Post Views:
355
ใครจะไปคิดว่าการจัดดอกไม้ เดี๋ยวนี้มันไม่ได้เป็นแค่การเอาดอกไม้ มาวางๆ ทิ่มๆ ลงในแจกัน แล้วก็ดูแค่ความสวยงามเท่านั้น …. ปัจจุบันมีหลักสูตรการจัดดอกไม้มากมายหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นแนวไทยๆ แนวญี่ปุ่น แนวฝรั่งเศษ ก็แล้วแต่ศาสตร์ของแต่ละชาติประเทศ เมื่อทีมผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมศาสตร์การจัดดอกไม้จัดใจ จึงขอนำมาเสนอให้หลายๆ ท่านได้ทราบ ได้อ่าน แบ่งปันความรู้ ที่จะเล่าต่อไปนี้ จะเป็นศาสตร์การจัดดอกไม้แบบโคริงกะของโมกิจิ โอกาดะ (ฟังชื่อก็รู้แล้วว่าแนวเจแปนๆ ละกันนะคะ) ซึ่งทีมผู้เขียนเข้าร่วมอบรมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 และวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าๆๆๆ
*************************************************************
วันแรก
ช่วงเช้าของวันแรก ส่วนใหญ่วิทยากรจะเน้นเนื้อหา เริ่มต้นจากการแนะนำกิจกรรมของมูลนิธิเอ็มโอเอไทย อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้การจัดดอกไม้อิเคบานาของโมกิจิ โอกาดะ เพื่อให้ผู้จัดดอกไม้ได้สัมผัสกับความงามของดอกไม้ ทำให้ได้รับความเพลิดเพลินจนนำไปสู่ความสุข ส่งผลให้มีสุขภาพกายและจิตที่ดี จากนั้นวิทยากรให้ผู้เข้าอบรมอ่านบทความเสริม เรื่อง“การรณรงค์สร้างสวรรค์ด้วยดอกไม้” และ “พืชมีชีวิต” โดยอ่านออกเสียงพร้อมกัน
หลังจากนั้นก็เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการจัดดอกไม้กันต่อ เพื่อสร้างนิสัยให้ทุกคนรู้จักรักและให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และการดูแลอุปกรณ์ วิธีการดูแลรักษากรรไกรตัดดอกไม้ ให้ใช้กรรไกรด้วยความรักและให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น หลังจากใช้งานเสร็จให้เช็ดคราบสกปรกและน้ำออก กางกรรไกรออก ตากให้แห้งแล้วจึงเก็บ ส่วนวิธีใช้ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือจับด้ามหนึ่งของกรรไกร และใช้นิ้วที่เหลืออีก 4 นิ้วจับด้ามกรรไกรที่เหลืออีกด้ามหนึ่งไว้หลวมๆ เมื่อตัดกิ่งที่ใหญ่ให้ใช้ด้านในสุดของกรรไกร แต่ถ้าตัดดอกไม้หรือหญ้าที่เป็นกิ่งเล็กๆ ให้ตัดด้วยปลายกรรไกร หากต้องการนำดอกไม้ไปปักที่แท่นปักดอกไม้ ถ้าตัดเฉียงจะทำให้ตัดยากจึงต้องตัดเป็นแนวระนาบ แต่ถ้าเป็นดอกไม้ที่มีกิ่งให้ตัดเฉียง แรงต้านทานของดอกไม้จะน้อยทำให้ตัดง่าย เมื่อนำไปปักที่แท่นปักดอกไม้ทำให้ปักได้ง่าย หลังจากนั้นวิทยากรให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติจริงโดยการตัดกิ่ง 1 กิ่งแล้วปักในแท่นปักดอกไม้
ช่วงบ่ายเริ่มต้นเรียนรู้การฝึกพื้นฐานของการจัดดอกไม้ และให้ผู้เข้าอบรมแต่ละคนฝึกปฏิบัติการจัดดอกไม้ดอกแรก สิ่งที่วิทยากรเตรียมไว้ให้ ได้แก่ แจกัน ดอกไม้ ถังน้ำ น้ำ ผ้าขนหนู และกรรไกรตัดกิ่ง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
- การเอาใจใส่ขณะจัดดอกไม้ โดยการปรับสภาพจิตใจ โดยให้ยืนสงบนิ่งตรงสถานที่ที่เราจะจัด เพื่อให้ใจมีสมาธิกับสิ่งที่เราจะทำ
- หยิบผ้าขนหนูที่วางไว้ แล้วเดินไปหยิบดอกไม้มา 1 ดอก ด้วยความสงบนิ่ง โดยเลือกดอกที่เขาสามารถสื่อสารกับเราได้ (เขาในที่นี้หมายถึง ดอกไม้)
- วางผ้าขนหนูลง และทำความรู้จักกับดอกไม้ดอกนั้นให้มากที่สุด และวางดอกไม้ลง
