Post Views:
693
เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ และจอรับภาพในงานครุภัณฑ์ ควรเลือกอย่างไร !!
โปรเจคเตอร์ คือ เครื่องฉายสัญญานภาพวีดิโอลงบนฉาก โดยเกิดจากการสร้างแสงสีและผ่านเลนส์ต่างๆมาเป็นภาพบนฉาก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั้งในการนำเสนอทางธุรกิจ การประชุม ห้องเรียน อบรมสัมมนา หรือใช้เพื่อความบันเทิง เช่น การชมภาพยนตร์ ในส่วนของราคาของโปรเจคเตอร์จะขึ้นกับความละเอียด และ ความสว่างของภาพ ความละเอียดของภาพที่ได้จากโปรเจคเตอร์โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ SVGA (800×600), XGA (1024×768), และ 720p (1280×720) ความละเอียดจะเหมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่อาจจะไม่เท่ากับความละเอียดของภาพยนตร์ยุคใหม่ๆ สำหรับเรื่องของความสว่างหากฉายภาพในห้องที่แสงสว่างตามธรรมชาติน้อย โปรเจคเตอร์ความสว่าง 1000-1500 lumen ก็เพียงพอต่อความต้องการ หากแสงสว่างตามธรรมชาติมากขึ้นก็อาจใช้ความสว่าง 1500-3000 lumen แต่หากใช้ในการฉายภาพในห้องที่ขนาดใหญ่และฉายไปบนฉากขนาดใหญ่คงต้องเลือกโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่าง 3000 lumen ขึ้นไป
สำหรับการแบ่งโปรเจคเตอร์เป็นประเภทต่างๆ แบ่งได้ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตภาพดังนี้
1.หลอดภาพโปรเจคเตอร์ CRT เป็นหลอดแคโทดสามสี แดง น้ำเงิน เขียว ดูแลน้อย อายุใช้งานนาน แต่ราคาแพงมาก เหมาะกับการติดตั้งจุดที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายเลย
2.LCD โปรเจคเตอร์ ราคาถูก ข้อเสียอย่างเดียวของ LCD คือ เห็นภาพเป็นจุดๆชัดเจน
3.DLP โปรเจคเตอร์ ให้ภาพเนียนแต่สีไม่สดเท่า LCD และจะเห็นภาพเป็นแถบๆถ้ามองแบบกวาดตา แต่ปัญหานี้จะไม่พบหากเป็นรุ่นที่ใช้ 3DMD ราคาสูงกว่า LCD เล็กน้อย
ที่กล่าวมาเป็นเพียงรายละเอียดคราวๆ ต่อไปคุณต้องระบุสเปคโปรเจคเตอร์ที่คุณต้องการ โดยลองตอบคำถามหลักๆ ต่อไปนี้ครับ
1. อัตราส่วนภาพ(aspect ratio) ที่คุณต้องการเป็นเท่าไหร่?
2. คุณต้องการความละเอียด(resolution) ของภาพมากแค่ไหน?
3. คุณต้องการความสว่าง(brightness) ของภาพมากแค่ไหน?
4. คุณต้องการ contrast ภาพมากน้อยแค่ไหน?
5. มีงบประมาณเท่าไหร่ในการซื้อโปรเจคเตอร์?
6. มีข้อจำกัดของขนาดห้องที่ติดตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์หรือไม่?
