Post Views:
139
เมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ PSULINET Showcase ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ ม.อ.ตรัง เลยขอนำเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันค่ะ 😀 😀
PSULINET Showcase ครั้งที่ 3
ก่อนอื่นขอเล่าถึงความเป็นมาเป็นไปของโครงการก่อนนะคะ
โครงการ PSULINET Showcase เป็นหนึ่งในกิจกรรมการจัดการความรู้ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กร โดยได้จัดให้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัย นวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้บุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขตได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิด นวัตกรรมร่วมกัน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กรตนเองได้
สำหรับรายละเอียดของผลงานที่นำเสนอในโครงการ PSULINET Showcase ครั้งที่ 3 มีดังนี้
ผลงานวิชาการในกลุ่มการจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ประกอบด้วย 10 ผลงานดังนี้
ระบบบทเรียนออนไลน์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : JFK Online Course สร้างขึ้นในรูปแบบ MOOC (Massive Open Online Course) ด้วยโปรแกรม Course Builder ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Google Open Online Education เพื่อใช้สำหรับให้นักศึกษาในวิทยาเขตปัตตานีได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(http://www.oas.psu.ac.th/onlinecourse)เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดและการบริการของห้องสมุด และนักศึกษาจะได้รับเกียรติบัตรเมื่อเรียนได้ครบทุกบทเรียน
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้นำเสนอผลงานเพื่อไปพัฒนาระบบบทเรียนออนไลน์ในเรื่องการเก็บสถิติการเข้าใช้ระบบ การยืนยันตัวตนของนักศึกษาเพื่อรับเกียรติบัตร และให้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่าเมื่อเปรียบเทียบตัวระบบบทเรียนออนไลน์กับเว็บไซต์ YouTube แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ระบบชั้นหนังสือสำรองออนไลน์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : ระบบชั้นหนังสือสำรองออนไลน์ เป็นระบบที่เพิ่มช่องทางการเข้าใช้ทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ โดยผู้ใช้บริการสามารถอ่านหนังสือสำรองในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ http://www.oas.psu.ac.th/reservebook ทั้งนี้ในการเข้าใช้งานมีข้อจำกัด คือ ต้องเข้าใช้งานด้วย PSU Passport เท่านั้นและผู้ใช้บริการไม่สามารถพิมพ์เอกสารออกมาได้
สำหรับการจัดทำหนังสือสำรองออนไลน์นั่น ทางผู้นำเสนอได้ใช้โปรแกรมจัดทำ e-book ผ่านเว็บไซต์ www.fliphtml5.com ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ฟรีผ่านบัญชี Gmail โดยมีเงื่อนไขคือไม่สามารถอัพโหลดไฟล์สแกนได้เกิน 500 หน้า เมื่อกระบวนการฝากไฟล์เสร็จสมบูรณ์ก็จะนำ Code ที่ได้ไปแขวนกับหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการหนังสือสำรองออนไลน์
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้มีประเด็นสงสัยในเรื่องข้อจำกัดทางด้านลิขสิทธิ์ของหนังสือที่นำมาทำเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มทั้งเล่ม โดยทางผู้นำเสนอได้อธิบายว่าได้มีการศึกษาเรื่อง Fair Use (ความชอบธรรมทางกฎหมายในการเอาผลงานลิขสิทธิ์มาใช้ในระดับที่จำกัด โดยไม่ไปขัดกับผลประโยชน์ที่เจ้าของผลงานพึงได้รับจากงานของเขา)กับผู้เชื่ยวชาญแล้ว พบว่าหากมีการดำเนินการทำสำเนาข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริการภายใต้ขอบเขตของห้องสมุดสามารถทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเจ้าของผลงานแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิยังได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลให้สามารถดาวน์โหลดตัวเอกสารไปอ่านได้แต่ให้กำหนดระยะเวลาในการใช้เอกสารเป็นจำนวนวัน และเมื่อครบกำหนดเวลาเอกสารก็จะไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ
ระบบตรวจสอบความสอดคล้องทรัพยากรสารสนเทศกับ มคอ.3 ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : ระบบตรวจสอบความสอดคล้องทรัพยากรสารสนเทศกับ มคอ.3 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของบรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ครบถ้วน อีกทั้งสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาที่ต้องการค้นหาหนังสือที่อาจารย์ผู้สอนได้แนะนำในเอกสารแนะนำรายวิชา (Course Syllabus)
โดยขั้นตอนการพัฒนาระบบตรวจสอบความสอดคล้องฯ ได้แก่
1) ดูรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา
2) ทำการดาวน์โหลดเอกสารมคอ.3 ของรายวิชาที่เปิดสอนจากเว็บไซต์ http://tqf.oas.psu.ac.th
3) คัดลอกรายการบรรณานุกรมในเอกสารมคอ.3 แล้วนำมาตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบรายการบรรณานุกรมของหนังสือ จากนั้นจึงใช้เครื่องหมาย . / , ในการแบ่งเขตข้อมูลบรรณานุกรมเพื่อให้สอดคล้องกับฐานข้อมูล อาทิ ใช้เครื่องหมาย , แทนคำว่า และ ในเขตข้อมูลผู้แต่งที่มีมากกว่า 1 คน
4) นำรายการบรรณานุกรมที่ผ่านการตรวจสอบและให้สัญลักษณ์ใส่ลงในฐานข้อมูล
5) ฐานข้อมูลจะดำเนินการตรวจสอบความสอดคล้องของรายการบรรณานุกรมที่ใส่เข้าไปกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) โดยจะได้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าใน 1 รายวิชาห้องสมุดมีรายการหนังสือครบตามที่อาจารย์ได้ระบุไว้ใน มคอ.3 หรือไม่
และในการจัดหมวดหมู่ในระบบฐานข้อมูลนั้นได้กำหนดให้มีการแสดงผลข้อมูลโดยแบ่งเป็น คณะ ภาควิชา รายวิชา ปีการศึกษา รหัสวิชา และบรรณานุกรมของหนังสือ
สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูล ได้แก่ โปรแกรม PHP และใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูล
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิรวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนต่างมีความสนใจในระบบตรวจสอบความสอดคล้องทรัพยากรสารสนเทศกับ มคอ.3 มากเนื่องจากทุกคนเห็นว่าเป็นระบบที่สามารถช่วยการดำเนินงานในการจัดหาทรัพยากรสารสนและสร้างความพึงพอใจให้ทั้งอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
การใช้ Open Source ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เรื่องจำนวนผู้เข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : ผู้นำเสนอได้แสดงผลข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการพิจารณาในเรื่องการเลือกช่วงเวลาเพื่อบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และประกอบการพิจารณาวิธีการจัดหาพัสดุรวมถึงปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าเดือนมิถุนายน – สิงหาคม เป็นช่วงปิดภาคการศึกษา ทำให้มีการใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ในปริมาณที่น้อยจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการบำรุงรักษา ส่วนวิธีการที่เหมาะต่อการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่วิธีการจัดซื้อ เนื่องจากเมื่อคำนวณแล้วพบว่าการจัดซื้อจะมีราคาที่ถูกกว่าการเช่าประมาณ 6,000 บาท