- เดินไปหยิบแจกัน 1 ใบ ทำความรู้จักและเรียนรู้ธรรมชาติของแจกันอีกเช่นกัน วางแจกันตรงตำแหน่งที่เราคิดว่าดีที่สุด จากนั้นใส่น้ำลงแจกันประมาณ 80% ของแจกัน
- หยิบดอกไม้ แล้วค่อยๆ เอามือทั้งสองประครองดอกไม้ลงแจกัน หลังจากนั้นให้ก้าวเท้าถอยห่างออกมาดูว่าดอกไม้สวยเป็นธรรมชาติแล้วหรือไม่ ถ้ายังก็ให้หาจุดหมายใหม่อีกครั้ง และก้าวเท้าถอยออกมาเพื่อดูความงามอีกครั้งหนึ่ง หากเขาสวยงามแล้วให้เก็บกวาดเศษขยะ ทำความสะอาดและจัดเก็บสถานที่ให้เรียบร้อย เช็ดกรรไกรให้แห้ง วางกรรไกรบนผ้าขนหนู
- ให้ชื่นชมความงามของดอกไม้ที่ตนเองจัด และเดินรอบๆ ห้อง เพื่อชื่นชมความงามของดอกไม้ที่เพื่อนจัดด้วย
หลังจากจัดดอกไม้ดอกแรกเสร็จ ก็เก็บผลงานที่ตนเองจัด โดยใช้ผ้าขนหนูหยิบดอกไม้ไปเก็บ เทน้ำลงถัง และนำแจกันไปเก็บ หลังจากนั้นจัดดอกไม้ต่อ แต่ยังคงจัดแบบดอกเดียว โดยแต่ละครั้งผู้เข้าอบรมจะเลือกดอกไม้และแจกันแตกต่างกันออกไป จากการที่ทีมผู้เขียนได้จัดดอกไม้ดอกแรก จัดตามความรู้สึกตนเองโดยการเน้นดอกสวยๆ แต่เมื่อได้จัดแจกันที่ 2, 3, 4 ไปเรื่อยๆ ก็เริ่มรู้สึกว่า การจัดดอกไม้ไม่ว่าจะเป็นดอก กิ่ง ก้าน ใบ แต่ละอย่างจะมีความสวยงามเป็นธรรมชาติของตัวมันเอง
ช่วงสุดท้ายของวันแรก วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้แบบบันทึกการอบรมไปทำเป็นการบ้าน พร้อมทั้งให้ดอกไม้กลับบ้านคนละ 2 ดอก
วันที่สอง
วันนี้เป็นวันที่รู้สึกผ่อนคลายกว่าวันแรก เพราะเราเริ่มเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ช่วงเช้ามีการทบทวนฝึกปฏิบัติการจัดดอกไม้ 1 ดอก หลังจากนั้นเรียนรู้การจัดดอกไม้ 1 ช่อต่อ
อ่านบทความเสริม “นำพืชที่เลือกมาดูอย่างละเอียด” เลือกพืชขึ้นมาสังเกตมุมต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ของพืชนั้น อาทิ ความยาว น้ำหนัก สี ความสมดุล เป็นต้น การเก็บข้อมูลดังกล่าวทำให้เข้าใจพืชที่เลือกได้ บทความนี้สอนให้รู้ว่าให้เรามองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างมีชีวิต มีวิญญาณ และมีเหตุผลในตัวมันเอง ดังนั้นเราควรรัก ทะนุถนอม และเคารพในสิ่งนั้น สิ่งที่เราจะได้กลับมาก็จะเป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน
อ่านบทความเสริม “ดูแจกันทั้งหมดและเลือกแจกันที่รู้สึกว่าดี” และ “พิจารณาดูแจกันและกำหนดตำแหน่งที่จะให้อยู่ด้านหน้า” สอนให้รู้ว่า กายและใจของมนุษย์เป็นสิ่งที่คู่กัน หากเลือกสิ่งที่ดีเข้ามาในชีวิต ชีวิตก็จะดีและมีความสุขไปด้วย
ช่วงบ่ายเริ่มจัดดอกไม้ 1 ช่อ มีวิธีการดังนี้
- พิจารณาความยาว (ขนาด) ของดอกไม้ และให้ความสำคัญกับส่วนที่รู้สึกว่าสวย รู้สึกว่าดี
- เลือกแจกันที่ถูกใจ และรู้สึกว่าเหมาะสมกับดอกไม้ที่เลือก
- จัดดอกไม้ ตัดก้านและปลิดใบ (กิ่ง) ตามความยาวที่ตนเองกำหนด เนื่องจากดอกไม้เป็นสิ่งมีชีวิต จึงควรทำให้เร็วที่สุด ตั้งแต่นำดอกไม้ขึ้นจากน้ำ ตัดก้าน และจัดลงแจกัน หากดอกไม้ไม่เข้ากับแจกัน ทำให้ไม่เป็นไปตามจินตนาการหรือจัดไม่ได้อย่างที่คิดไว้ ก็ให้เปลี่ยนแจกันใหม่
บทความเสริมเรื่อง “กำหนดจุดหมายไว้” “รีบตัด” “รีบปัก” สอนให้รู้ว่าเวลามองสิ่งต่างๆ ให้มองตามสภาพจริง เปิดใจดูสิ่งต่างๆ เหมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ ไม่อคติกับสิ่งใดๆ ไม่ฝืนธรรมชาติ จะทำให้เราเกิดความประทับใจต่อสิ่งที่เราพบเจอได้
