Post Views:
1,041
เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 2562 ได้รับมอบหมายให้ไปเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ ในหัวข้อ “การใช้งาน และการดูแลระบบบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศออนไลน์” โดยมี ดร.นพดล สุกแสงปัญญา เป็นวิทยากร (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และ ทีมงานจาก GISTDA (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สทอภ.)
เนื้อหาหลักของการอบรม คือ การทำความรู้จักว่าข้อมูลแบบได้เป็นข้อมูลภูมิสารสนเทศ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอมาตรฐานชั้นข้อมูล GIS ทั้ง 13 ชั้นของไทยภายใต้ชื่อมาตรฐาน FGDS และขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำชั้นข้อมูลเหล่านี้ให้บันทึกข้อมูลตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ต่อมาได้แนะนำเครื่องมือด้าน GIS 3 ตัว เป็นของคนไทย 2 ตัวที่ทำงานแบบ Web-Base (WMS) คือ NGIS Portal และ FGDS โดยทั้ง 2 ตัวนี้สามารถเข้าใช้งานได้จากเว็บไซต์ของ คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (กภช.) และเป็น Opensource อีก 1 ตัวคือ QGIS
หัวข้อ
ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
มาตรฐาน FGDS
NGIS Portal
QGIS
FGDS
ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geoinfomatic data)
ข้อมูลภูมิสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (Spatial Data) และ ลักษณะเฉพาะ (Attribute Data) ของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก
ข้อมูลแบบ Spatial Data เป็นข้อมูลเชิงภาพ (Graphic Data) จะมีการเก็บข้อมูล 2 แบบ คือ (1) Vector data model (Point, Line และ Polygon) และ (2) Raster data model (Grid cell/Pixel/Image)
ข้อมูลแบบ Vector เป็นข้อมูลมีทิศทาง ประกอบด้วยไฟล์หลัก 3 ตัว คือ
.shp (เก็บข้อมูลพื้นที่)
.dbf (เก็บข้อมูล attribute ในลักษณะของ dBASE Table)
.shx (เก็บข้อมูลเชื่อมโยงระหว่าง .shp และ .dbf) และ
ไฟล์ประกอบอื่นๆ เช่น .prj .xml .sbn .sbx
รูปแบบข้อมูล Raster จะเป็นไฟล์ .tiff (Geotiff) โดยมีข้อกำหนดว่าแต่ละ pixel ที่เป็นข้อมูลภาพจะไม่ใช้ค่าสีดำ RGB(0,0,0)
สำหรับ Attribute Data เป็นข้อมูลอรรถาธิบาย (Non-graphical data) ที่บรรยายถึงคุณลักษณะต่างๆ ของข้อมูล
ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภูมิสารสนเทศ
การในการบริหารจัดการทรัพยาการน้ำ เช่น ดูทิศทางการไหลของน้ำ
การจัดการทรัพยากรป่าไม้ เช่น ดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่า การทำไร่หมุนเวียน
งานด้านการเกษตร เช่น ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก
การบริหารจัดการภัยพิบัติ
มาตรฐาน FGDS
คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (กภช.) ซึ่งเป็นองค์กรในระดับนโยบายของประเทศมีมติเห็นชอบให้มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาภูมิสารสนเทศของชาติ โดยส่งเสริมให้เกิดการใช้งานข้อมูลร่วมกัน มีการพัฒนามาตรฐานทางด้านโครงสร้าง เนื้อหา คุณลักษณะ คุณภาพของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการจัดทำชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Geographic Data Set, FGDS) เพื่อให้บริการผ่านระบบสืบค้นและบริการภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal) ข้อกำหนดมาตรฐาน FGDS
กำหนดรายการ Feature และ Attribute ในแต่ละชั้นข้อมูลให้เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐาน
มีการกำหนดนิยามที่ชัดเจนของ Geographic feature ให้เป็นที่เข้าใจร่วมกันและตรงกัน เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง สระ เป็นต้น
มีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพของข้อมูล ทั้งด้านความถูกต้องเชิงตำแหน่ง (Positonal accuracy) ความครบถ้วนของข้อมูล (Completeness) ความถูกต้องของข้อมูล (Thermatic accuracy) และ ความสอดคล้องทางตรรกะของข้อมูล (Logical consistency)
