ไมโครโฟน (Microphone)
|
ด้วยความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการจัดเก็บเสียงพูด เสียงร้อง และเสียงดนตรี เพื่อนำมาใช้อีกครั้ง จึงมีการผลิตอุปกรณ์ที่เรียกว่าไมโครโฟน (Microphone) ขึ้นมา เพื่อแปลงคลื่นเสียง ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าซึ่งสามารถจัดเก็บลงในสื่อบันทึกเสียง เช่น เทป, แผ่นเสียงหรือ ซีดี รวมไปถึงใช้ในการขยายสัญญาณเสียง |
|
ชนิดของไมโครโฟน
|
ไมโครโฟนที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้ |
- ไมโครโฟนแบบไดนามิกมูฟวิ่งคอล์ย (Dynamic Movie Coil Microphone) หรือที่เรียกสั้นๆว่าไดนามิกไมโครโฟน เป็นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของการเคลื่อนที่ของขดลวดตามเสียงที่มากระทบ และเมื่อขดลวดตัดผ่านสนามแม่เหล็กถาวร ก็จะเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามคลื่นเสียงนั้น ไมโครโฟนชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ครอบคลุมการใช้งานเกือบ
ทุกประเภท เพราะสามารถรับเสียงในย่านกว้างทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงได้
- ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุ ตามเสียงที่มากระทบแผ่นฉนวนที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลทสองแผ่น โดยส่วนใหญ่ไมโครโฟนประเภทนี้จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงเช่น ถ่านไฟฉายอยู่ด้วย สามารถตอบสนองความถี่สูงได้ดีมาก
- ไมโครโฟนแบบไร้สาย (Wireless Microphone) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ไมค์ลอย “ ซึ่งความจริงก็คือไมโครโฟน 2 แบบแรก เพียงแต่เพิ่มวงจรเครื่องส่งให้สามารถส่งสัญญาณออกมาเป็นคลื่นวิทยุได้นั่นเอง
|
|
หลักการทำงาน
|
- การทำงานของไมโครโฟนแบบไดนามิก
|
|
ไมโครโฟนแบบไดนามิก จะประกอบด้วยขดลวดพันอยู่บนฟอร์มพลาสติกทรงกระบอกที่ยึดติดกับแผ่นไดอะแฟรมบางๆ แล้วสวมลงในช่องว่างระหว่างแม่เหล็กถาวร เมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม แผ่นไดอะแฟรมที่เป็นพลาสติกหรือแผ่นอลูมิเนียมบาง ๆ ก็จะมีการอัดและคลายตัวตามคลื่นเสียง ทำให้ขดลวดเคลื่อนที่เข้าออกตามไปด้วย ซึ่งขดลวดก็จะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวร ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าออกมาที่ขดลวด ตามคลื่นเสียงที่เข้ามากระทบ |
- การทำงานของไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์
|
|
ไมโครโฟนชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะใช้แผ่นไดอะแฟรมที่เป็นโลหะบางๆ การทำงานจะใช้หลักการของตัวเก็บประจุ คือเมื่อมีคลื่นเสียงเข้ามากระทบแผ่นไดอะแฟรมทำให้แผ่นไดอะแฟรมมีการเคลื่อนที่เข้าออก ทำให้ระยะห่างระหว่างแผ่นเพลทเปลี่ยนแปลง เป็นผลให้ค่าความจุของไมโครโฟนเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เมื่อต่อเข้ากับตัวต้านทานและแบตเตอรี่ภายนอก ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตามไปด้วย |