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการซ่อมและความถี่ในการซ่อมว่าเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลส่วนนี้จะสามารถนำมาใช้สนับสนุนในการพิจารณาวิธีการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากข้อดีของการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์คือไม่ต้องเพิ่มกำลังคนในการทำหน้าที่ซ่อมบำรุง และไม่มีความกังวลในปัญหาปลีกย่อยที่จะตามมา ส่วนการจัดซื้อหากทราบข้อมูลว่ามีประวัติการซ่อมไม่บ่อยนักก็จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะช่วยมหาวิทยาลัยประหยัดงบประมาณ
การใช้งานบัตรสมาชิกห้องสมุดชนิด RFID กับสมาชิกประเภทบุคคลภายนอก ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : ปัจจุบันสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรได้จัดทำบัตรสมาชิกห้องสมุดประเภทบุคคลภายนอกแบบบัตรBarcode ซึ่งมีปัญหาในเรื่องความซับซ้อนในขั้นตอนการให้บริการ ที่ผู้ใช้ต้องกรอกข้อมูลด้วยลายมือและนำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลอีกครั้งในคอมพิวเตอร์แล้วจึงออกบัตรเข้าใช้ห้องสมุดแบบBarcode ให้ได้ ด้วยเหตุนี้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ จึงมีความสนใจที่จะนำบัตร RFID (Radio frequency identification) มาใช้ ซึ่งขั้นตอนการให้บริการบัตร RFID จะลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลสมาชิกบุคคลภายนอกของเจ้าหน้าที่ออกไปโดยจะให้สมาชิกประเภทบุคคลภายนอกกรอกข้อมูลตนเองในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้น
สำหรับข้อดีของบัตรสมาชิกแบบ RFID คือ สามารถใช้ยืนยันตัวตนของสมาชิกได้รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถหมุนเวียนบัตรใช้ได้หลายครั้ง และใช้กับเครื่องอ่านที่มีราคาถูกกว่าเครื่องอ่าน Barcode สำหรับเครื่องอ่านที่ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ ใช้ เป็นรุ่น R20C-USB ราคาเครื่องละ 1,000 บาท ซึ่งถูกกว่าเครื่องอ่านบัตร Barcode (ราคา 30,000 บาท) ส่วนข้อเสียของบัตร RFID คือมีค่าใช้จ่ายในการออกบัตรอยู่ที่ 30 บาทต่อใบ ซึ่งจะแพงกว่าบัตร Barcode อยู่ 20 บาท และหากทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ ตัดสินใจนำบัตร RFID มาใช้ก็จะเพิ่มมาตรการในการรักษาบัตรด้วยวิธีการจ่ายค่ามัดจำการสูญหายของบัตรเป็นเงินจำนวน 100 บาทต่อใบ
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้ควรศึกษาเรื่องความคุ้มค่าของการออกบัตร RFID เพิ่มเติม
การจัดทำและการให้บริการข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มีแนวทางในการจัดทำท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นสารสนเทศดิจิทัล โดยการพัฒนาและออกแบบฐานข้อมูลในการให้บริการตามหลักการของเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีป้องกันลิขสิทธิ์ของรูปภาพและเอกสารดิจิทัล ทั้งนี้ได้กำหนดคุณสมบัติของฐานข้อมูลที่จะพัฒนาไว้กว้าง ๆ ว่าจะใช้โปรแกรม Open source ที่สามารถสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
สำหรับขอบเขตของข้อมูลภาคใต้ที่จะนำมาให้บริการเป็นไปตามข้อตกลงของคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network = PULINET) ที่ประกอบด้วย เนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ ด้านศิลปะ ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านบุคคลสำคัญ และด้านภูมิปัญญา ทั้งนี้ในระยะแรกของการดำเนินงานจะเป็นการให้ข้อมูลภาคใต้เฉพาะจังหวัดสงขลาก่อน
ในส่วนของแหล่งข้อมูลที่ทางคณะทำงานได้กำหนดไว้ประกอบด้วย ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุด และการลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูล ซึ่งเมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็จะนำมาเรียบเรียงและนำไปสแกนเพื่อทำเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มพร้อมให้รายการบรรณานุกรมที่ชัดเจน และให้บริการผู้ใช้บริการต่อไป
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการวางเกณฑ์สำหรับตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่
การจัดทำดัชนีของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : ผู้นำเสนอได้ศึกษาความซ้ำซ้อนในการจัดทำดัชนีของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร กับฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย หรือ Thai-Journal Citation Index Centre) และฐานข้อมูล ThaiJo (ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย หรือ Thai Journals Online) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารได้ตัดสินใจเกี่ยวกับการยกเลิกการจัดทำดัชนีวารสารที่มีความซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูลทั้ง 2 ฐานข้อมูลข้างต้น
สำหรับผลการศึกษาในกรณีหากมีการยกเลิกการจัดทำดัชนีวารสาร จะมีข้อดีข้อเสียดังนี้
ข้อดี : – ประหยัดเวลา คน และงบประมาณ
– ลดความซ้ำซ้อนในการทำดัชนี
– ตัดขั้นตอนในการส่งวารสารเย็บเล่ม
– ตัดขั้นตอนในการขึ้นชั้นวารสารทั้งฉบับปลีกและวารสารเย็บเล่ม
– ตัดขั้นตอนการ Weeding วารสารฉบับเย็บเล่ม
ข้อเสีย: – ไม่เป็น One Stop Service ผู้รับบริการอาจจะสืบค้นไม่สะดวกเพราะต้องสืบค้นหลายฐานข้อมูล
– สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ จะไม่มีข้อมูลดัชนีวารสารของตนเอง
– ตัวเล่มวารสารบางฉบับ จะขาดความสมบูรณ์ของวารสารเย็บเล่ม แม้จะใช้บริการทำสำเนาจากห้องสมุดอื่นแทน อีกทั้งยังถือว่าเป็นการเสียเวลาอีกด้วย
– ต้องเน้นให้การศึกษาและแนะนำผู้รับบริการอย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านมีความคิดเห็นว่าควรยกเลิกการทำดัชนีเนื่องจากเห็นว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพราะด้วยพฤติกรรมผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้บริการดัชนีวารสารของห้องสมุด และเสนอให้ใช้วิธีการใส่ Link ฐานข้อมูล TCI และ ThaiJo ไว้ในหน้าเว็บไซต์เพื่อแก้ปัญหาการสืบค้นของผู้ใช้บริการ
นวัตกรรมจากเก้าอี้และโต๊ะวางโสตทัศนูปกรณ์ที่ชำรุด ของฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : เป็นการนำครุภัณฑ์ที่หมดสภาพการใช้งานและได้ถูกจำหน่ายออกในบัญชีครุภัณฑ์ของวิทยาเขตแล้วมาประดิษฐ์เป็นรถเข็นสารพัดประโยชน์ รถเข็นเคลื่อนย้ายเก้าอี้ เก้าอี้สำหรับพักผ่อน รถเข็นใส่อุปกรณ์ทำความสะอาด และรถเข็นขนย้ายบอร์ด
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมโครงการต่างมีความชื่นชอบและชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของผู้นำเสนอ
ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : JFK CRM System สร้างขึ้นโดยใช้ SDLC (System Development Life Cycle) เป็นวงจรสำหรับการพัฒนา มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำระบบขึ้นเพื่อต้องการเปลี่ยนผู้ใช้บริการให้เป็นผู้ภักดีต่อห้องสมุด และเพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการของหอสมุดฯ ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่หอสมุดฯ ได้จัดขึ้น โดยข้อดีของระบบ JFK CRM System คือ ลดความซ้ำซ้อนในการลงทะเบียนของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรม และสามารถนำข้อมูลผู้ใช้บริการมาบริหารจัดการกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการได้
