หากผู้อ่านเคยติดตั้ง Ubuntu บน VM instance โดยใช้การตั้งค่า disk แบบ default ตามขั้นตอนการติดตั้ง เมื่อดำเนินการติดตั้งสำเร็จจะพบว่า เนื้อที่ root file system ( / ) จะเหลืออยู่เพียงครึ่งนึงของขนาด physical disk โดยประมาณ

ที่มาของเหตุการณ์ข้างต้นสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะเกี่ยวกับ Logical Volume Manager (LVM)

LVM Diagram
LVM
LVM Layer

คุณสมบัติ

  1. vShere 6.0
  2. Ubuntu 20.04.3

สิ่งที่ต้องดำเนินการก่อน

  1. สำรอง VM instance หรือ clone VM instance แล้วดำเนินการต่อกับ instance ที่ clone มา

คำสั่งที่ใช้

  • df -h
    • สำหรับตรวจสอบเนื้อที่ว่างของ root file system
  • vgdisplay
    • สำหรับแสดงรายละเอียด ใช้ตรวจสอบเนื้อที่ว่างของ Volume Group (VG)
  • lvdisplay
    • สำหรับตรวจสอบเนื้อที่ว่างของ Logical Volume (LV)
  • lvextend
    • สำหรับขยายขนาดของ Logical Volume
  • resize2fs
    • สำหรับเปลี่ยนแปลงขนาดของ file-system
  • cfdisk
    • สำหรับตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงขนาดของ LVM Partition
  • pvresize
    • สำหรับเปลี่ยนแปลงขนาดของ Physical Volume (PV)
  • pvdisplay
    • สำหรับแสดงรายละเอียดของ PV

แนวทางปฏิบัติ

ในบทความนี้ จะกล่าวถึง 2 แนวทางในการเพิ่มเนื้อที่ disk ได้แก่

  1. เพิ่มเนื้อที่โดยใช้พื้นที่ว่างหลังจากการติดตั้งระบบปฏิบัติการ
  2. เพิ่มเนื้อที่หลังจากการเพิ่มเนื้อที่ของ VM Instance Disk

เพิ่มเนื้อที่โดยใช้พื้นที่ว่างที่มีอยู่เดิม

ขั้นตอนแบบตามคำสั่ง (Ubuntu on VM instance)

  1. df -h
    • ตรวจสอบขนาดของ file-system เดิมก่อนเริ่มดำเนินการ
  2. vgdisplay
    • ตรวจสอบรายละเอียดของ VG เพื่อหาพื้นที่ว่าง ในผลลัพธ์จะแสดงอยู่ที่ Free PE / Size
  3. lvdisplay
    • ตรวจสอบขนาดของ LV ก่อนดำเนินการขยาย LV
  4. lvextend -l +100%FREE /dev/ubuntu-vg/ubuntu-lv
    • ขยายขนาดของ LV โดยใช้พื้นที่ว่างทั้งหมด
  5. lvdisplay
    • ตรวจสอบขนาดของ LV หลังดำเนินการขยาย LV
  6. resize2fs /dev/mapper/ubuntu–vg-ubuntu–lv
    • ขยายขนาดของ file-system ให้มีขนาดเกือบเท่ากับ LV ที่ได้ทำการขยายไปก่อนหน้า
  7. df -h
    • ตรวจสอบขนาดของ file-system เดิมก่อนเริ่มดำเนินการ

เพิ่มเนื้อที่โดยการขยายขนาดของ VM Instnace Disk

ในแนวทางนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การเพิ่มขนาด disk ของ VM instance และ การเพิ่มขนาดของ OS file-system โดยในส่วนของการเพิ่มขนาดของ file-system จะมีขั้นตอนคล้ายกับแนวทางก่อนหน้า แต่จะแตกต่างกันตรงที่ จะต้องขยายขนาดของ PV ก่อน แล้วตามด้วยขั้นตอนในแนวทางก่อนหน้า

 