ไมโครโฟนประเภทนี้มักจะมีช่องใส่แบตเตอรี่ และมีวงจรขยายสัญญาณอยู่ภายในตัวไมโครโฟน เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน และลดสัญญาณรบกวน แต่ถ้าเป็นไมโครโฟนราคาถูก ๆ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มักจะใช้ไฟเลี้ยงและวงจรขยายสัญญาณจากภายในเครื่อง |
- การทำงานของไมโครโฟนแบบไร้สาย
|
|
จะเป็นการรวมหัวไมโครโฟน วงจรขยายสัญญาณจากไมโครโฟน หรือปรีไมโครโฟน และวงจรส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไว้ภายในตัวไมโครโฟน เพื่อส่งสัญญาณไปยังภาครับที่ต่อไปยังเครื่องขยายเสียงได้โดยไม่ต้องใช้สาย |
การเลือกใช้งาน |
ปกติไมโครโฟนจะมีหลายราคาตามคุณภาพ มีราคาตั้งแต่ 50-60 บาท จนถึงหลักหมื่นบาท โดยแตกต่างกันที่ คุณภาพการตอบสนองความถี่เสียง และความไวในการรับ นอกจากนั้นการเลือกใช้ก็ยังพิจารณากันที่ขนาดความเหมาะสมและวัสดุที่ใช้ทำด้วย เช่นในงานบรรยาย ที่ต้องการความคล่องตัว อาจใช้ไมโครโฟนแบบไร้สาย หรือไมโครโฟนที่มีน้ำหนักเบา งานแสดงสดบนเวทีและงานบันทึกเสียง อาจต้องการไมโครโฟนที่มีคุณภาพเสียงที่ดี แต่หากใช้ในงานสนามที่ไม่ต้องการคุณภาพเสียงมากเท่าไร เราก็สามารถเลือกใช้ไมโครโฟนราคาถูกได้ นอกจากนี้ในกรณีของไมโครโฟนแบบไดนามิก ยังพิจารณาถึงขนาดอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนด้วย ถ้าใช้สายต่อยาวมาก ๆ ควรใช้ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำ เพราะสามารถลดสัญญานรบกวนได้ดีกว่าไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูง และถ้าเป็นไมโครโฟนที่มีคุณภาพเรายังพิจารณาถึง รูปแบบการรับคลื่นเสียงจากข้อมูลรายละเอียดคุณสมบัติต่างๆ ส่วนใหญ่มี ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ |
1. แบบรับเสียงรอบทิศทาง (Omni Direction) |
|
มักจะเป็นรูปแบบของไมโครโฟนที่ใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ โดยแบบนี้จะเหมาะสำหรับการบันทึกเสียง เพราะมีการตอบสนองความถี่กว้าง แต่มีโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนได้ง่าย การติดตั้งจึงควรพิจารณาเป็นพิเศษ และการใช้งานไม่ควรพูดห่างไมโครโฟนมากนัก |
2. แบบรับเสียงเฉพาะด้านหน้าไมโครโฟน (Cardioid Direction) |
|
เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถรับเสียงที่ห่างไมโครโฟน โดยไม่มีปัญหาเสียงรบกวน
|
การตรวจสอบ |
วิธีการตรวจสอบไมโครโฟนแบบไดนามิก อาจกระทำโดยการใช้ ถ่านไฟฉาย หรือ
มัลติมิเตอร์ ตั้งวัดความต้านทาน ย่าน R X 1 แล้วเขี่ยที่แจ็กไมโครโฟน (ไม่ควรต่อค้างไว้นานๆ เพราะขดลวดของไมโครโฟนอาจไหม้ได้) ถ้ามิเตอร์ขึ้นแสดงว่าใช้งานได้ ถ้าไม่ขึ้นให้ลองถอดแจ็กออกมาแล้วตรวจสอบว่าสายที่ต่อกับแจ็กขาดหรือไม่ ถ้าไม่ขาด ก็อาจตรวจตรงหัวของไมโครโฟนเลย โดยถอดหัวออกมา แล้วใช้มิเตอร์วัดดังกล่าว ถ้าใช้ได้แสดงว่าสายไมโครโฟนอาจจะขาด (ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีนี้มากที่สุด) |