FGDS ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 13 ชั้นข้อมูลที่มีหน่วยงานรับผิดชอบแตกต่างกันไป
#
รายการข้อมูลภูมิสารสนเทศ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
วิธีการแสดงผลข้อมูล
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้
1
แปลงที่ดิน
กรมที่ดิน
Vector
การติดตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและขนาดของที่ดิน
2
เขตการปกครอง
กรมการปกครอง
การจำแนกขอบเขตจังหวัด อำเภอ เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
3
เส้นทางคมนาคม
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
การวิเคราะห์โครงข่าย และการวางแผนเส้นทางขนส่ง
4
เขตชุมชน/อาคาร
กรมโยธาฑิการและฝังเมือง
การวางผังเมือง การจัดเก็บภาษีอาคารพาณิชย์
5
ป่าไม้
กรมป่าไม้
การประเมินพืันที่ป่าไม้ ณ เวลาต่างๆ
6
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
การติดตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่เมือง การเกษตร แหล่งน้ำ
7
แหล่งน้ำ
กรมทรัพยาการน้ำ
การวิเคราห์แนวทางการชลประทาน
8
อุทกศาสตร์
กรมอุทกศาสตร์
ข้อมูลพื้นที่ชายฝั่ง การอนุรักษ์พืันที่ชายฝั่ง การกัดเซาะชายฝั่ง
9
หมุดหลักฐานแผนที่
กรมแผนที่ทหาร
การวางแผนด้านการก่อสร้าง
10
ความสูงภูมิประเทศเชิงเลข(DEM)
Raster
ข้อมูลเส้นชั้นความสูง
11
ภาพแผนที่ภูมิประเทศ
แผนที่ภูมิประเทศ
12
ภาพถ่ายทางอากาศ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
13
ภาพดาวเทียมดันแก้
GISDA
การประเมินการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ภัยพิบัต
NGIS Portal
ระบบ NGIS Portal หรือ National Geo-Informatics Infrastructure System เป็นระบบสืบค้นภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ ที่ให้บริการในรูปแบบ Web Map Service (WMP) ทำให้หน่วยงานต่างๆ สามารถจัดทำและแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ปัจจุบันมีชั้นข้อมูลที่สามารถเลือกใช้ได้กว่า 2000 รายการ
NGIS Portal อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถนำแผนที่ฐานและชั้นข้อมูลที่สนใจมาประกอบ ปรับแต่งรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เป็นเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอในรูปแบบ Web Map และแบ่งปันออกเป็น Web Mapping Application
งานในส่วนของการ Workshop
QGIS
Quantum GIS หรือ QGIS เป็นโปรแกรมแบบ Free and Open Source Software ติดตั้งใช้งานบน Desktop รองรับรูปแบบข้อมูลทาง GIS หลากหลาย ในการอบรมจะใช้โปรแกรมรุ่น 3.6 และ ตัวอย่างข้อมูลของจังหวัดภูเก็ต
เริ่มจากการใช้โปรแกรม QGIS ในการนำข้อมูล GIS ชั้นต่างๆ มาประกอบเป็นเนื้อหาที่สนใจ และส่งเนื้อหาออกไปด้วยการ Print Layout เพื่อการนำเสนอข้อมูลต่อไป
ในช่วงปฎิบัติให้นำข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เป็นภาพถ่ายดาวเทียม จังหวัดภูเก็ต ข้อมูลขอบเขตอำเภอ ข้อมูลถนน และ จุดกลับรถ มาสร้างเป็นแผนที่แสดงจุดกลับรถ อ.เมืองภูเก็ต ตามภาพ
FGDS-FrontEnd/BackEnd
ในส่วนของระบบ FGDS จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับ NGIS Portal แต่เน้นไปที่ข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ผ่านมาตรฐาน FGDS แล้วเท่านั้น ทั้งนี้มีแผนจะปรับข้อมูลภูมิสารสนเทสบน NGIS Portal ทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตรฐาน FGDS แล้วจึงรวบ 2 ระบบนี้เข้าด้วยกันที่ NGIS Portal
ทั้งนี้ในวันอบรมระบบอยู่ระหว่างการปรับปรุงทั้งส่วนของ FrontEnd และ BackEnd จึงเป็นการเล่าด้วยภาพไม่ได้มีการลงมือปฎิบัติ
เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 2562 ได้รับมอบหมายให้ไปเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ ในหัวข้อ “การใช้งาน และการดูแลระบบบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศออนไลน์” โดยมี ดร.นพดล สุกแสงปัญญา เป็นวิทยากร (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และ ทีมงานจาก GISTDA (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สทอภ.)
