Post Views:
189
บางคนอาจรอชีวิตหลังเกษียณ เพราะนั่นหมายถึงเวลาของการพักผ่อน แต่เมื่อไม่ต้องทำงานก็ไม่มีเงินเดือน (ยกเว้นบำนาญของข้าราชการบำนาญ) เมื่อไม่มีเงินแล้วเราจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไรหล่ะ หรือจะรอให้ลูกหลานเลี้ยง?
การวางแผนการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างหนึ่งโดยเฉพาะหลังเกษียณ ยิ่งเริ่มวางแผนเร็วเท่าไรก็ยิ่งจัดการได้ง่ายเท่านั้น ในห้องสมุดของวิทยาเขตภูเก็ตเองก็มีหนังสือแนวนี้อยู่ค่อนข้างเยอะ โดยใช้คำค้นว่า “การเงินส่วนบุคคล” ใน “Subject alphabetic” ที่ http://opac.phuket.psu.ac.th
ถ้าอยากเห็นภาพกว้างๆ ก่อนว่าเราควรจะมีเงินเก็บเท่าไรตอนเกษียณก็สามารถหาไฟล์ Excel ที่ใส่สูตรไว้มาใส่ค่าของตัวเองได้ เช่นที่
www.thaimutualfundnews.com/program/saving.xls
จะเห็นว่าไฟล์ Excel ที่นำมานี้ จะมีค่าที่เราต้องใส่อาทิเช่น อายุปัจจุบัน คิดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงกี่ปี (ค่าเฉลี่ยอายุของประชากรไทยตอนนี้เพศชายอยู่ที่ 71.8 และเพศหญิงคือ 78.6 http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Gazette.aspx และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตามเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา) สมมติว่าตอนนี้เราอายุ 35 ปี เกษียณอายุตอน 60 ปี นั่นหมายความเรามีเวลาเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณอีก 26 ปี (รวมปีนี้ด้วย) แล้วถ้าคิดว่าเราคงมีอายุตามค่าเฉลี่ยของชายไทยที่ 71 ปี โดยคิดว่าต้องใช้เงินเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท (อย่าลืมว่าค่าของเงินในอนาคตมันจะลดลงเรื่อยๆ ค่าที่ยกตัวอย่างอาจจะไม่ใช่จำนวนเงินที่เหมาะสมในตอนนั้น) เราต้องมีเงินเก็บถึงกว่า 6,600,000 กว่าบาท เพื่อให้เรามีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาทตั้งแต่เกษียณจนถึงอายุ 71 ปี
ถ้าเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท ทุกเดือนจากวันนี้จนถึงเกษียณ โดยคิดผลตอบแทนที่ร้อยละ 4 และคิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 (ปี 2559 อัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ไว้คือ 0.78 http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409) จะได้แค่ 5,500,000 บาท ซึ่งไม่พอกับจำนวนเงินที่เราคาดการณ์ไว้ ดังนัั้นถ้าจะมีเงินเก็บให้ได้ตามเป้าหมายก็ต้องเก็บเงินให้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตัวเลขในไฟล์นี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกตัว
เมื่อเราใส่ค่าของตัวเองแล้ว เราก็จะรู้แล้วหล่ะว่าเราควรจะเก็บเงินอย่างน้อยเดือนละเท่าไร ควรลงทุนเพิ่มเติมดีไหมเพื่อได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินเฟ้อ
อย่างที่บอกไว้ตอนต้นบทความว่ายิ่งเริ่มเร็วก็จะจัดการง่ายขึ้นเท่านั้น
ว่าแต่…วันนี้คุณได้วางแผนทางการเงินของตัวคุณเองแล้วหรือยัง?
บางคนอาจรอชีวิตหลังเกษียณ เพราะนั่นหมายถึงเวลาของการพักผ่อน แต่เมื่อไม่ต้องทำงานก็ไม่มีเงินเดือน (ยกเว้นบำนาญของข้าราชการบำนาญ) เมื่อไม่มีเงินแล้วเราจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไรหล่ะ หรือจะรอให้ลูกหลานเลี้ยง?
การวางแผนการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างหนึ่งโดยเฉพาะหลังเกษียณ ยิ่งเริ่มวางแผนเร็วเท่าไรก็ยิ่งจัดการได้ง่ายเท่านั้น ในห้องสมุดของวิทยาเขตภูเก็ตเองก็มีหนังสือแนวนี้อยู่ค่อนข้างเยอะ โดยใช้คำค้นว่า “การเงินส่วนบุคคล” ใน “Subject alphabetic” ที่ http://opac.phuket.psu.ac.th
ถ้าอยากเห็นภาพกว้างๆ ก่อนว่าเราควรจะมีเงินเก็บเท่าไรตอนเกษียณก็สามารถหาไฟล์ Excel ที่ใส่สูตรไว้มาใส่ค่าของตัวเองได้ เช่นที่
www.thaimutualfundnews.com/program/saving.xls
จะเห็นว่าไฟล์ Excel ที่นำมานี้ จะมีค่าที่เราต้องใส่อาทิเช่น อายุปัจจุบัน คิดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงกี่ปี (ค่าเฉลี่ยอายุของประชากรไทยตอนนี้เพศชายอยู่ที่ 71.8 และเพศหญิงคือ 78.6 http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Gazette.aspx และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตามเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา) สมมติว่าตอนนี้เราอายุ 35 ปี เกษียณอายุตอน 60 ปี นั่นหมายความเรามีเวลาเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณอีก 26 ปี (รวมปีนี้ด้วย) แล้วถ้าคิดว่าเราคงมีอายุตามค่าเฉลี่ยของชายไทยที่ 71 ปี โดยคิดว่าต้องใช้เงินเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท (อย่าลืมว่าค่าของเงินในอนาคตมันจะลดลงเรื่อยๆ ค่าที่ยกตัวอย่างอาจจะไม่ใช่จำนวนเงินที่เหมาะสมในตอนนั้น) เราต้องมีเงินเก็บถึงกว่า 6,600,000 กว่าบาท เพื่อให้เรามีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาทตั้งแต่เกษียณจนถึงอายุ 71 ปี
ถ้าเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท ทุกเดือนจากวันนี้จนถึงเกษียณ โดยคิดผลตอบแทนที่ร้อยละ 4 และคิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 (ปี 2559 อัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ไว้คือ 0.78 http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409) จะได้แค่ 5,500,000 บาท ซึ่งไม่พอกับจำนวนเงินที่เราคาดการณ์ไว้ ดังนัั้นถ้าจะมีเงินเก็บให้ได้ตามเป้าหมายก็ต้องเก็บเงินให้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตัวเลขในไฟล์นี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกตัว
เมื่อเราใส่ค่าของตัวเองแล้ว เราก็จะรู้แล้วหล่ะว่าเราควรจะเก็บเงินอย่างน้อยเดือนละเท่าไร ควรลงทุนเพิ่มเติมดีไหมเพื่อได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินเฟ้อ
อย่างที่บอกไว้ตอนต้นบทความว่ายิ่งเริ่มเร็วก็จะจัดการง่ายขึ้นเท่านั้น
ว่าแต่…วันนี้คุณได้วางแผนทางการเงินของตัวคุณเองแล้วหรือยัง?
บรรน่ารัก
More Posts
บรรน่ารัก