สำหรับไมโครโฟนคอนเดนเซอร์อาจตรวจสอบได้ยาก ให้ตรวจสอบแรงดันไฟของแบตเตอรี่ หรือตรวจดูกระบะถ่านว่าเป็นสนิมหรือเปล่า |
การติดตั้งและการต่อใช้งาน |
ส่วนใหญ่การต่อใช้งานไมโครโฟนกับเครื่องเสียง สามารถกระทำได้ง่าย ๆ เพียงแต่เสียบเข้ากับช่องเสียบแจ็คที่มีคำว่า MIC ของเครื่องเสียง แต่ถ้าเป็นแจ็คคนละขนาด อาจแก้ปัญหาโดยการใช้ตัวแปลงขนาดแจ็กมาใช้ ซึ่งจะมีทั้งแบบแปลงจากแจ็คขนาดใหญ่เป็นขนาดเล็ก และ แปลงจากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่ |
สำหรับการติดตั้งต้องพิจารณาถึงตำแหน่งของมุม และผลของการสะท้อนของเสียงด้วย เพราะอาจจะทำให้เสียงไม่เรียบ หรือ เกิดเสียงหอนได้ |
|
โดยถ้าหากพื้นหรือผนังด้านหลังเป็นแผ่นเรียบอาจทำให้มีแหล่งสัญญาณเสียงมากกว่าหนึ่งแห่ง คือ นอกจากแหล่งเสียงจริงแล้ว ยังมีคลื่นเสียงที่เกิดจากการสะท้อนเข้ามาในไมโครโฟนด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงก้อง และเสียงหอนได้ การแก้ไขอาจใช้วิธีจัดวัสดุซับเสียง เช่น ม่านหรือพรมเข้ามาช่วย หรือใช้ไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงเฉพาะด้านหน้าเข้ามาช่วยแก้ปัญหา |
วิธีใช้และดูแลรักษาไมโครโฟน |
- เลือกไมโครโฟนชนิดที่เหมาะสมงาน โดยพิจารณาในเรื่องทิศทางการรับเสียง และชนิดของไมโครโฟน
- ควรพูดห่างจากไมโครโฟนประมาณ 4 -12 นิ้ว เพื่อลดการเกิดเสียง “ฮัม” และเสียงลมหายใจ
- อย่าเคาะหรือเป่าไมโครโฟนเพราะอาจทำให้ขดลวดไมโครโฟนขาดหรือชำรุดได้
- ระวังอย่าให้ตกหล่นจากที่สูงหรือถูกน้ำ
- อย่าวางสายไมโครโฟนใกล้กับสายไฟฟ้าเพราะเกิดเสียงรบกวนจากความถี่ไฟฟ้าได้
- อย่าหันส่วนหน้าของไมโครโฟนเข้าหาลำโพง หรืออยู่ใกล้ลำโพงเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดเสียงหวีดหรือเสียงหอนได้ เนื่องจากมีการสะท้อนของเสียงย้อนกลับมา ดังนั้น จึงควรเบี่ยงไมโครโฟนให้ห่างจากหน้าลำโพง ถ้าเกิดเสียงรบกวนอีก ให้ปิดสวิตช์ที่ไมโครโฟนแล้วลดระดับความดังของเครื่องเสียงลง จากนั้นจึงค่อย ๆ เร่งเสียงให้ดังขึ้นมาจนถึงระดับที่ต้องการ
|
ลำโพง (Loudspeaker) |
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า ให้กลับมาเป็นคลื่นเสียงให้เราได้ยิน
|
|
ชนิดของลำโพง |
ลำโพงที่เรามักพบเห็นกันทั่วไปมี 2 แบบคือ
|
1. ลำโพงแบบตู้ปิด จะเป็นลำโพงที่ใช้ตามบ้าน โดยภายในจะประกอบด้วยตัวลำโพง หลายตัว โดยแต่ละตัว จะมีความสามารถ ในการตอบสนองความถี่ต่างๆกันคือ |
- ลำโพงเสียงทุ้ม (Woofer) หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า “วูฟเฟอร์” มักจะมีขนาดใหญ่ ตอบสนองความถี่ต่ำได้ดี เช่น เสียงกลอง
- ลำโพงเสียงกลาง (Midrange) จะตอบสนองเสียงกลาง เช่น เสียงพูด ,เสียงร้อง โดยจะมีขนาดรองลงมา จากลำโพงวูฟเฟอร์
- ลำโพงเสียงแหลม (Tweeter) มักเรียกทับศัพท์ว่า “ทวีตเตอร์ “ จะมีขนาดเล็ก ตอบสนองความถี่สูงได้ดี
|
|
|