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าระบบ JFK CRM System ยังไม่คุ้มค่าพอต่อการใช้งาน ควรใช้บริการของ Google อาทิ Google Form และ Google Cloud Platform น่าจะเหมาะสมกว่า
การพัฒนาระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 16 กิโลวัตต์ ของฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : ทางสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้มีการนำระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 16 กิโลวัตต์ มาใช้เป็นพลังงานทดแทนภายในสำนักฯ โดยผู้นำเสนอได้มีการอธิบายรูปแบบวงจรการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ วิธีการดึงกระแสไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มาใช้ และข้อมูลทางสถิติที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการผลิตไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าฤดูไหนการผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างไร และให้มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการนำระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มาใช้
ผลงานวิชาการในกลุ่มการบริการสารสนเทศและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ประกอบด้วย 10 ผลงานดังนี้
Reading more, Get More งานห้องสมุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิใน 3 ประเด็น ได้แก่
ควรให้มีการจัดทำในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษาเนื่องจากเห็นว่าค่าสถิติที่นำเสนอมีข้อมูลที่บางช่วงเวลาสูงขึ้นหรือลดลงแบบก้าวกระโดด ด้วยปัจจัยในเรื่องการเข้าใหม่ของนักศึกษาและการมีทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ซึ่งหากจัดทำโครงการในภาคเรียนที่ 2 จะทำให้สามารถได้ข้อมูลที่แน่นอนยิ่งขึ้นเพราะมีปัจจัยภายนอกที่จะเข้ามาแทรกแซงน้อย
ควรมีการเพิ่มข้อมูลสถิติประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืม เนื่องจากจะทำให้ห้องสมุดสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้
ตามผลสรุปของโครงการที่ได้นำเสนอว่าปริมาณการเข้าใช้บริการของห้องสมุดมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปริมาณการยืมทรัพยากรสารสนเทศลดลงอาจด้วยเหตุผลในด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่เปลี่ยนไป ในประเด็นนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะว่าน่าจะให้ห้องสมุดทั้ง 5 วิทยาเขตมีการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของห้องสมุดเพื่อรองรับการให้บริการที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด
ค่ายยุวบรรณารักษ์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : ค่ายยุวบรรณารักษ์เป็นกิจกรรมที่สร้างความรู้และความเข้าใจทางด้านการจัดการห้องสมุดอย่างง่ายให้กับนักเรียนระดับมัธยมต้นในจังหวัดปัตตานี โดยมุ่งหวังให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้กลับไปช่วยเหลืองานห้องสมุดของโรงเรียน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี สำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ทางคณะผู้นำเสนอได้นำข้อมูลการประเมินโครงการด้วยรูปแบบ PDCA-PaR มาวิเคราะห์ให้เห็นถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคของการจัดโครงการ รวมถึงผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการมานำเสนอ
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการติดตามผลไปยังโรงเรียนว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้กลับไปใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ และมีการตั้งข้อสงสัยว่าการจัดโครงการค่ายยุวบรรณารักษ์กับนักเรียนระดับมัธยมต้นมีความเหมาะสมหรือไม่
ความต้องการของนักวิจัยต่อบทบาทสนับสนุนการวิจัยของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ผู้นำเสนอได้นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของนักวิจัยต่อบทบาทสนับสนุนการวิจัยของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้มาจากกรอบการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความต้องการของนักวิจัยต่อการบริการของห้องสมุดในด้านต่าง ๆ ว่าสามารถสนับสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัยต่อนักวิจัยหรือไม่ หากไม่สนับสนุนต่อความต้องการทางหอสมุดฯ จะได้นำผลการศึกษาไปพัฒนาการให้บริการต่อไป
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นควรให้นำบทความการวิจัยชิ้นนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่เนื่องจากมีกระบวนการวิจัยที่เป็นขั้นตอน และมีความน่าเชื่อถือในเรื่องเอกสารการอ้างอิง
ภาษาอาเซียนพาเพลิน ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : ภาษาอาเซียนพาเพลิน เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษามลายูจากการสร้างคลิปวิดีโอและนำไปเผยแพร่ใน YouTube ให้แก่บุคลากรภายในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ฝึกฝนสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ใช้ภาษามลายู และการลงพื้นที่ออกบริการชุมชน
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “ภาษามลายูพาเพลิน” แทนเนื่องจากมีการสอนเฉพาะภาษามลายู
ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : การศึกษาเรื่องความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวัง ความพึงพอใจต่อการบริการ และสภาพการให้บริการของหอสมุดฯ โดยได้นำเกณฑ์โครงร่างองค์กรสำนักวิทยบริการ 8 ด้านมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา สำหรับผลการศึกษาสามารถให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดในการดำเนินงานของหอสมุดฯ ในปัจจุบัน ซึ่งทางหอสมุดฯ สามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อชื่นชมในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัยของผลงานว่ามีกระบวนการขั้นตอนที่เป็นระบบ
ปลูก “รักการอ่าน” ด้วยรากฐานห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : โครงการปลูก “รักการอ่าน” ด้วยรากฐานห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบ เป็นกิจกรรมบริการชุมชนของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินโครงการ คือ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการทรัพยากรสารสนเทศและให้บริการยืม-คืนด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM ได้ (ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ให้ใช้บริการได้ฟรี พัฒนาโดยอาจารย์สมพงษ์ เจริญศิริและทีมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ส่วนเป้าหมายรอง คือการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมให้
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้นำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พัฒนาขึ้นไปใช้ในโครงการแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM เนื่องจากใช้งานง่ายกว่า และมีการเสนอในศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติม
Library Radio Station “ห้องสมุดวาไรตี้ คลื่นนี้มีความรู้” ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรได้จัดกิจกรรม Library Radio Station “ห้องสมุดวาไรตี้ คลื่นนี้มีความรู้” ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน กิจกรรมและบริการของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ให้แก่บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการจัดรายการวิทยุ “ม.อ. FM 88” สัปดาห์ละ 1 วัน (ทุก ๆ วันจันทร์ เวลา 11.30 -12.00 น.) โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมทำให้มีสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ สามารถขยายฐานกลุ่มลูกค้าห้องสมุดได้เป็นอย่างดี สำหรับแผนในอนาคตจะเพิ่มกิจกรรมแจกของรางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ฟังรายการ และจะมีการเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ผ่านทาง Facebook Live ด้วย
ในส่วนของเนื้อหาที่ใช้ในการออกรายการวิทยุแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก นำเสนอข้อมูลที่เป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่สอง บอกเล่าเรื่องราวและประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ในหัวข้อ “สัปดาห์นี้มีอะไร” ส่วนที่สาม นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาษาอาเซียนหรือพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และส่วนที่สี่เป็นการเน้นย้ำถึงช่องทางการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการเก็บข้อมูลผู้ฟังรายการเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์การนำเสนอสื่อได้ตรงกับผู้รับสาร
การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
เนื้อหาโดยสรุป : ที่มาของการศึกษาเรื่องการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการเกิดจากการที่บรรณารักษ์ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการสืบค้นสารสนเทศและการเขียนอ้างอิงให้แก่นักศึกษา ซึ่งจากการสอนพบว่านักศึกษามีทัศนคติ และความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการน้อย ด้วยเหตุนี้ทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังจึงได้จัดอบรมในเรื่องการเขียนอ้างอิงในงานวิชาการขึ้นเพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักศึกษา และได้มีการประเมินผลการอบรมผ่านการมอบหมายงานในชั่วโมงการเรียนการสอนที่บรรณารักษ์ได้มีส่วนร่วมสอนโดยได้นำโปรแกรม Turnitin มาใช้สำหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการด้วย
สำหรับผลการศึกษาพบว่าในระยะแรกนักศึกษามีความรู้สึกไม่เต็มใจให้ใช้โปรแกรม Turnitin ในการตรวจสอบรายงานที่ได้รับมอบหมาย แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งนักศึกษาเริ่มมีความตระหนักที่จะหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานทางวิชาการมากขึ้น จึงทำให้ได้ผลในการศึกษาด้านทัศนคติเป็นเชิงบวก
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมเรื่องการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการให้นักศึกษาทุกระดับชั้นปีทราบโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
การนำเลข Running Number มาช่วยในการจัดชั้นหนังสือ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
เนื้อหาโดยสรุป : การนำเลข Running Number มาช่วยในการจัดชั้นหนังสือมีวิธีการดำเนินการโดยเริ่มจากการสำรวจประเภทหนังสือว่ามีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไร จากนั้นก็กำหนดสีให้กับหนังสือแต่ละประเภท แล้วจัดทำสติกเกอร์สีที่ระบุเลขจำนวนนับตั้งแต่ 1-ตัวเลขสุดท้ายของจำนวนหนังสือแต่ละประเภท(Running Number) เมื่อได้สติกเกอร์เลข Running Number แล้วก็นำไปติดสันหนังสือบริเวณด้านบนเพื่อให้เห็นได้ชัดและไม่ทับซ้อนกับสติกเกอร์เลขหมู่หนังสือดังภาพ
ผลจากการการนำเลข Running Number มาใช้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดชั้นได้เร็วขึ้นและลดปัญหาหนังสืออยู่ผิดชั้นได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิมีความกังวลในเรื่องหากในอนาคตมีหนังสือเข้ามาใหม่ซึ่งต้องอยู่ตรงกลางชั้นวางจะมีวิธีการหรือแนวทางอย่างไร (ทางผู้นำเสนอได้อธิบายแนวทางที่กำหนดไว้หากมีหนังสือใหม่เข้ามาว่า จะใช้การนับเลขแบบใส่จุดทศนิยมหลังเลขที่คาดว่าจะนำหนังสือใหม่ไปแทรก โดยหนังสือเล่มแรกที่นำไปแทรกจะให้ใช้เป็น .5 ก่อนและหากมีหนังสือใหม่เข้ามาและต้องแทรกในจุดเดิมก็จะนำเลขเรียกหนังสือมาใช้ในการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง) และผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้สำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการว่ามีความสับสนระหว่างเลข Running Number กับเลขหมู่หนังสือหรือไม่
ความคาดหวังและความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีต่อการให้บริการโสตทัศนูปกรณ์
เนื้อหาโดยสรุป : เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ โดยจุดประสงค์ในการศึกษาเพื่อทำให้ได้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ โดยข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้จากการศึกษาคือการเลือกใช้จอทีวีขนาด 60 นิ้ว แทนจอโปรเจกเตอร์ในห้องเรียนขนาด 50 ที่นั่งจะมีความคุ้มค่ากว่าเนื่องจากจอทีวีมีอายุการใช้งานที่ยาวกว่าจอของเครื่องฉายภาพโปรเจกเตอร์
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้นำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเนื่องจากมีกระบวนการวิจัยที่เป็นระบบ
ผลงานวิชาการในกลุ่มการบริหารองค์กรและการจัดการความรูู้ ประกอบด้วย 1 ผลงานดังนี้
ระบบงานสารสนเทศบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เนื้อหาโดยสรุป : ระบบงานสารสนเทศบุคลากรสำนักวิทยบริการ พัฒนาขึ้นโดยภาษาโปรแกรม PHP และระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MYSQL ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือด้านการอบรมให้กับบุคลากรสำนักวิทยบริการ โดยได้มีการแบ่งกลุ่มบุคลากรไว้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทั่วไป กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ และกลุ่มผู้นำในอนาคต ซึ่งเจ้าหน้าที่งานบุคคลจะจัดหาหลักสูตรการอบรมที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มกรอกเข้าไปในระบบ นอกจากนี้ระบบยังสามารถช่วยวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าให้แก่บุคลากรในสำนักวิทยบริการได้อีกด้วย
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตั้งข้อสังเกตว่าระบบงานสารสนเทศบุคลากรสำนักวิทยบริการทำหน้าที่ไม่ต่างจากระบบ MIS ซึ่งหากให้คำนวณความคุ้มค่าในการพัฒนาระบบถือว่ายังไม่สามารถตอบโจทย์ได้นอกเหนือจากระบบ MIS
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำผลงานวิชาการ มีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้
– ต้องมีประโยชน์ต่อองค์กร