การจัดดอกไม้แบบมากกว่า 1 ดอก หรือแบบช่อ มีความยากกว่าการจัดดอกไม้แบบดอกเดียว เพราะโดยธรรมชาติของดอกไม้แล้ว แต่ละดอกจะมีความสวยงาม แตกต่าง และมีความหลากหลายกันไป แต่เมื่อได้จัดหลายๆ แจกัน ก็เริ่มรู้สึกดีขึ้น ช่วงสุดท้ายของวันที่สองวิทยากรให้ดอกไม้กลับบ้านคนละ 1 ดอก กับ 1 กิ่ง
วันที่สาม
ช่วงเช้ามีการพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้จัดดอกไม้มา 2 วัน จากนั้นได้เรียนรู้การจัดดอกไม้ให้เข้ากับแจกัน ซึ่งมีหลักการปฏิบัติดังนี้
- เลือกด้านหน้าของแจกัน เพื่อกำหนดด้านหน้าของแจกันให้เข้ากับดอกไม้ โดยพิจารณาลักษณะเด่นของดอกไม้ที่เลือกมาให้เข้ากับรูปทรงและจุดเด่นของแจกัน
- ปรับดอกไม้กับแจกันให้สมดุลกัน ในกรณีนี้ให้มองจากด้านหน้าของแจกัน แล้วยืนยันตำแหน่งของดอกไม้ที่รู้สึกว่าสวยที่สุด
- ปรับความหนักเบา โดยให้ตัดกิ่งหรือปลิดใบตามความเหมาะสม เพื่อปรับความหนักเบาให้เข้ากันระหว่างดอกไม้กับแจกัน
- จัดดอกไม้ ตัดดอกไม้อย่างรวดเร็วตรงตำแหน่งที่เหมาะสม แล้วปักดอกไม้จากด้านหน้าของแจกัน และปรับมุมหรือทิศทาง กรณีที่ปรับดอกไม้ ให้ยืนยันโดยการถอยหลังมาอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นดอกไม้กับแจกันได้
จากนั้นวิทยากรสาธิตการจัดดอกไม้โดยเน้นความสวยของเส้นเป็นหลัก และให้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยความเคยชินจาก 2 วันที่ผ่านมาที่จะจัดดอกไม้โดยเน้นที่ความสวยของดอก ทำให้การจัดโดยเน้นเส้นทำได้ยาก แต่วิทยากรทุกท่านก็คอยแนะนำ ช่วยเหลือ และให้กำลังใจ จนชิ้นงานสำเร็จไปได้ด้วยดี หลังจากนั้นมีการเรียนรู้ในหัวข้อรู้จักความสวยงามในธรรมชาติ และฝึกปฏิบัติจัดดอกไม้กันต่อ ประมาณ 4-5 แจกัน ส่วนแจกันสุดท้ายในช่วงบ่ายวิทยากรให้จัดดอกไม้ตามอิสระคนละ 1 แจกัน ผู้เข้าร่วมอบรมต่างก็มีความสุขกับการจัดดอกไม้ ต่างก็จัดด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ และใส่ความรักความเอาใจใส่ลงไปด้วย
จากนั้นทำแบบบันทึกวันที่ 2, 3 ผู้เข้าร่วมอบรมพูดคุยแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้สึกหลังจากจบการอบรม สรุปปิดการอบรม มอบใบประกาศนียบัตร และถ่ายภาพหมู่
สิ่งที่ได้จากการฝึกอบรม
จากการอบรมในหลักสูตรศิลปวัฒนธรรมการจัดดอกไม้โคริงกะ MOA เป็นเวลา 3 วัน (24 ชั่วโมง) สิ่งที่ผู้เข้าอบรมทุกคนได้รับ คือ ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดดอกไม้แบบโคริงกะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกเหนือจากการจัดดอกไม้แล้ว ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะได้รับความรู้ที่แฝงมากับการจัดดอกไม้ด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
- ด้านการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดดอกไม้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้สองประเด็นเด่น ๆ คือการอย่าฝืนความสวยงามของธรรมชาติ ในสิ่งที่ธรรมชาติให้มา และการอย่าคาดหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามที่เราหวังเราเราต้องการไปเสียทุกอย่าง โดยตัวอย่างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน เราต้องอย่าคาดหวังว่าลูกของเราควรเป็นแบบนั้น หรือควรเป็นแบบนี้ ควรปล่อยให้เด็ก ๆ เรียนรู้และเข้าใจชีวิตของตัวเองไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นเอง
ปรับใช้ในการเลี้ยงลูกและการใช้ชีวิตประจำวัน
- ด้านการประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงาน
อย่างที่ทราบว่าการจัดดอกไม้โคริงกะ เป็นศาสตร์ความรู้ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความมีระเบียบวินัย ฉะนั้นในทุกขั้นตอนของการจัดดอกไม้จึงแฝงไปด้วยการฝึกให้ผู้เข้ารับการอบรมมีระเบียบวินัยในทุกขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการจัดดอกไม้นั้น ต้องมีการเตรียมผ้าไว้ 2 ผืน ผืนแรกสำหรับการเช็ดทำความสะอาดและใช้ในการหยิบจับดอกไม้ ส่วนผืนที่สอง ใช้สำหรับรองกรรไกรตัดกิ่งดอกไม้ เหตุที่ต้องมีผ้ารองก็เพื่อป้องกันไม่ให้โต๊ะเป็นรอยและป้องกันการเกิดเสียงรบกวนผู้อื่นขณะจัดดอกไม้ เป็นต้น นอกจากความมีระเบียบวินัยแล้ว การจัดดดอกไม้โคริงกะได้ฝึกเรื่องการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (ใจเขาใจเรา) ด้วย โดยตัวอย่างที่ประทับใจ คือ การให้ใช้ผ้ารองกิ่งดอกไม้ที่หยิบออกมาจากถังน้ำ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ ก็เพื่อไม่ให้น้ำหยดไปตามทางเดิน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการลื่นล้มจากการเหยียบน้ำ แ ละไม่ให้เกิดความสกปรกจนเป็นภาระให้กับแม่บ้าน จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น คงจะไม่เป็นเรื่องยากที่เราจะฝึกความมีระเบียบวินัยและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในการทำงานของเรา
- ด้านการพัฒนาจิตใจ
จากการอบรมทำให้ได้เรียนรู้ถึงการอยู่กับปัจจุบัน กล่าวคือ ณ ขณะการอบรมทางผู้จัดอบรมมีการจัดเตรียมดอกไม้นานาชนิด และแจกันรูปทรงต่าง ๆ ไว้ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำไปใช้สำหรับการจัดดอกไม้ ซึ่งจำนวนของดอกไม้และแจกันก็มีปริมาณเกินกว่าจำนวนของผู้เข้ารับการอบรม เป็นธรรมดาที่ผู้เข้ารับการอบรมจะเลือกดอกไม้และแจกันที่ชอบไว้ในใจก่อนได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติ เ มื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง ทั้งดอกไม้และแจกันที่เราต้องการต่างถูกผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่นหยิบไป ทำให้ใจเราเกิดความหงุดหงิดที่ไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ดังนั้น เมื่อมีการจัดดอกไม้ในครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องการอยู่กับปัจจุบัน เดินไปเจอดอกไม้ดอกไหนที่เราคิดว่าสวย ณ ขณะนั้นก็หยิบมาจัดใส่แจกันที่เราก็รู้สึกถูกใจในช่วงเวลานั้นเช่นกัน ฉะนั้นเมื่อรู้จักการอยู่กับปัจจุบัน จิตใจเราก็จะสงบและเป็นสุข
- ด้านการฝึกสมาธิ
สิ่งที่ได้รับอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้จากการจัดดอกไม้ คือ การฝึกสมาธิ เนื่องจากขณะที่จัดดอกไม้ ใจเราจะมุ่งไปเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดดดอกไม้ จัดยังไงให้สวย จัดตำแหน่งตรงไหนให้เหมาะสม จึงทำให้ช่วงเวลาที่ใช้ในการจัดดอกไม้เป็นการฝึกสมาธิให้กับผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี
- ด้านการประยุกต์ใช้ในเรื่องวิธีการมองแบบธรรมชาติ
ก่อนได้รับการอบรม เป็นธรรมดาที่เวลาเราเห็นดอกไม้ที่อยู่รวมกันมาก ๆ ทุกดอกต่างมีความสวยในระดับที่แตกต่างกันไป และเราก็มักจะเลือกมองดอกไม้ที่สวยสะดุดตา มีราคาสูง มาจากในแหล่งผลิตที่ไกล ๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราได้ฝั่งการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่ว่ายิ่งแพงยิ่งดี ยิ่งแพงยิ่งสวย ยิ่งมาจากเมืองนอกยิ่งสวยมาก ทำให้เราเกิดการยึดติดในข้อความรู้นั้น และเลือกจะมองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา ถึงแม้จะให้คุณค่าในแบบเดียวกันได้