ขนาดของจอฉาย โดยทั่วไปแล้วจอฉายจะมีอยู่ 3 แบบครับ คือ
1.Square Format (1:1) หมายถึง ความสูงและความกว้างของเนื้อจอมีขนาดเท่ากัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เราจะเรียกจอแบบนี้ว่า จอขนาด 70”x70 “ หรือ 50”x50” ครับ
2. Video Format (4:3/1.33) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 4: 3 เหมือนจอโทรทัศน์ครับ รูปจอจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้านิดๆ จอแบบนี้จะมีหน่วยวัดที่เป็นเส้นทแยงมุม เช่น – จอแบบ 100” (4:3) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 2 เมตร สูง 1.5 เมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 100” – จอแบบ 150 “ (4:3) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 3.05 เมตร สูง 2.44 เมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 150”
3. HDTV format (16:9/1.78) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 16: 9 ภาพจะเป็น Wide screen เหมือนจอภาพยนตร์ หรือภาพที่เราเห็นจากเครื่องเล่นDVD รูปจอจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวกว่าแบบ 4:3 จอแบบนี้จะมีหน่วยวัดที่เป็นเส้นทแยงมุม เช่น 92” 106 “ เหมือนแบบ 4:3 แต่ว่าขนาดกว้างxยาว จะต่างกันครับ
– จอแบบ 92” (16:9) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 2.03 เมตร สูง 1.14 เมตร เมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 92”
– จอแบบ 106 “ (16:9) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 2.34เมตร สูง 1.32 เมตรเมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 106”
แต่ขนาดดังกล่าวเป็นขนาดของเนื้อจอนะครับ เวลาซื้อมาติดตั้งจะมีความยาวของกระบอกจอเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น จอแบบแขวนมือดึง 100 “ จะมีความยาวกระบอกจอประมาณ 2.15-2.30 เมตร แต่ถ้าเป็นแบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระบอกจอจะมีความยาวประมาณ 2.30-55 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ แต่ โดยทั่วไปแล้วจอมอเตอร์จะมีกระบอกจอที่ยาวกว่าแบบแขวนมือดึงครับ เนื่องจากมีส่วนที่เป็นมอเตอร์ควบคุมซ่อนอยู่ ส่วนจอตรึงจะมีขอบจอไม่กว้างมากนัก อาจจะเพิ่มจากความกว้างของเนื้อจอประมาณ 10-15 ซม.
ชนิดของจอ
1. จอฉายแบบแขวนมือดึง เหมาะสำหรับติดประจำห้องโดยยึดจอไว้กับฝ้าหรือกำแพง เวลาใช้ก็แค่ดึงจอลงมาเกี่ยวไว้ด้านล่าง และดึงกลับมาเลือกใช้
2. จอฉายแบบมอเตอร์ไฟฟ้า หน้าตาคล้ายๆกับแบบแรก แต่จะสะดวกตรงที่ไม่ต้องออกแรงดึงเองแต่จะมี รีโมทคอนโทรลคอยควบคุมการขึ้น-ลงของจอ ซึ่งจะเป็นรีโมททั้งแบบมีสายและไร้สาย เหมาะสำหรับจอขนาดใหญ่ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ดึงจอไม่สะดวกครับ
3. จอฉายแบบขาตั้ง เหมาะสำหรับงานที่ต้องเคลื่อนย้าย งานนอกสถานที่ ที่ไม่มีตำแหน่งยึดจอ หรือต้องการใช้งานชั่วคราว น้ำหนักจะมากกว่าแบบมือดึงเพราะมีขาตั้งมาด้วยครับ ส่วนขาตั้งจะมีทั้งที่เป็นแบบ 3 ขา (Tripod Projection Screen) หรือแบบ 2 ขา ตั้งขึ้นมาจากด้านข้าง