– ต้องเกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ
– ต้องเป็นเรื่องที่ถนัดที่สุด
– ต้องมีทฤษฎี หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องพอสมควร
– ต้องไม่ซ้ำกับงานวิจัยอื่น ๆ
– สามารถนำไปพัฒนาและใช้งานได้อย่างแท้จริง
เทคนิคการเขียนงานวิจัยให้ดี
– เขียนแล้วนำไปให้คนอื่นอ่าน และเขาต้องสามารถเข้าใจในเรื่องที่เราถ่ายทอดได้
– พูดคุย แลกเปลี่ยนกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ
เกณฑ์การให้คะแนนการนำเสนอผลงานของ PULINET
– บทคัดย่อต้องชัดเจน ครอบคลุม มีประเด็นสำคัญ
– บทนำต้องเริ่มต้นจากกว้างๆ และค่อยๆ สรุปตอนท้ายอย่างตรงประเด็น
– วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับผลการดำเนินงาน
– วิธีการวิจัย ต้องแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
– สรุปผลการวิจัย ควรมีเอกสารอ้างอิงที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา
– ประโยชน์และคุณค่าต่อการนำไปปรับใช้ ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน
– เทคนิคและวิธีการนำเสนอผลงาน
สิ่งที่ได้รับ
การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทำให้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติงานในสายงานเดียวกันและสายงานที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เห็นนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความรู้ใหม่ ๆ ที่แต่ละห้องสมุดได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด โดยสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและการปฏิบัติงาน
เมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ PSULINET Showcase ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ ม.อ.ตรัง เลยขอนำเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันค่ะ 😀 😀
PSULINET Showcase ครั้งที่ 3
ก่อนอื่นขอเล่าถึงความเป็นมาเป็นไปของโครงการก่อนนะคะ
โครงการ PSULINET Showcase เป็นหนึ่งในกิจกรรมการจัดการความรู้ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กร โดยได้จัดให้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัย นวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้บุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขตได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิด นวัตกรรมร่วมกัน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กรตนเองได้
สำหรับรายละเอียดของผลงานที่นำเสนอในโครงการ PSULINET Showcase ครั้งที่ 3 มีดังนี้
เนื้อหาโดยสรุป : JFK Online Course สร้างขึ้นในรูปแบบ MOOC (Massive Open Online Course) ด้วยโปรแกรม Course Builder ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Google Open Online Education เพื่อใช้สำหรับให้นักศึกษาในวิทยาเขตปัตตานีได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(http://www.oas.psu.ac.th/onlinecourse)เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดและการบริการของห้องสมุด และนักศึกษาจะได้รับเกียรติบัตรเมื่อเรียนได้ครบทุกบทเรียน
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้นำเสนอผลงานเพื่อไปพัฒนาระบบบทเรียนออนไลน์ในเรื่องการเก็บสถิติการเข้าใช้ระบบ การยืนยันตัวตนของนักศึกษาเพื่อรับเกียรติบัตร และให้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่าเมื่อเปรียบเทียบตัวระบบบทเรียนออนไลน์กับเว็บไซต์ YouTube แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เนื้อหาโดยสรุป : ระบบชั้นหนังสือสำรองออนไลน์ เป็นระบบที่เพิ่มช่องทางการเข้าใช้ทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ โดยผู้ใช้บริการสามารถอ่านหนังสือสำรองในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ http://www.oas.psu.ac.th/reservebook ทั้งนี้ในการเข้าใช้งานมีข้อจำกัด คือ ต้องเข้าใช้งานด้วย PSU Passport เท่านั้นและผู้ใช้บริการไม่สามารถพิมพ์เอกสารออกมาได้
สำหรับการจัดทำหนังสือสำรองออนไลน์นั่น ทางผู้นำเสนอได้ใช้โปรแกรมจัดทำ e-book ผ่านเว็บไซต์ www.fliphtml5.com ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ฟรีผ่านบัญชี Gmail โดยมีเงื่อนไขคือไม่สามารถอัพโหลดไฟล์สแกนได้เกิน 500 หน้า เมื่อกระบวนการฝากไฟล์เสร็จสมบูรณ์ก็จะนำ Code ที่ได้ไปแขวนกับหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการหนังสือสำรองออนไลน์
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้มีประเด็นสงสัยในเรื่องข้อจำกัดทางด้านลิขสิทธิ์ของหนังสือที่นำมาทำเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มทั้งเล่ม โดยทางผู้นำเสนอได้อธิบายว่าได้มีการศึกษาเรื่อง Fair Use (ความชอบธรรมทางกฎหมายในการเอาผลงานลิขสิทธิ์มาใช้ในระดับที่จำกัด โดยไม่ไปขัดกับผลประโยชน์ที่เจ้าของผลงานพึงได้รับจากงานของเขา)กับผู้เชื่ยวชาญแล้ว พบว่าหากมีการดำเนินการทำสำเนาข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริการภายใต้ขอบเขตของห้องสมุดสามารถทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเจ้าของผลงานแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิยังได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลให้สามารถดาวน์โหลดตัวเอกสารไปอ่านได้แต่ให้กำหนดระยะเวลาในการใช้เอกสารเป็นจำนวนวัน และเมื่อครบกำหนดเวลาเอกสารก็จะไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ
เนื้อหาโดยสรุป : ระบบตรวจสอบความสอดคล้องทรัพยากรสารสนเทศกับ มคอ.3 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของบรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ครบถ้วน อีกทั้งสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาที่ต้องการค้นหาหนังสือที่อาจารย์ผู้สอนได้แนะนำในเอกสารแนะนำรายวิชา (Course Syllabus)
โดยขั้นตอนการพัฒนาระบบตรวจสอบความสอดคล้องฯ ได้แก่
1) ดูรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา
2) ทำการดาวน์โหลดเอกสารมคอ.3 ของรายวิชาที่เปิดสอนจากเว็บไซต์ http://tqf.oas.psu.ac.th
3) คัดลอกรายการบรรณานุกรมในเอกสารมคอ.3 แล้วนำมาตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบรายการบรรณานุกรมของหนังสือ จากนั้นจึงใช้เครื่องหมาย . / , ในการแบ่งเขตข้อมูลบรรณานุกรมเพื่อให้สอดคล้องกับฐานข้อมูล อาทิ ใช้เครื่องหมาย , แทนคำว่า และ ในเขตข้อมูลผู้แต่งที่มีมากกว่า 1 คน
4) นำรายการบรรณานุกรมที่ผ่านการตรวจสอบและให้สัญลักษณ์ใส่ลงในฐานข้อมูล
5) ฐานข้อมูลจะดำเนินการตรวจสอบความสอดคล้องของรายการบรรณานุกรมที่ใส่เข้าไปกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) โดยจะได้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าใน 1 รายวิชาห้องสมุดมีรายการหนังสือครบตามที่อาจารย์ได้ระบุไว้ใน มคอ.3 หรือไม่
และในการจัดหมวดหมู่ในระบบฐานข้อมูลนั้นได้กำหนดให้มีการแสดงผลข้อมูลโดยแบ่งเป็น คณะ ภาควิชา รายวิชา ปีการศึกษา รหัสวิชา และบรรณานุกรมของหนังสือ
สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูล ได้แก่ โปรแกรม PHP และใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูล
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิรวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนต่างมีความสนใจในระบบตรวจสอบความสอดคล้องทรัพยากรสารสนเทศกับ มคอ.3 มากเนื่องจากทุกคนเห็นว่าเป็นระบบที่สามารถช่วยการดำเนินงานในการจัดหาทรัพยากรสารสนและสร้างความพึงพอใจให้ทั้งอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
เนื้อหาโดยสรุป : ผู้นำเสนอได้แสดงผลข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการพิจารณาในเรื่องการเลือกช่วงเวลาเพื่อบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และประกอบการพิจารณาวิธีการจัดหาพัสดุรวมถึงปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าเดือนมิถุนายน – สิงหาคม เป็นช่วงปิดภาคการศึกษา ทำให้มีการใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ในปริมาณที่น้อยจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการบำรุงรักษา ส่วนวิธีการที่เหมาะต่อการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่วิธีการจัดซื้อ เนื่องจากเมื่อคำนวณแล้วพบว่าการจัดซื้อจะมีราคาที่ถูกกว่าการเช่าประมาณ 6,000 บาท
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการซ่อมและความถี่ในการซ่อมว่าเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลส่วนนี้จะสามารถนำมาใช้สนับสนุนในการพิจารณาวิธีการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากข้อดีของการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์คือไม่ต้องเพิ่มกำลังคนในการทำหน้าที่ซ่อมบำรุง และไม่มีความกังวลในปัญหาปลีกย่อยที่จะตามมา ส่วนการจัดซื้อหากทราบข้อมูลว่ามีประวัติการซ่อมไม่บ่อยนักก็จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะช่วยมหาวิทยาลัยประหยัดงบประมาณ
เนื้อหาโดยสรุป : ปัจจุบันสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรได้จัดทำบัตรสมาชิกห้องสมุดประเภทบุคคลภายนอกแบบบัตรBarcode ซึ่งมีปัญหาในเรื่องความซับซ้อนในขั้นตอนการให้บริการ ที่ผู้ใช้ต้องกรอกข้อมูลด้วยลายมือและนำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลอีกครั้งในคอมพิวเตอร์แล้วจึงออกบัตรเข้าใช้ห้องสมุดแบบBarcode ให้ได้ ด้วยเหตุนี้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ จึงมีความสนใจที่จะนำบัตร RFID (Radio frequency identification) มาใช้ ซึ่งขั้นตอนการให้บริการบัตร RFID จะลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลสมาชิกบุคคลภายนอกของเจ้าหน้าที่ออกไปโดยจะให้สมาชิกประเภทบุคคลภายนอกกรอกข้อมูลตนเองในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้น
สำหรับข้อดีของบัตรสมาชิกแบบ RFID คือ สามารถใช้ยืนยันตัวตนของสมาชิกได้รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถหมุนเวียนบัตรใช้ได้หลายครั้ง และใช้กับเครื่องอ่านที่มีราคาถูกกว่าเครื่องอ่าน Barcode สำหรับเครื่องอ่านที่ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ ใช้ เป็นรุ่น R20C-USB ราคาเครื่องละ 1,000 บาท ซึ่งถูกกว่าเครื่องอ่านบัตร Barcode (ราคา 30,000 บาท) ส่วนข้อเสียของบัตร RFID คือมีค่าใช้จ่ายในการออกบัตรอยู่ที่ 30 บาทต่อใบ ซึ่งจะแพงกว่าบัตร Barcode อยู่ 20 บาท และหากทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ ตัดสินใจนำบัตร RFID มาใช้ก็จะเพิ่มมาตรการในการรักษาบัตรด้วยวิธีการจ่ายค่ามัดจำการสูญหายของบัตรเป็นเงินจำนวน 100 บาทต่อใบ
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้ควรศึกษาเรื่องความคุ้มค่าของการออกบัตร RFID เพิ่มเติม
เนื้อหาโดยสรุป : ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มีแนวทางในการจัดทำท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นสารสนเทศดิจิทัล โดยการพัฒนาและออกแบบฐานข้อมูลในการให้บริการตามหลักการของเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีป้องกันลิขสิทธิ์ของรูปภาพและเอกสารดิจิทัล ทั้งนี้ได้กำหนดคุณสมบัติของฐานข้อมูลที่จะพัฒนาไว้กว้าง ๆ ว่าจะใช้โปรแกรม Open source ที่สามารถสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
สำหรับขอบเขตของข้อมูลภาคใต้ที่จะนำมาให้บริการเป็นไปตามข้อตกลงของคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network = PULINET) ที่ประกอบด้วย เนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ ด้านศิลปะ ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านบุคคลสำคัญ และด้านภูมิปัญญา ทั้งนี้ในระยะแรกของการดำเนินงานจะเป็นการให้ข้อมูลภาคใต้เฉพาะจังหวัดสงขลาก่อน
ในส่วนของแหล่งข้อมูลที่ทางคณะทำงานได้กำหนดไว้ประกอบด้วย ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุด และการลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูล ซึ่งเมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็จะนำมาเรียบเรียงและนำไปสแกนเพื่อทำเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มพร้อมให้รายการบรรณานุกรมที่ชัดเจน และให้บริการผู้ใช้บริการต่อไป
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการวางเกณฑ์สำหรับตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่
เนื้อหาโดยสรุป : ผู้นำเสนอได้ศึกษาความซ้ำซ้อนในการจัดทำดัชนีของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร กับฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย หรือ Thai-Journal Citation Index Centre) และฐานข้อมูล ThaiJo (ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย หรือ Thai Journals Online) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารได้ตัดสินใจเกี่ยวกับการยกเลิกการจัดทำดัชนีวารสารที่มีความซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูลทั้ง 2 ฐานข้อมูลข้างต้น
สำหรับผลการศึกษาในกรณีหากมีการยกเลิกการจัดทำดัชนีวารสาร จะมีข้อดีข้อเสียดังนี้
ข้อดี : – ประหยัดเวลา คน และงบประมาณ
– ลดความซ้ำซ้อนในการทำดัชนี
– ตัดขั้นตอนในการส่งวารสารเย็บเล่ม
– ตัดขั้นตอนในการขึ้นชั้นวารสารทั้งฉบับปลีกและวารสารเย็บเล่ม
– ตัดขั้นตอนการ Weeding วารสารฉบับเย็บเล่ม
ข้อเสีย: – ไม่เป็น One Stop Service ผู้รับบริการอาจจะสืบค้นไม่สะดวกเพราะต้องสืบค้นหลายฐานข้อมูล
– สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ จะไม่มีข้อมูลดัชนีวารสารของตนเอง
– ตัวเล่มวารสารบางฉบับ จะขาดความสมบูรณ์ของวารสารเย็บเล่ม แม้จะใช้บริการทำสำเนาจากห้องสมุดอื่นแทน อีกทั้งยังถือว่าเป็นการเสียเวลาอีกด้วย
– ต้องเน้นให้การศึกษาและแนะนำผู้รับบริการอย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านมีความคิดเห็นว่าควรยกเลิกการทำดัชนีเนื่องจากเห็นว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพราะด้วยพฤติกรรมผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้บริการดัชนีวารสารของห้องสมุด และเสนอให้ใช้วิธีการใส่ Link ฐานข้อมูล TCI และ ThaiJo ไว้ในหน้าเว็บไซต์เพื่อแก้ปัญหาการสืบค้นของผู้ใช้บริการ
เนื้อหาโดยสรุป : เป็นการนำครุภัณฑ์ที่หมดสภาพการใช้งานและได้ถูกจำหน่ายออกในบัญชีครุภัณฑ์ของวิทยาเขตแล้วมาประดิษฐ์เป็นรถเข็นสารพัดประโยชน์ รถเข็นเคลื่อนย้ายเก้าอี้ เก้าอี้สำหรับพักผ่อน รถเข็นใส่อุปกรณ์ทำความสะอาด และรถเข็นขนย้ายบอร์ด
