้ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาแบบเราๆ ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน คือสามารถนำมูลค่าที่เราลงทุนใน LTF ไปลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้ โดยสามารถนำค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF มาหักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน LTF เหมาะสําหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชํานาญ เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลาติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน รวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้ นั่นก็คือ… ลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่ น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน
นโยบายการลงทุนของกองทุน LTF คือ เน้นลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน LTF แต่ละกองอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น บางกองอาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของ LTF กองนั้นๆ ดังนั้นค่า NAV ของกองทุนก็จะขึ้นลงตามดรรชนีตลาดหุ้น โดยกองทุนอาจมีการจ่ายเงินปันผล หรือไม่มีการจ่ายเงินปันผลคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้
สําหรับกรณีที่มีการจ่ายเงินปันผล ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับเงินปันผลจะมีภาระภาษีที่ต้องจ่าย โดยสามารถเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือจะเลือกไม่หัก ณ ที่จ่าย แต่นําเงินปันผลที่ได้รับนั้นมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจําปีทีเดียวเลยก็ได้
–to be continued–
รอๆๆๆ ตอนต่อไป