4. จอฉายแบบตรึง เป็นจอที่ขึงมาในกรอบ บางยี่ห้ออาจมีกรอบอลูมิเนียมบุกำมะหยี่สีดำ บางยี่ห้อเป็นสีน้ำเงิน เนื้อจอมักเป็นแบบ HD ซึ่ง ใช้สำหรับการชมภาพยนตร์ ติดตั้งภายในห้องครับ นอกจากนี้แล้วจอตรึงอีกแบบที่นิยมใช้ในบ้านเราตามร้านอาหารต่างๆ จะเป็นจอที่เจาะตาไก่แล้วร้อยกับโครงจอครับ จอแบบนี้มักใช้จอที่เป็นจอหนังมาทำ มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 150-300 “ ราคาไม่สูงมาก เหมาะกับงานกลางแจ้งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็หาซื้อและสั่งทำได้ง่ายขึ้นครับ
5. จอแบบตั้งโต๊ะ เป็นจอขนาดเล็ก ส่วนมากจะมีขนาดประมาณ 40”-50” เพื่อความสะดวกในการพกพา เวลาใช้ก็ดึงกระบอกจอออกมาแล้ววางบนโต๊ะนำเสนอเพื่อใช้งานได้ทันที
6. จอแบบตั้งพื้น สวยกว่า โดยจอประเภทนี่จะมีฐานจอขนาดใหญ่ ใช้ดึงจอจากด้านล่างขึ้นมาแล้วยึดกับโครงยึดจอด้านหลัง เป็นจอที่เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย งานนอกสถานที่ ราคาจะสูงกว่าแบบขาตั้งธรรมดาแต่ดู
เนื้อจอฉาย
1. Matte White มีค่า Gain 1.0 เป็น จอที่ได้รับความนิยมในตลาดสูงมาก เนื่องจากราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เหมาะกับงานนำเสนอตัวหนังสือจากคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายสไลด์ หรือ Overhead สามารถทำความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่ กันเชื้อราได้ และไม่ติดไฟง่าย
2. Glass Beaded มีค่า Gain 2.5 ราคาจะสูงกว่าแบบ Matt White สามารถ สะท้อนแสงได้ดีกว่า เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีแสงรบกวนสูง และมีตำแหน่งของผู้ชมไม่กว้างมากนักเพราะจอมีมุมมองภาพที่แคบ แนะนำในการใช้งานกับการนำเสนอรูปภาพต่างๆ ไม่เหมาะกับการฉายภาพที่เป็นข้อมูลตัวหนังสือคอมพิวเตอร์ เช่น excel ,word หรือภาพจาก Overhead นอกจากนี้เนื้อจอยังกันเชื้อราได้ และไม่ติดไฟง่าย แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เนื้อจอยับนะครับเพราะจะทำให้คุณภาพของภาพลดลงมาก ทีเดียวครับ
3. Rear Gain 5.0 เนื้อจอภาพแบบฉายหลัง จอแบบนี้จะใช้ในกรณีที่เราติดตั้งเครื่องฉายไว้ด้านหลังจอครับ จอที่มีคุณภาพดีจะมีการกระจายแสงที่ดี ให้ภาพที่คมชัด ราคาจะสูงกว่า 2 แบบแรกมากครับ
4. High Definition Gain 3.0 จอแบบนี้นิยมใช้กับห้องโฮมเธียเตอร์ในบ้าน ภาพที่ได้จะให้คุณภาพสูงมากอย่างเห็นได้ชัด เมื่อฉายเทียบกับจอแบบ Matt white และ Glass beaded ทีสำคัญราคาสูงพอๆกับคุณภาพ
เมื่อเข้าใจเรื่องจอโปรเจคเตอร์ และ ประเภทโปรเจคเตอร์ที่จะนำมาใช้งานแล้ว สิ่งหนึงที่สำคัญไม่แพ้กันคือการติดตั้ง โปรเจคเตอร์ และจอภาพโปรเจคเตอร์ เพราะห้องแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน ฝ้าของอาคารก็ดูแตกต่างกันความยากง่ายในการติดตั้งก็แตกต่างกันด้วยดังนั้นเพื่อความสวยงามของอาคารควรมีช่างผู้ชำนาญแนะนำในการติดตั้ง เพื่อความคมชัดของภาพ ควรมีผ้าม่านเพื่อให้ห้องทึบแสงบ้างจะได้เห็นภาพที่ชัดขึ้น
ข้อสังเกตุ เมื่อใช้โปรเจคเตอร์ไประยะหนึ่ง เมื่อใช้โปรเจคเตอร์ ไปนานๆจะทำให้ ภาพโปรเจคเตอร์มีสีที่จืดดูไม่สวยงาม เพราะหลอดโปรเจคเตอร์มีอายุเช่นกันแต่สามารถเปลี่ยนหลอดไหม่ได้ครับราคาหลอดก็แตกต่างกันไปตามยีห้อและอัตราความสว่าง
เครดิต : http://www.projectorok.com
เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ และจอรับภาพในงานครุภัณฑ์ ควรเลือกอย่างไร !!