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมโครงการต่างมีความชื่นชอบและชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของผู้นำเสนอ
เนื้อหาโดยสรุป : JFK CRM System สร้างขึ้นโดยใช้ SDLC (System Development Life Cycle) เป็นวงจรสำหรับการพัฒนา มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำระบบขึ้นเพื่อต้องการเปลี่ยนผู้ใช้บริการให้เป็นผู้ภักดีต่อห้องสมุด และเพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการของหอสมุดฯ ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่หอสมุดฯ ได้จัดขึ้น โดยข้อดีของระบบ JFK CRM System คือ ลดความซ้ำซ้อนในการลงทะเบียนของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรม และสามารถนำข้อมูลผู้ใช้บริการมาบริหารจัดการกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการได้
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าระบบ JFK CRM System ยังไม่คุ้มค่าพอต่อการใช้งาน ควรใช้บริการของ Google อาทิ Google Form และ Google Cloud Platform น่าจะเหมาะสมกว่า
เนื้อหาโดยสรุป : ทางสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้มีการนำระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 16 กิโลวัตต์ มาใช้เป็นพลังงานทดแทนภายในสำนักฯ โดยผู้นำเสนอได้มีการอธิบายรูปแบบวงจรการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ วิธีการดึงกระแสไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มาใช้ และข้อมูลทางสถิติที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการผลิตไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าฤดูไหนการผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างไร และให้มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการนำระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มาใช้
ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิใน 3 ประเด็น ได้แก่
เนื้อหาโดยสรุป : ค่ายยุวบรรณารักษ์เป็นกิจกรรมที่สร้างความรู้และความเข้าใจทางด้านการจัดการห้องสมุดอย่างง่ายให้กับนักเรียนระดับมัธยมต้นในจังหวัดปัตตานี โดยมุ่งหวังให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้กลับไปช่วยเหลืองานห้องสมุดของโรงเรียน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี สำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ทางคณะผู้นำเสนอได้นำข้อมูลการประเมินโครงการด้วยรูปแบบ PDCA-PaR มาวิเคราะห์ให้เห็นถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคของการจัดโครงการ รวมถึงผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการมานำเสนอ
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการติดตามผลไปยังโรงเรียนว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้กลับไปใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ และมีการตั้งข้อสงสัยว่าการจัดโครงการค่ายยุวบรรณารักษ์กับนักเรียนระดับมัธยมต้นมีความเหมาะสมหรือไม่
เนื้อหาโดยสรุป : กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ผู้นำเสนอได้นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของนักวิจัยต่อบทบาทสนับสนุนการวิจัยของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้มาจากกรอบการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความต้องการของนักวิจัยต่อการบริการของห้องสมุดในด้านต่าง ๆ ว่าสามารถสนับสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัยต่อนักวิจัยหรือไม่ หากไม่สนับสนุนต่อความต้องการทางหอสมุดฯ จะได้นำผลการศึกษาไปพัฒนาการให้บริการต่อไป
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นควรให้นำบทความการวิจัยชิ้นนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่เนื่องจากมีกระบวนการวิจัยที่เป็นขั้นตอน และมีความน่าเชื่อถือในเรื่องเอกสารการอ้างอิง
เนื้อหาโดยสรุป : ภาษาอาเซียนพาเพลิน เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษามลายูจากการสร้างคลิปวิดีโอและนำไปเผยแพร่ใน YouTube ให้แก่บุคลากรภายในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ฝึกฝนสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ใช้ภาษามลายู และการลงพื้นที่ออกบริการชุมชน
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “ภาษามลายูพาเพลิน” แทนเนื่องจากมีการสอนเฉพาะภาษามลายู
เนื้อหาโดยสรุป : การศึกษาเรื่องความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวัง ความพึงพอใจต่อการบริการ และสภาพการให้บริการของหอสมุดฯ โดยได้นำเกณฑ์โครงร่างองค์กรสำนักวิทยบริการ 8 ด้านมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา สำหรับผลการศึกษาสามารถให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดในการดำเนินงานของหอสมุดฯ ในปัจจุบัน ซึ่งทางหอสมุดฯ สามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อชื่นชมในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัยของผลงานว่ามีกระบวนการขั้นตอนที่เป็นระบบ
เนื้อหาโดยสรุป : โครงการปลูก “รักการอ่าน” ด้วยรากฐานห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบ เป็นกิจกรรมบริการชุมชนของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินโครงการ คือ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการทรัพยากรสารสนเทศและให้บริการยืม-คืนด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM ได้ (ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ให้ใช้บริการได้ฟรี พัฒนาโดยอาจารย์สมพงษ์ เจริญศิริและทีมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ส่วนเป้าหมายรอง คือการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมให้
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้นำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พัฒนาขึ้นไปใช้ในโครงการแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM เนื่องจากใช้งานง่ายกว่า และมีการเสนอในศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติม
เนื้อหาโดยสรุป : สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรได้จัดกิจกรรม Library Radio Station “ห้องสมุดวาไรตี้ คลื่นนี้มีความรู้” ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน กิจกรรมและบริการของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ให้แก่บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการจัดรายการวิทยุ “ม.อ. FM 88” สัปดาห์ละ 1 วัน (ทุก ๆ วันจันทร์ เวลา 11.30 -12.00 น.) โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมทำให้มีสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ สามารถขยายฐานกลุ่มลูกค้าห้องสมุดได้เป็นอย่างดี สำหรับแผนในอนาคตจะเพิ่มกิจกรรมแจกของรางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ฟังรายการ และจะมีการเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ผ่านทาง Facebook Live ด้วย