หลังจากการอบรม เมื่อได้เรียนรู้และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้ความคิดเมื่อแรกก่อนเข้ารับการอบรมเปลี่ยนไป ทำให้เราได้เปลี่ยนมุมมองและความคิดในเรื่องความสวยของดอกไม้ ทำให้รู้ว่าดอกไม้ทุกดอกล้วนมีความสวยงามตามธรรมชาติของดอกไม้แต่ละดอก ซึ่งหากเปรียบการการดำรงชีวิตของเรา สามารถเปรียบได้การรู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น กล่าวคือ ในการรู้จักตนเองทำให้เราได้ปรับแง่คิดในเรื่องการมองสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากขึ้น ให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ตัวเยอะขึ้น ส่วนการรู้จักคนอื่นทำให้เราได้มองในเรื่องความดีงาม มองในการกระทำที่เขาทำ มากกว่าการมองแบบผ่านการรับรู้จากผู้อื่นว่าคน ๆ นี้ดีหรือไม่ดี อย่างไร
************************************
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ ^^
นางจงจิต พุฒขาว
นางภาวินี เสียงบัณฑิตกุล
นางวนิดา สุวรรณ์พรหม
นางสายสุดา คุ้มบ้าน
(ทีมผู้เขียน)
ใครจะไปคิดว่าการจัดดอกไม้ เดี๋ยวนี้มันไม่ได้เป็นแค่การเอาดอกไม้ มาวางๆ ทิ่มๆ ลงในแจกัน แล้วก็ดูแค่ความสวยงามเท่านั้น …. ปัจจุบันมีหลักสูตรการจัดดอกไม้มากมายหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นแนวไทยๆ แนวญี่ปุ่น แนวฝรั่งเศษ ก็แล้วแต่ศาสตร์ของแต่ละชาติประเทศ เมื่อทีมผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมศาสตร์การจัดดอกไม้จัดใจ จึงขอนำมาเสนอให้หลายๆ ท่านได้ทราบ ได้อ่าน แบ่งปันความรู้ ที่จะเล่าต่อไปนี้ จะเป็นศาสตร์การจัดดอกไม้แบบโคริงกะของโมกิจิ โอกาดะ (ฟังชื่อก็รู้แล้วว่าแนวเจแปนๆ ละกันนะคะ) ซึ่งทีมผู้เขียนเข้าร่วมอบรมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 และวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าๆๆๆ
*************************************************************
วันแรก
ช่วงเช้าของวันแรก ส่วนใหญ่วิทยากรจะเน้นเนื้อหา เริ่มต้นจากการแนะนำกิจกรรมของมูลนิธิเอ็มโอเอไทย อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้การจัดดอกไม้อิเคบานาของโมกิจิ โอกาดะ เพื่อให้ผู้จัดดอกไม้ได้สัมผัสกับความงามของดอกไม้ ทำให้ได้รับความเพลิดเพลินจนนำไปสู่ความสุข ส่งผลให้มีสุขภาพกายและจิตที่ดี จากนั้นวิทยากรให้ผู้เข้าอบรมอ่านบทความเสริม เรื่อง“การรณรงค์สร้างสวรรค์ด้วยดอกไม้” และ “พืชมีชีวิต” โดยอ่านออกเสียงพร้อมกัน
หลังจากนั้นก็เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการจัดดอกไม้กันต่อ เพื่อสร้างนิสัยให้ทุกคนรู้จักรักและให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และการดูแลอุปกรณ์ วิธีการดูแลรักษากรรไกรตัดดอกไม้ ให้ใช้กรรไกรด้วยความรักและให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น หลังจากใช้งานเสร็จให้เช็ดคราบสกปรกและน้ำออก กางกรรไกรออก ตากให้แห้งแล้วจึงเก็บ ส่วนวิธีใช้ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือจับด้ามหนึ่งของกรรไกร และใช้นิ้วที่เหลืออีก 4 นิ้วจับด้ามกรรไกรที่เหลืออีกด้ามหนึ่งไว้หลวมๆ เมื่อตัดกิ่งที่ใหญ่ให้ใช้ด้านในสุดของกรรไกร แต่ถ้าตัดดอกไม้หรือหญ้าที่เป็นกิ่งเล็กๆ ให้ตัดด้วยปลายกรรไกร หากต้องการนำดอกไม้ไปปักที่แท่นปักดอกไม้ ถ้าตัดเฉียงจะทำให้ตัดยากจึงต้องตัดเป็นแนวระนาบ แต่ถ้าเป็นดอกไม้ที่มีกิ่งให้ตัดเฉียง แรงต้านทานของดอกไม้จะน้อยทำให้ตัดง่าย เมื่อนำไปปักที่แท่นปักดอกไม้ทำให้ปักได้ง่าย หลังจากนั้นวิทยากรให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติจริงโดยการตัดกิ่ง 1 กิ่งแล้วปักในแท่นปักดอกไม้