ลำโพงบางตู้ จะมีเพียงเสียงทุ้มกับเสียงแหลม เรียกว่าลำโพง 2 ทาง ตู้ลำโพงบางตู้อาจจะมีลำโพงตัวเดียว หรือต่อร่วมกันหลายดอก ส่วนใหญ่จะเป็นลำโพงแบบตอบสนองความถี่ย่านกว้าง หรือที่เรียกว่าลำโพงฟูลเร็นจ์ (Full Range Speaker) สำหรับตู้ลำโพงแบบที่มีตัวลำโพงหลายความถี่ ส่วนใหญ่มักจะมีแผ่นวงจรแยกความถี่ หรือที่เรียกว่า ครอสโอเวอร์เน็ตเวอร์ค (Cross Over Network) เป็นตัวแบ่งความถี่ให้กับลำโพงแต่ละตัว แต่ถ้าเป็นตู้ลำโพงราคาถูกอาจมีเพียงตัวเก็บประจุ คั่นระหว่างขั้วต่อสายกับลำโพงเสียงแหลมเท่านั้น |
2. ลำโพงฮอร์น (Horn) ส่วนใหญ่มักใช้กับงานกระจายเสียงกลางแจ้ง เพราะเป็นลำโพงที่มีประสิทธิภาพสูง แต่คุณภาพเสียงไม่ค่อยดีนัก โดยด้านหลังจะมีตัวขับเสียงซึ่งสามารถถอดเปลี่ยนได้ มักเรียก
ทับศัพท์ว่า “ยูนิตฮอร์น” (Unit Horn) |
|
หลักการทำงาน |
ลำโพงแบบตู้ปิดส่วนใหญ่ จะเป็นลำโพงแบบ ไดนามิกมูฟวิ่งคอล์ย (Dynamic Moving Coil) โดยจะมีโครงสร้างดังนี้
|
|
- ขอบลำโพง จะมีลักษณะเป็นลอน มีทั้งแบบขอบกระดาษ,ขอบยาง หรือขอบที่ทำจากพลาสติกโพลีเมอร์ ขอบลำโพง มีหน้าที่ในการยึดกรวยลำโพงเข้ากับเฟรม
- กรวยลำโพง (Cone) ส่วนใหญ่มักทำด้วยกระดาษอาจจะมีบางบริษัททำด้วยสารพลาสติก กรวยลำโพงจะยึดติดกับขดลวดเสียง (Voice Coil) โดยจะมีการเคลื่อนตัวเข้าออกตามขดลวดทำให้เกิดเป็นคลื่นเสียงออกมา
- แผ่นเพลทด้านบน (Top Plate) เป็นโลหะที่แม่เหล็กไม่ดูดใช้กั้นด้านบน เพื่อกันเส้นแรง
แม่เหล็กให้อยู่ภายในช่องว่าง (Gap) ภายในลำโพงไม่ให้เล็ดลอดออกมาด้านนอก
- แผ่นเพลทส่วนกลาง (Pole Piece) ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน คือ กันไม่ให้สนามแม่เหล็กกระจายออกมา ทำให้สนามแม่เหล็กรวมตัวกันอยู่ภายในช่องว่างที่สอดขดลวดเสียง
- แท่งแม่เหล็ก (Magnet) อาจทำเป็น แม่เหล็กอัลนิโค (Alnico Magnet) ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างอะลูมิเนียม กับ โคบอลท์ หรือแบบ แม่เหล็กเฟอร์ไรท์ (Ferrite) สร้างสนามแม่เหล็กภายในลำโพง ส่วนใหญ่ลำโพงที่มีราคาแพงมักใช้แม่เหล็กอัลนิโคขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กปริมาณมากๆภายในช่องว่าง
- โครงเหล็ก (Frame) ก็คือส่วนที่เป็นโครงโลหะของลำโพงนั่นเอง
- ขดลวดเสียง (Voice Coil) หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า “วอยซ์คอล์ย” คือขดลวดที่วางในช่องแคบ ๆ(Gap) ภายในลำโพง และยึดติดกับกรวยลำโพง ส่วนปลายทั้งสองข้างเชื่อมกับขั้วต่อด้านนอกที่จะไปต่อกับเครื่องขยายเสียง
- สไปเดอร์ (Spider) มีลักษณะเป็นลอนอยู่ด้านหลังของกรวยลำโพง โดยทำหน้าที่เหมือนสปริง เพื่อช่วยให้เกิดการยืดหยุ่นในการคืนตัวกลับของกรวยลำโพง
|
|
การทำงานเป็นดังนี้คือ เมื่อมีสัญญาณเสียงจากเครื่องขยายเสียงเข้ามาที่ขั้วลำโพง จะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านขดลวดเสียง ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ขดลวด ซึ่งจะทำการต้านและเสริมเส้นแรงกับสนามแม่เหล็กถาวรจากแท่งแม่เหล็ก จึงเกิดการดูดและผลักตามสัญญาณเสียงที่เข้ามา |