เนื้อหาหลักของการอบรม คือ การทำความรู้จักว่าข้อมูลแบบได้เป็นข้อมูลภูมิสารสนเทศ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอมาตรฐานชั้นข้อมูล GIS ทั้ง 13 ชั้นของไทยภายใต้ชื่อมาตรฐาน FGDS และขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำชั้นข้อมูลเหล่านี้ให้บันทึกข้อมูลตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ต่อมาได้แนะนำเครื่องมือด้าน GIS 3 ตัว เป็นของคนไทย 2 ตัวที่ทำงานแบบ Web-Base (WMS) คือ NGIS Portal และ FGDS โดยทั้ง 2 ตัวนี้สามารถเข้าใช้งานได้จากเว็บไซต์ของ คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (กภช.) และเป็น Opensource อีก 1 ตัวคือ QGIS
หัวข้อ
ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geoinfomatic data)
ข้อมูลภูมิสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (Spatial Data) และ ลักษณะเฉพาะ (Attribute Data) ของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก
ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภูมิสารสนเทศ
มาตรฐาน FGDS
คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (กภช.) ซึ่งเป็นองค์กรในระดับนโยบายของประเทศมีมติเห็นชอบให้มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาภูมิสารสนเทศของชาติ โดยส่งเสริมให้เกิดการใช้งานข้อมูลร่วมกัน มีการพัฒนามาตรฐานทางด้านโครงสร้าง เนื้อหา คุณลักษณะ คุณภาพของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการจัดทำชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Geographic Data Set, FGDS) เพื่อให้บริการผ่านระบบสืบค้นและบริการภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal)
ข้อกำหนดมาตรฐาน FGDS
FGDS ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 13 ชั้นข้อมูลที่มีหน่วยงานรับผิดชอบแตกต่างกันไป
NGIS Portal
ระบบ NGIS Portal หรือ National Geo-Informatics Infrastructure System เป็นระบบสืบค้นภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ ที่ให้บริการในรูปแบบ Web Map Service (WMP) ทำให้หน่วยงานต่างๆ สามารถจัดทำและแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ปัจจุบันมีชั้นข้อมูลที่สามารถเลือกใช้ได้กว่า 2000 รายการ
NGIS Portal อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถนำแผนที่ฐานและชั้นข้อมูลที่สนใจมาประกอบ ปรับแต่งรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เป็นเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอในรูปแบบ Web Map และแบ่งปันออกเป็น Web Mapping Application
งานในส่วนของการ Workshop
QGIS
Quantum GIS หรือ QGIS เป็นโปรแกรมแบบ Free and Open Source Software ติดตั้งใช้งานบน Desktop รองรับรูปแบบข้อมูลทาง GIS หลากหลาย ในการอบรมจะใช้โปรแกรมรุ่น 3.6 และ ตัวอย่างข้อมูลของจังหวัดภูเก็ต
เริ่มจากการใช้โปรแกรม QGIS ในการนำข้อมูล GIS ชั้นต่างๆ มาประกอบเป็นเนื้อหาที่สนใจ และส่งเนื้อหาออกไปด้วยการ Print Layout เพื่อการนำเสนอข้อมูลต่อไป
ในช่วงปฎิบัติให้นำข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เป็นภาพถ่ายดาวเทียม จังหวัดภูเก็ต ข้อมูลขอบเขตอำเภอ ข้อมูลถนน และ จุดกลับรถ มาสร้างเป็นแผนที่แสดงจุดกลับรถ อ.เมืองภูเก็ต ตามภาพ
FGDS-FrontEnd/BackEnd
ในส่วนของระบบ FGDS จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับ NGIS Portal แต่เน้นไปที่ข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ผ่านมาตรฐาน FGDS แล้วเท่านั้น ทั้งนี้มีแผนจะปรับข้อมูลภูมิสารสนเทสบน NGIS Portal ทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตรฐาน FGDS แล้วจึงรวบ 2 ระบบนี้เข้าด้วยกันที่ NGIS Portal
ทั้งนี้ในวันอบรมระบบอยู่ระหว่างการปรับปรุงทั้งส่วนของ FrontEnd และ BackEnd จึงเป็นการเล่าด้วยภาพไม่ได้มีการลงมือปฎิบัติ
NONTAPON RATTANAPITTAYAPORN
More Posts
NONTAPON RATTANAPITTAYAPORN