ช่วงบ่ายเริ่มต้นเรียนรู้การฝึกพื้นฐานของการจัดดอกไม้ และให้ผู้เข้าอบรมแต่ละคนฝึกปฏิบัติการจัดดอกไม้ดอกแรก สิ่งที่วิทยากรเตรียมไว้ให้ ได้แก่ แจกัน ดอกไม้ ถังน้ำ น้ำ ผ้าขนหนู และกรรไกรตัดกิ่ง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
หลังจากจัดดอกไม้ดอกแรกเสร็จ ก็เก็บผลงานที่ตนเองจัด โดยใช้ผ้าขนหนูหยิบดอกไม้ไปเก็บ เทน้ำลงถัง และนำแจกันไปเก็บ หลังจากนั้นจัดดอกไม้ต่อ แต่ยังคงจัดแบบดอกเดียว โดยแต่ละครั้งผู้เข้าอบรมจะเลือกดอกไม้และแจกันแตกต่างกันออกไป จากการที่ทีมผู้เขียนได้จัดดอกไม้ดอกแรก จัดตามความรู้สึกตนเองโดยการเน้นดอกสวยๆ แต่เมื่อได้จัดแจกันที่ 2, 3, 4 ไปเรื่อยๆ ก็เริ่มรู้สึกว่า การจัดดอกไม้ไม่ว่าจะเป็นดอก กิ่ง ก้าน ใบ แต่ละอย่างจะมีความสวยงามเป็นธรรมชาติของตัวมันเอง
ช่วงสุดท้ายของวันแรก วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้แบบบันทึกการอบรมไปทำเป็นการบ้าน พร้อมทั้งให้ดอกไม้กลับบ้านคนละ 2 ดอก
วันที่สอง
วันนี้เป็นวันที่รู้สึกผ่อนคลายกว่าวันแรก เพราะเราเริ่มเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ช่วงเช้ามีการทบทวนฝึกปฏิบัติการจัดดอกไม้ 1 ดอก หลังจากนั้นเรียนรู้การจัดดอกไม้ 1 ช่อต่อ
อ่านบทความเสริม “นำพืชที่เลือกมาดูอย่างละเอียด” เลือกพืชขึ้นมาสังเกตมุมต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ของพืชนั้น อาทิ ความยาว น้ำหนัก สี ความสมดุล เป็นต้น การเก็บข้อมูลดังกล่าวทำให้เข้าใจพืชที่เลือกได้ บทความนี้สอนให้รู้ว่าให้เรามองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างมีชีวิต มีวิญญาณ และมีเหตุผลในตัวมันเอง ดังนั้นเราควรรัก ทะนุถนอม และเคารพในสิ่งนั้น สิ่งที่เราจะได้กลับมาก็จะเป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน
อ่านบทความเสริม “ดูแจกันทั้งหมดและเลือกแจกันที่รู้สึกว่าดี” และ “พิจารณาดูแจกันและกำหนดตำแหน่งที่จะให้อยู่ด้านหน้า” สอนให้รู้ว่า กายและใจของมนุษย์เป็นสิ่งที่คู่กัน หากเลือกสิ่งที่ดีเข้ามาในชีวิต ชีวิตก็จะดีและมีความสุขไปด้วย
ช่วงบ่ายเริ่มจัดดอกไม้ 1 ช่อ มีวิธีการดังนี้
บทความเสริมเรื่อง “กำหนดจุดหมายไว้” “รีบตัด” “รีบปัก” สอนให้รู้ว่าเวลามองสิ่งต่างๆ ให้มองตามสภาพจริง เปิดใจดูสิ่งต่างๆ เหมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ ไม่อคติกับสิ่งใดๆ ไม่ฝืนธรรมชาติ จะทำให้เราเกิดความประทับใจต่อสิ่งที่เราพบเจอได้
การจัดดอกไม้แบบมากกว่า 1 ดอก หรือแบบช่อ มีความยากกว่าการจัดดอกไม้แบบดอกเดียว เพราะโดยธรรมชาติของดอกไม้แล้ว แต่ละดอกจะมีความสวยงาม แตกต่าง และมีความหลากหลายกันไป แต่เมื่อได้จัดหลายๆ แจกัน ก็เริ่มรู้สึกดีขึ้น ช่วงสุดท้ายของวันที่สองวิทยากรให้ดอกไม้กลับบ้านคนละ 1 ดอก กับ 1 กิ่ง
วันที่สาม
ช่วงเช้ามีการพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้จัดดอกไม้มา 2 วัน จากนั้นได้เรียนรู้การจัดดอกไม้ให้เข้ากับแจกัน ซึ่งมีหลักการปฏิบัติดังนี้