กรวยของลำโพงที่ยึดติดกับขดลวดเสียง ก็จะมีการเคลื่อนตัวเข้าและออกเป็นจังหวะตามสัญญาณเสียงผลักดันอากาศ ทำให้เกิดคลื่นเสียงออกมาให้เราได้ยิน |
การเลือกใช้งาน |
การเลือกใช้ลำโพงเราจะพิจารณาจากความต้องการของคุณภาพเสียงและสถานที่ติดตั้งเช่นในกรณีติดตั้งกลางแจ้ง การกระจายเสียง ข้อมูลข่าวสารของหอกระจายข่าวตามชนบท มักไม่คำนึงคุณภาพเสียง เราจะใช้ลำโพงฮอร์นมากกว่าลำโพงตู้ เพราะมีความทนทานและ
มีประสิทธิภาพสูง แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องการคุณภาพเสียง หรือติดตั้งภายในห้อง ส่วนใหญ่ควรใช้ลำโพงตู้เพราะให้เสียงที่ดีกว่า สำหรับการเลือกตัวลำโพงของลำโพงตู้นั้น ถ้าเราต้องการใช้เปิดเพลงเบา ๆ เรามักใช้ตัวลำโพงที่มีขอบเป็นยาง หรือโพลีเมอร์เพราะยืดหยุ่นได้มาก แต่ถ้าใช้กับการพูดผ่านไมโครโฟน มักใช้ขอบที่เป็นกระดาษซึ่งยืดหยุ่นได้น้อยกว่า ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องขอบลำโพงขาด เนื่องจากการกระแทกของเสียงพูด |
การตรวจสอบ |
วิธีการตรวจสอบลำโพงแบบไดนามิกมูฟวิ่งคอล์ย ว่าดีหรือเสีย อาจทำการตรวจสอบเช่นเดียวกับไมโครโฟน คือใช้ มัลติมิเตอร์ ตั้งย่านวัด X 1 แล้วเขี่ยที่ขั้วลำโพง ถ้าเข็มมิเตอร์ขึ้นและได้ยินเสียง แคร็ก ๆ ที่ลำโพงแสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าหากเป็นการเสียทางกล เช่นขอบขาดหรือขดลวดเสียงบิด ขูดกับช่องว่างภายในลำโพง การตรวจสอบทำได้เฉพาะต้องต่อเข้ากับเครื่องขยายเพื่อทดสอบเท่านั้น |
|
การตรวจสอบอีกลักษณะหนึ่ง คือการตรวจสอบหาขั้วหรือเฟสของลำโพง โดยปกติที่ขั้วต่อลำโพงจะมี การคาดสีแดง-ดำ หรือแสดงเป็น บวก-ลบ เพื่อให้ต่อกับขั้วเครื่องขยายเสียงได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าขั้วลบเลือน เราสามารถตรวจหาขั้วได้โดยมัลติมิเตอร์ ตั้งย่านวัด X 1 แล้วเขี่ยที่ขั้วลำโพง จากนั้นสังเกตว่าถ้าขั้วต่อถูกต้องในช่วงต่อกับมิเตอร์ กรวยลำโพงจะต้องกระพือออกมา และการกำหนดขั้วคือ ขั้วบวกจะต่อกับสายวัดสีดำ และ ขั้วลบ จะต่อกับสายวัดสีแดง (เพราะปกติมัลติมิเตอร์ทั่วไปที่ใช้กัน มักต่อแบตเตอรี่ภายในกลับขั้วกับขั้วต่อสายมิเตอร์) หรือถ้าไม่มีมิเตอร์ เราอาจใช้ถ่านไฟฉายต่อทดสอบก็ได้ โดยถ้าต่อถูกต้องตามขั้ว กรวยลำโพงจะผลักตัวออก แต่ถ้าขั้วไม่ถูกต้องกรวยลำโพงจะถูกดึงเข้า |
การติดตั้งและต่อใช้งาน |
การต่อลำโพง ต้องดูที่ขั้วอิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงว่ามีค่ากี่โอห์ม จะต้องเลือกใช้หรือต่อลำโพงให้มีค่าตรงกัน เช่นถ้าที่ขั้วต่อเครื่องเสียงเขียนว่า 8 โอห์ม ก็ควรต่อเข้ากับลำโพงที่มีขนาด 8 โอห์มเช่นเดียวกัน เพื่อให้มีการโอนถ่ายพลังงานได้สูงสุด แต่ถ้าไม่มีลำโพง 8 โอห์ม ก็อาจใช้ลำโพง 4 โอห์ม 2 ตัวต่ออนุกรมกัน เช่นเดียวกับการต่อความต้านทานก็ได้ และในทำนองเดียวกัน ถ้าขั้วต่อที่เครื่องเสียงเขียนว่า 4 โอห์ม ก็ควรต่อเข้ากับลำโพงที่มีขนาด 4 โอห์ม ถ้ามีแต่ลำโพง 8 โอห์ม ก็อาจใช้ลำโพง 8 โอห์ม 2 ตัวต่อขนานกันแทน |
