OER ย่อมาจากคำว่า Open Educational Resources และมีผู้บัญญัติคำไทยว่า คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด จุดเริ่มต้นของ OER มาจากโครงการของ UNESCO (องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ที่ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเสตส์ [Masschusetts Institute of Technology (MIT)] ในการพัฒนาและรวบรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ไปใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีข้อจำกัด ความสำเร็จของโครงการ ทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ Open Educational Resources หรือ OER เพื่อสนับสนุนการแบ่งปันความรู้แก่มวลมนุษยชาติ
ปัจจุบันมีแหล่งสนับสนุนและให้บริการ OER เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และห้องสมุดสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ผนวกทรัพยากรการเรียนรู้ดังกล่าว เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้แนะนำสำหรับนักศึกษาและผู้สอน
OER ย่อมาจากคำว่า Open Educational Resources และมีผู้บัญญัติคำไทยว่า คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด จุดเริ่มต้นของ OER มาจากโครงการของ UNESCO (องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ที่ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเสตส์ [Masschusetts Institute of Technology (MIT)] ในการพัฒนาและรวบรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ไปใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีข้อจำกัด ความสำเร็จของโครงการ ทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ Open Educational Resources หรือ OER เพื่อสนับสนุนการแบ่งปันความรู้แก่มวลมนุษยชาติ
ปัจจุบันมีแหล่งสนับสนุนและให้บริการ OER เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และห้องสมุดสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ผนวกทรัพยากรการเรียนรู้ดังกล่าว เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้แนะนำสำหรับนักศึกษาและผู้สอน
สำหรับประเทศไทยมี OER ที่มีชื่อว่า คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ Thai Open Educational Resources (OER) เป็นคลังทรัพยากรที่มีการพัฒนาขึ้นภายใต้ “โครงการระบบสื่อสารออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558” ระบบดังกล่าวประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้แบบเปิดจำนวนมาก ซึ่งสามารถเข้าไปใช้งานได้ที่ oer.learn.in.th
KANTIMA SETTHAPHONG
More Posts
KANTIMA SETTHAPHONG