การเพิ่มขนาด disk ของ VM instance

  1. เข้าใช้งาน vSphere Client
  2. แถบทางซ้ายมือ คลิกแท็บ “VMs and Templates” เลือก VM instance ที่ต้องการปรับ
  3. คลิกขวา > Power > Shut Down Guest OS หรือ Power Off เพิ่มปิดใช้งาน VM instance ก่อน
  4. ส่วนหลักของหน้าจอ เลือกแท็บ “Summary” และคลิก “Edit Settings” ในส่วน “VM Hardware”
  5. จะปรากฏหน้าต่าง “Edit Settings” เลือกแท็บ “Virtual Hardware”
  6. ในส่วน “Hard disk …” กรอกขนาดของ disk ที่ต้องการปรับเพิ่มขึ้น **ขนาดของ disk ต้องเพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
  7. คลิก “OK” เป็นการยืนยัน แล้วเปิดใช้งาน VM instance

 

ขั้นตอนตามคำสั่ง (Ubuntu on VM instance)

  1. cfdisk
    • ตรวจสอบเนื้อที่ว่างบน disk (รายการ Free Space) และขยายขนาดของ partition ( partition เป้าหมายที่ต้องการขยายคือ /dev/sda3 )
    •  
    • กดลูกศรลงล่าง เลื่อนไปยังรายการ /dev/sda3 ตามด้วยลูกศรซ้ายขวาเลื่อนเมนูไปยัง “Resize” และกดปุ่ม “Enter” บนคีย์บอร์ด
    • จะปรากฏข้อความให้ยืนยันขนาดใหม่ของ /dev/sda3 กดปุ่ม “Enter” บนคีย์อีกครั้ง สังเกตที่ /dev/sda3 ตรงเมตริกซ์ size จะมีขนาดใหญ่ขึ้น
    • กดลูกศรซ้ายขวา เลื่อนไปยังเมนู “Write” กดปุ่ม “Enter” บนคีย์ จะปรากฏข้อความให้ยืนยันการเปลี่ยนแปลง พิมพ์ “yes” และ กดปุ่ม “Enter” บนคีย์อีกครั้ง
    • กดปุ่ม “q” บนคีย์บอร์ด เพื่อออกจากโปรแกรม
    •  
    • **ถ้าไม่ปรากฏรายการ “Free Space” เลือก “Quit” เพิ่มออกจากโปรแกรม ตามด้วยคำสั่ง echo 1>/sys/class/block/sda/device/rescan และใช้คำสั่งข้อนี้อีกครั้ง
  2. pvresize /dev/sda3
    • ขยายขนาดของ PV
  3. pvdisplay
    • แสดงรายละเอียดของ PV
  4. vgdisplay
    • ตรวจสอบรายละเอียดของ VG เพื่อหาพื้นที่ว่าง ในผลลัพธ์จะแสดงอยู่ที่ Free PE / Size
  5. lvdisplay
    • ตรวจสอบขนาดของ LV ก่อนดำเนินการขยาย LV
  6. lvextend -l +100%FREE /dev/ubuntu-vg/ubuntu-lv
    • ขยายขนาดของ LV โดยใช้พื้นที่ว่างทั้งหมด
  7. lvdisplay
    • ตรวจสอบขนาดของ LV หลังดำเนินการขยาย LV
  8. resize2fs /dev/mapper/ubuntu–vg-ubuntu–lv
    • ขยายขนาดของ file-system ให้มีขนาดเกือบเท่ากับ LV ที่ได้ทำการขยายไปก่อนหน้า
  9. df -h
    • ตรวจสอบขนาดของ file-system เดิมก่อนเริ่มดำเนินการ

 

cfdisk
cfdisk

อ้างอิง

https://packetpushers.net/ubuntu-extend-your-default-lvm-space/


หากมีเนื้อหาผิดพลาดประการใด หรือ ทำตามขั้นตอนที่แนะนำแล้วติดปัญหา สามารถคอมเมนท์มาพูดคุยกันได้ครับ

รวมบัญชีหลักที่ นักศึกษา และ บุคลากร วข.ภูเก็ต ใช้งานได้ (ปี 2022)
การตั้งค่าเตือนกำหนดคืนหนังสือด้วย Line Notify

Discussion

Leave a Comment