ข้อสำคัญอีกประการคือ ควรเลือกใช้ลำโพงที่มีขนาดกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเครื่องเสียง เช่นถ้าใช้เครื่องเสียงขนาด 100 วัตต์ ลำโพงที่ใช้งานก็ควรมีขนาด 100 วัตต์ ด้วยเช่นกัน (แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะว่าวัตต์ของลำโพง ไม่ได้เหมือนกับวัตต์ทนกำลังไฟฟ้า ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป) แต่ถ้าไม่ได้เร่งเสียงเต็มที่นักก็อาจใช้ขนาดต่ำลงมาได้ แต่ไม่ควรแตกต่างกันมากนัก เช่น จะใช้ลำโพงขนาด 10 วัตต์ กับเครื่องเสียงขนาด 100 วัตต์ คงไม่เหมาะสม สำหรับการติดตั้งลำโพง ควรหันหน้าลำโพงมายังผู้ฟัง และจัดทำมุมให้เหมาะสม เพื่อให้รัศมีของเสียงครอบคลุมผู้ฟังทั้งหมด |
ข้อควรระวังในการต่อใช้งาน |
1. ควรเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับงาน
2. ควรใช้ลำโพงที่มีขนาดกำลังวัตต์เหมาะสมกับเครื่องขยายเสียง
3. ควรต่อลำโพงให้มีขนาดของอิมพีแดนซ์ตรงกับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องเสียง
4. ควรต่อลำโพงให้ตรงเฟสกับขั้วเครื่องเสียง
5. ไม่ควรใช้ลำโพงฟังเพลงที่คุณภาพดี ๆ มาใช้กับการพูดผ่านไมโครโฟนเพราะอาจทำให้ลำโพงเสียหายได้
|
ไมโครโฟน (Microphone)
ชนิดของไมโครโฟน
ทุกประเภท เพราะสามารถรับเสียงในย่านกว้างทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงได้
หลักการทำงาน
เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถรับเสียงที่ห่างไมโครโฟน โดยไม่มีปัญหาเสียงรบกวน
มัลติมิเตอร์ ตั้งวัดความต้านทาน ย่าน R X 1 แล้วเขี่ยที่แจ็กไมโครโฟน (ไม่ควรต่อค้างไว้นานๆ เพราะขดลวดของไมโครโฟนอาจไหม้ได้) ถ้ามิเตอร์ขึ้นแสดงว่าใช้งานได้ ถ้าไม่ขึ้นให้ลองถอดแจ็กออกมาแล้วตรวจสอบว่าสายที่ต่อกับแจ็กขาดหรือไม่ ถ้าไม่ขาด ก็อาจตรวจตรงหัวของไมโครโฟนเลย โดยถอดหัวออกมา แล้วใช้มิเตอร์วัดดังกล่าว ถ้าใช้ได้แสดงว่าสายไมโครโฟนอาจจะขาด (ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีนี้มากที่สุด)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า ให้กลับมาเป็นคลื่นเสียงให้เราได้ยิน
ลำโพงที่เรามักพบเห็นกันทั่วไปมี 2 แบบคือ
ทับศัพท์ว่า “ยูนิตฮอร์น” (Unit Horn)
ลำโพงแบบตู้ปิดส่วนใหญ่ จะเป็นลำโพงแบบ ไดนามิกมูฟวิ่งคอล์ย (Dynamic Moving Coil) โดยจะมีโครงสร้างดังนี้
แม่เหล็กให้อยู่ภายในช่องว่าง (Gap) ภายในลำโพงไม่ให้เล็ดลอดออกมาด้านนอก
มีประสิทธิภาพสูง แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องการคุณภาพเสียง หรือติดตั้งภายในห้อง ส่วนใหญ่ควรใช้ลำโพงตู้เพราะให้เสียงที่ดีกว่า สำหรับการเลือกตัวลำโพงของลำโพงตู้นั้น ถ้าเราต้องการใช้เปิดเพลงเบา ๆ เรามักใช้ตัวลำโพงที่มีขอบเป็นยาง หรือโพลีเมอร์เพราะยืดหยุ่นได้มาก แต่ถ้าใช้กับการพูดผ่านไมโครโฟน มักใช้ขอบที่เป็นกระดาษซึ่งยืดหยุ่นได้น้อยกว่า ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องขอบลำโพงขาด เนื่องจากการกระแทกของเสียงพูด
PATTTRA WANAJARO
More Posts
PATTTRA WANAJARO