จากนั้นวิทยากรสาธิตการจัดดอกไม้โดยเน้นความสวยของเส้นเป็นหลัก และให้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยความเคยชินจาก 2 วันที่ผ่านมาที่จะจัดดอกไม้โดยเน้นที่ความสวยของดอก ทำให้การจัดโดยเน้นเส้นทำได้ยาก แต่วิทยากรทุกท่านก็คอยแนะนำ ช่วยเหลือ และให้กำลังใจ จนชิ้นงานสำเร็จไปได้ด้วยดี หลังจากนั้นมีการเรียนรู้ในหัวข้อรู้จักความสวยงามในธรรมชาติ และฝึกปฏิบัติจัดดอกไม้กันต่อ ประมาณ 4-5 แจกัน ส่วนแจกันสุดท้ายในช่วงบ่ายวิทยากรให้จัดดอกไม้ตามอิสระคนละ 1 แจกัน ผู้เข้าร่วมอบรมต่างก็มีความสุขกับการจัดดอกไม้ ต่างก็จัดด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ และใส่ความรักความเอาใจใส่ลงไปด้วย
จากนั้นทำแบบบันทึกวันที่ 2, 3 ผู้เข้าร่วมอบรมพูดคุยแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้สึกหลังจากจบการอบรม สรุปปิดการอบรม มอบใบประกาศนียบัตร และถ่ายภาพหมู่
สิ่งที่ได้จากการฝึกอบรม
จากการอบรมในหลักสูตรศิลปวัฒนธรรมการจัดดอกไม้โคริงกะ MOA เป็นเวลา 3 วัน (24 ชั่วโมง) สิ่งที่ผู้เข้าอบรมทุกคนได้รับ คือ ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดดอกไม้แบบโคริงกะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกเหนือจากการจัดดอกไม้แล้ว ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะได้รับความรู้ที่แฝงมากับการจัดดอกไม้ด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดดอกไม้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้สองประเด็นเด่น ๆ คือการอย่าฝืนความสวยงามของธรรมชาติ ในสิ่งที่ธรรมชาติให้มา และการอย่าคาดหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามที่เราหวังเราเราต้องการไปเสียทุกอย่าง โดยตัวอย่างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน เราต้องอย่าคาดหวังว่าลูกของเราควรเป็นแบบนั้น หรือควรเป็นแบบนี้ ควรปล่อยให้เด็ก ๆ เรียนรู้และเข้าใจชีวิตของตัวเองไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นเอง
ปรับใช้ในการเลี้ยงลูกและการใช้ชีวิตประจำวัน
อย่างที่ทราบว่าการจัดดอกไม้โคริงกะ เป็นศาสตร์ความรู้ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความมีระเบียบวินัย ฉะนั้นในทุกขั้นตอนของการจัดดอกไม้จึงแฝงไปด้วยการฝึกให้ผู้เข้ารับการอบรมมีระเบียบวินัยในทุกขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการจัดดอกไม้นั้น ต้องมีการเตรียมผ้าไว้ 2 ผืน ผืนแรกสำหรับการเช็ดทำความสะอาดและใช้ในการหยิบจับดอกไม้ ส่วนผืนที่สอง ใช้สำหรับรองกรรไกรตัดกิ่งดอกไม้ เหตุที่ต้องมีผ้ารองก็เพื่อป้องกันไม่ให้โต๊ะเป็นรอยและป้องกันการเกิดเสียงรบกวนผู้อื่นขณะจัดดอกไม้ เป็นต้น นอกจากความมีระเบียบวินัยแล้ว การจัดดดอกไม้โคริงกะได้ฝึกเรื่องการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (ใจเขาใจเรา) ด้วย โดยตัวอย่างที่ประทับใจ คือ การให้ใช้ผ้ารองกิ่งดอกไม้ที่หยิบออกมาจากถังน้ำ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ ก็เพื่อไม่ให้น้ำหยดไปตามทางเดิน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการลื่นล้มจากการเหยียบน้ำ แ ละไม่ให้เกิดความสกปรกจนเป็นภาระให้กับแม่บ้าน จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น คงจะไม่เป็นเรื่องยากที่เราจะฝึกความมีระเบียบวินัยและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในการทำงานของเรา
จากการอบรมทำให้ได้เรียนรู้ถึงการอยู่กับปัจจุบัน กล่าวคือ ณ ขณะการอบรมทางผู้จัดอบรมมีการจัดเตรียมดอกไม้นานาชนิด และแจกันรูปทรงต่าง ๆ ไว้ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำไปใช้สำหรับการจัดดอกไม้ ซึ่งจำนวนของดอกไม้และแจกันก็มีปริมาณเกินกว่าจำนวนของผู้เข้ารับการอบรม เป็นธรรมดาที่ผู้เข้ารับการอบรมจะเลือกดอกไม้และแจกันที่ชอบไว้ในใจก่อนได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติ เ มื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง ทั้งดอกไม้และแจกันที่เราต้องการต่างถูกผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่นหยิบไป ทำให้ใจเราเกิดความหงุดหงิดที่ไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ดังนั้น เมื่อมีการจัดดอกไม้ในครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องการอยู่กับปัจจุบัน เดินไปเจอดอกไม้ดอกไหนที่เราคิดว่าสวย ณ ขณะนั้นก็หยิบมาจัดใส่แจกันที่เราก็รู้สึกถูกใจในช่วงเวลานั้นเช่นกัน ฉะนั้นเมื่อรู้จักการอยู่กับปัจจุบัน จิตใจเราก็จะสงบและเป็นสุข
สิ่งที่ได้รับอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้จากการจัดดอกไม้ คือ การฝึกสมาธิ เนื่องจากขณะที่จัดดอกไม้ ใจเราจะมุ่งไปเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดดดอกไม้ จัดยังไงให้สวย จัดตำแหน่งตรงไหนให้เหมาะสม จึงทำให้ช่วงเวลาที่ใช้ในการจัดดอกไม้เป็นการฝึกสมาธิให้กับผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี
ก่อนได้รับการอบรม เป็นธรรมดาที่เวลาเราเห็นดอกไม้ที่อยู่รวมกันมาก ๆ ทุกดอกต่างมีความสวยในระดับที่แตกต่างกันไป และเราก็มักจะเลือกมองดอกไม้ที่สวยสะดุดตา มีราคาสูง มาจากในแหล่งผลิตที่ไกล ๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราได้ฝั่งการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่ว่ายิ่งแพงยิ่งดี ยิ่งแพงยิ่งสวย ยิ่งมาจากเมืองนอกยิ่งสวยมาก ทำให้เราเกิดการยึดติดในข้อความรู้นั้น และเลือกจะมองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา ถึงแม้จะให้คุณค่าในแบบเดียวกันได้
หลังจากการอบรม เมื่อได้เรียนรู้และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้ความคิดเมื่อแรกก่อนเข้ารับการอบรมเปลี่ยนไป ทำให้เราได้เปลี่ยนมุมมองและความคิดในเรื่องความสวยของดอกไม้ ทำให้รู้ว่าดอกไม้ทุกดอกล้วนมีความสวยงามตามธรรมชาติของดอกไม้แต่ละดอก ซึ่งหากเปรียบการการดำรงชีวิตของเรา สามารถเปรียบได้การรู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น กล่าวคือ ในการรู้จักตนเองทำให้เราได้ปรับแง่คิดในเรื่องการมองสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากขึ้น ให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ตัวเยอะขึ้น ส่วนการรู้จักคนอื่นทำให้เราได้มองในเรื่องความดีงาม มองในการกระทำที่เขาทำ มากกว่าการมองแบบผ่านการรับรู้จากผู้อื่นว่าคน ๆ นี้ดีหรือไม่ดี อย่างไร
************************************
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ ^^
นางจงจิต พุฒขาว
นางภาวินี เสียงบัณฑิตกุล
นางวนิดา สุวรรณ์พรหม
นางสายสุดา คุ้มบ้าน
(ทีมผู้เขียน)
SAIYSUDA KHUMBAAN
More Posts
Follow Me:
SAIYSUDA KHUMBAAN