ในส่วนของเนื้อหาที่ใช้ในการออกรายการวิทยุแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก นำเสนอข้อมูลที่เป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่สอง บอกเล่าเรื่องราวและประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ในหัวข้อ “สัปดาห์นี้มีอะไร” ส่วนที่สาม นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาษาอาเซียนหรือพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และส่วนที่สี่เป็นการเน้นย้ำถึงช่องทางการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ฯ
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการเก็บข้อมูลผู้ฟังรายการเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์การนำเสนอสื่อได้ตรงกับผู้รับสาร
เนื้อหาโดยสรุป : ที่มาของการศึกษาเรื่องการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการเกิดจากการที่บรรณารักษ์ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการสืบค้นสารสนเทศและการเขียนอ้างอิงให้แก่นักศึกษา ซึ่งจากการสอนพบว่านักศึกษามีทัศนคติ และความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการน้อย ด้วยเหตุนี้ทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังจึงได้จัดอบรมในเรื่องการเขียนอ้างอิงในงานวิชาการขึ้นเพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักศึกษา และได้มีการประเมินผลการอบรมผ่านการมอบหมายงานในชั่วโมงการเรียนการสอนที่บรรณารักษ์ได้มีส่วนร่วมสอนโดยได้นำโปรแกรม Turnitin มาใช้สำหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการด้วย
สำหรับผลการศึกษาพบว่าในระยะแรกนักศึกษามีความรู้สึกไม่เต็มใจให้ใช้โปรแกรม Turnitin ในการตรวจสอบรายงานที่ได้รับมอบหมาย แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งนักศึกษาเริ่มมีความตระหนักที่จะหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานทางวิชาการมากขึ้น จึงทำให้ได้ผลในการศึกษาด้านทัศนคติเป็นเชิงบวก
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมเรื่องการป้องกันและหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานวิชาการให้นักศึกษาทุกระดับชั้นปีทราบโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
เนื้อหาโดยสรุป : การนำเลข Running Number มาช่วยในการจัดชั้นหนังสือมีวิธีการดำเนินการโดยเริ่มจากการสำรวจประเภทหนังสือว่ามีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไร จากนั้นก็กำหนดสีให้กับหนังสือแต่ละประเภท แล้วจัดทำสติกเกอร์สีที่ระบุเลขจำนวนนับตั้งแต่ 1-ตัวเลขสุดท้ายของจำนวนหนังสือแต่ละประเภท(Running Number) เมื่อได้สติกเกอร์เลข Running Number แล้วก็นำไปติดสันหนังสือบริเวณด้านบนเพื่อให้เห็นได้ชัดและไม่ทับซ้อนกับสติกเกอร์เลขหมู่หนังสือดังภาพ
ผลจากการการนำเลข Running Number มาใช้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดชั้นได้เร็วขึ้นและลดปัญหาหนังสืออยู่ผิดชั้นได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิมีความกังวลในเรื่องหากในอนาคตมีหนังสือเข้ามาใหม่ซึ่งต้องอยู่ตรงกลางชั้นวางจะมีวิธีการหรือแนวทางอย่างไร (ทางผู้นำเสนอได้อธิบายแนวทางที่กำหนดไว้หากมีหนังสือใหม่เข้ามาว่า จะใช้การนับเลขแบบใส่จุดทศนิยมหลังเลขที่คาดว่าจะนำหนังสือใหม่ไปแทรก โดยหนังสือเล่มแรกที่นำไปแทรกจะให้ใช้เป็น .5 ก่อนและหากมีหนังสือใหม่เข้ามาและต้องแทรกในจุดเดิมก็จะนำเลขเรียกหนังสือมาใช้ในการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง) และผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้สำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการว่ามีความสับสนระหว่างเลข Running Number กับเลขหมู่หนังสือหรือไม่
เนื้อหาโดยสรุป : เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ โดยจุดประสงค์ในการศึกษาเพื่อทำให้ได้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ โดยข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้จากการศึกษาคือการเลือกใช้จอทีวีขนาด 60 นิ้ว แทนจอโปรเจกเตอร์ในห้องเรียนขนาด 50 ที่นั่งจะมีความคุ้มค่ากว่าเนื่องจากจอทีวีมีอายุการใช้งานที่ยาวกว่าจอของเครื่องฉายภาพโปรเจกเตอร์
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้นำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเนื่องจากมีกระบวนการวิจัยที่เป็นระบบ
เนื้อหาโดยสรุป : ระบบงานสารสนเทศบุคลากรสำนักวิทยบริการ พัฒนาขึ้นโดยภาษาโปรแกรม PHP และระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MYSQL ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือด้านการอบรมให้กับบุคลากรสำนักวิทยบริการ โดยได้มีการแบ่งกลุ่มบุคลากรไว้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทั่วไป กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ และกลุ่มผู้นำในอนาคต ซึ่งเจ้าหน้าที่งานบุคคลจะจัดหาหลักสูตรการอบรมที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มกรอกเข้าไปในระบบ นอกจากนี้ระบบยังสามารถช่วยวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าให้แก่บุคลากรในสำนักวิทยบริการได้อีกด้วย
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ : ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตั้งข้อสังเกตว่าระบบงานสารสนเทศบุคลากรสำนักวิทยบริการทำหน้าที่ไม่ต่างจากระบบ MIS ซึ่งหากให้คำนวณความคุ้มค่าในการพัฒนาระบบถือว่ายังไม่สามารถตอบโจทย์ได้นอกเหนือจากระบบ MIS
– ต้องมีประโยชน์ต่อองค์กร
– ต้องเกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ
– ต้องเป็นเรื่องที่ถนัดที่สุด
– ต้องมีทฤษฎี หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องพอสมควร
– ต้องไม่ซ้ำกับงานวิจัยอื่น ๆ
– สามารถนำไปพัฒนาและใช้งานได้อย่างแท้จริง
เทคนิคการเขียนงานวิจัยให้ดี
– เขียนแล้วนำไปให้คนอื่นอ่าน และเขาต้องสามารถเข้าใจในเรื่องที่เราถ่ายทอดได้
– พูดคุย แลกเปลี่ยนกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ
เกณฑ์การให้คะแนนการนำเสนอผลงานของ PULINET
– บทคัดย่อต้องชัดเจน ครอบคลุม มีประเด็นสำคัญ
– บทนำต้องเริ่มต้นจากกว้างๆ และค่อยๆ สรุปตอนท้ายอย่างตรงประเด็น
– วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับผลการดำเนินงาน
– วิธีการวิจัย ต้องแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
– สรุปผลการวิจัย ควรมีเอกสารอ้างอิงที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา
– ประโยชน์และคุณค่าต่อการนำไปปรับใช้ ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน
– เทคนิคและวิธีการนำเสนอผลงาน
สิ่งที่ได้รับ
การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทำให้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติงานในสายงานเดียวกันและสายงานที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เห็นนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความรู้ใหม่ ๆ ที่แต่ละห้องสมุดได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด โดยสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและการปฏิบัติงาน
jongjit.p
More Posts
jongjit.p