Post Views:
191
เป็นความคิดของตัวเองตั้งนานแล้วว่าจะหาโปรแกรมอะไรก็ได้มาจัดการหนังสือที่บ้าน
เคยลองหามาใช้อยู่ 2-3 ตัว บางโปรแกรมก็แค่ทดลองใช้ 30 วันบ้าง บางโปรแกรมก็ป้อนได้ไม่เกิน 100 เล่ม (น้อยไป)
จนกระทั่งได้ลองมาใช้โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมที่ชื่อว่า “Zotero”
จริง ๆ แล้วตัวโปรแกรมนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเก็บฐานข้อมูลของหนังสือ แต่ที่เลือกเอา Zotero มาใช้เพราะ
ฟรี ซึ่งข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่เลือกเอาโปรแกรมนี้มาใช้
ไม่ต้องป้อนข้อมูลเอง ตัวโปรแกรมจะดึงข้อมูลของหนังสือจาก WorldCat รวมถึงหนังสือภาษาไทย แต่หนังสือภาษาไทยบางชื่อเรื่องจะเป็นภาษาอังกฤษในคราบของภาษาคาราโอเกะ เช่น หนังสือที่ชื่อว่า”ความสุขของกะทิ” จากข้อมูลที่ดึงมาจะเป็น “Khwāmsuk khō̜ng Kathi” เป็นต้น แต่เราสามารถแก้ไขเอาเองได้
มีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลใน server ของ zotero ฟรี 500 MB และสามารถ syn กับเครื่องที่ใช้ตลอดเวลา หมดกังวลเรื่องข้อมูลหายจาก Hard Disk พังได้ระดับหนึ่ง
จัดการประเภทของหนังสือที่มีได้ดี
ใช้งานง่าย
มีระบบการค้นหาได้ในระดับที่รับได้
สำหรับ Zotero จะทำงานร่วมกับ Firefox และ Chrome สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.zotero.org/
มาดูวิธีการใช้เบื้องต้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับความต้องการของตัวเองดู
จากรูปข้างบน หน้าต่างของ Zotero จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
หน้าต่างโฟลเดอร์ (ซ้ายมือ) โดย Folder My Library จะเก็บข้อมูลหนังสือจาก sub folder ไว้ทัั้งหมด โดยผมได้สร้าง folder มาเพื่อจัดการหนังสือที่บ้านอีก 2 folder คือ My home book ซึ่ง folder นี้จะเป็นหนังสือที่มีอยู่ในบ้านทั้งหมด ส่วนอีก folder หนึ่งคือ Read เป็น folder ที่เก็บหนังสือที่อ่านแล้ว (ในอนาคตอาจจะมีโฟลเดอร์ Loan อีกอันหนึ่ง ไว้เก็บรายชื่อหนังสือที่มีคนยืมไป 🙂 )
หน้าต่างรายการหนังสือ (กลาง) แสดงรายการหนังสือที่เราเลือก folder ในด้านซ้าย
หน้าต่างรายละเอียดของหนังสือ (ขวามือ) แสดงรายละเอียดของหนังสือที่เราเลือกจากหน้าต่างกลาง
อย่างแรกเลยให้เราอยู่ที่ Folder my library (สังเกตหน้าต่างช่องซ้ายสุด) และให้ป้อน isbn ของหนังสือที่เราต้องการจะเพิ่มไป โดยการคลิกที่ไอคอน “Add item (s) by identifie” แล้ว กด Enter
ถ้ารายการที่เราค้นหามีข้อมูลอยู่ใน WorldCat ตัว Zotero จะแสดงข้อมูลหนังสือในหน้าต่างกลาง หลังจากนั้นเราก็แค่ลากรายการหนังสือที่เราต้องการไปยัง folder ที่เราต้องการ ในกรณีของผม ผมลากไปไว้ที่โฟลเดอร์ Read และ โฟลเดอร์ My home book (2 โฟลเดอร์) เพื่อต้องการบอกว่าหนังสือชื่อเรื่องนี้ผมอ่านแล้วและมีที่บ้านด้วย
แล้วถ้าหนังสือรายการใดไม่มีใน WorldCat เราก็แค่คลิกที่ไอคอน Add item (เครื่องหมายบวกสีเขียว) เพื่อป้อนข้อมูลเอง
สำหรับโปรเจ็คต่อไปหลังจากทำหนังสือในบ้านเสร็จแล้วคือการเอาข้อมูลหนังกับเพลงที่ต้วเองมีและเคยดูมาใส่ใน Zotero เพราะ Zotero มันคือโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม และหนังและเพลงก็สามารถเขียนบรรณานุกรมได้
แต่ต้องขอหาวิธีการก่อนนะว่าเราจะหาข้อมูลพวกนี้ได้อย่างไง เพราะผมขี้เกียจพิมพ์เอง แหะ แหะ 🙂
ปล. คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่ขึ้นได้นะครับ
เป็นความคิดของตัวเองตั้งนานแล้วว่าจะหาโปรแกรมอะไรก็ได้มาจัดการหนังสือที่บ้าน
เคยลองหามาใช้อยู่ 2-3 ตัว บางโปรแกรมก็แค่ทดลองใช้ 30 วันบ้าง บางโปรแกรมก็ป้อนได้ไม่เกิน 100 เล่ม (น้อยไป)
จนกระทั่งได้ลองมาใช้โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมที่ชื่อว่า “Zotero”
จริง ๆ แล้วตัวโปรแกรมนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเก็บฐานข้อมูลของหนังสือ แต่ที่เลือกเอา Zotero มาใช้เพราะ
สำหรับ Zotero จะทำงานร่วมกับ Firefox และ Chrome สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.zotero.org/
มาดูวิธีการใช้เบื้องต้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับความต้องการของตัวเองดู
จากรูปข้างบน หน้าต่างของ Zotero จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
อย่างแรกเลยให้เราอยู่ที่ Folder my library (สังเกตหน้าต่างช่องซ้ายสุด) และให้ป้อน isbn ของหนังสือที่เราต้องการจะเพิ่มไป โดยการคลิกที่ไอคอน “Add item (s) by identifie” แล้ว กด Enter
ถ้ารายการที่เราค้นหามีข้อมูลอยู่ใน WorldCat ตัว Zotero จะแสดงข้อมูลหนังสือในหน้าต่างกลาง หลังจากนั้นเราก็แค่ลากรายการหนังสือที่เราต้องการไปยัง folder ที่เราต้องการ ในกรณีของผม ผมลากไปไว้ที่โฟลเดอร์ Read และ โฟลเดอร์ My home book (2 โฟลเดอร์) เพื่อต้องการบอกว่าหนังสือชื่อเรื่องนี้ผมอ่านแล้วและมีที่บ้านด้วย
แล้วถ้าหนังสือรายการใดไม่มีใน WorldCat เราก็แค่คลิกที่ไอคอน Add item (เครื่องหมายบวกสีเขียว) เพื่อป้อนข้อมูลเอง
สำหรับโปรเจ็คต่อไปหลังจากทำหนังสือในบ้านเสร็จแล้วคือการเอาข้อมูลหนังกับเพลงที่ต้วเองมีและเคยดูมาใส่ใน Zotero เพราะ Zotero มันคือโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม และหนังและเพลงก็สามารถเขียนบรรณานุกรมได้
แต่ต้องขอหาวิธีการก่อนนะว่าเราจะหาข้อมูลพวกนี้ได้อย่างไง เพราะผมขี้เกียจพิมพ์เอง แหะ แหะ 🙂
ปล. คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่ขึ้นได้นะครับ
บรรน่ารัก
More Posts
บรรน่ารัก