โปรเจคเตอร์ คือ เครื่องฉายสัญญานภาพวีดิโอลงบนฉาก โดยเกิดจากการสร้างแสงสีและผ่านเลนส์ต่างๆมาเป็นภาพบนฉาก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั้งในการนำเสนอทางธุรกิจ การประชุม ห้องเรียน อบรมสัมมนา หรือใช้เพื่อความบันเทิง เช่น การชมภาพยนตร์ ในส่วนของราคาของโปรเจคเตอร์จะขึ้นกับความละเอียด และ ความสว่างของภาพ ความละเอียดของภาพที่ได้จากโปรเจคเตอร์โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ SVGA (800×600), XGA (1024×768), และ 720p (1280×720) ความละเอียดจะเหมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่อาจจะไม่เท่ากับความละเอียดของภาพยนตร์ยุคใหม่ๆ สำหรับเรื่องของความสว่างหากฉายภาพในห้องที่แสงสว่างตามธรรมชาติน้อย โปรเจคเตอร์ความสว่าง 1000-1500 lumen ก็เพียงพอต่อความต้องการ หากแสงสว่างตามธรรมชาติมากขึ้นก็อาจใช้ความสว่าง 1500-3000 lumen แต่หากใช้ในการฉายภาพในห้องที่ขนาดใหญ่และฉายไปบนฉากขนาดใหญ่คงต้องเลือกโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่าง 3000 lumen ขึ้นไป
สำหรับการแบ่งโปรเจคเตอร์เป็นประเภทต่างๆ แบ่งได้ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตภาพดังนี้
1.หลอดภาพโปรเจคเตอร์ CRT เป็นหลอดแคโทดสามสี แดง น้ำเงิน เขียว ดูแลน้อย อายุใช้งานนาน แต่ราคาแพงมาก เหมาะกับการติดตั้งจุดที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายเลย
2.LCD โปรเจคเตอร์ ราคาถูก ข้อเสียอย่างเดียวของ LCD คือ เห็นภาพเป็นจุดๆชัดเจน
3.DLP โปรเจคเตอร์ ให้ภาพเนียนแต่สีไม่สดเท่า LCD และจะเห็นภาพเป็นแถบๆถ้ามองแบบกวาดตา แต่ปัญหานี้จะไม่พบหากเป็นรุ่นที่ใช้ 3DMD ราคาสูงกว่า LCD เล็กน้อย
ที่กล่าวมาเป็นเพียงรายละเอียดคราวๆ ต่อไปคุณต้องระบุสเปคโปรเจคเตอร์ที่คุณต้องการ โดยลองตอบคำถามหลักๆ ต่อไปนี้ครับ
1. อัตราส่วนภาพ(aspect ratio) ที่คุณต้องการเป็นเท่าไหร่?
2. คุณต้องการความละเอียด(resolution) ของภาพมากแค่ไหน?
3. คุณต้องการความสว่าง(brightness) ของภาพมากแค่ไหน?
4. คุณต้องการ contrast ภาพมากน้อยแค่ไหน?
5. มีงบประมาณเท่าไหร่ในการซื้อโปรเจคเตอร์?
6. มีข้อจำกัดของขนาดห้องที่ติดตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์หรือไม่?
ขนาดของจอฉาย โดยทั่วไปแล้วจอฉายจะมีอยู่ 3 แบบครับ คือ
1.Square Format (1:1) หมายถึง ความสูงและความกว้างของเนื้อจอมีขนาดเท่ากัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เราจะเรียกจอแบบนี้ว่า จอขนาด 70”x70 “ หรือ 50”x50” ครับ
2. Video Format (4:3/1.33) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 4: 3 เหมือนจอโทรทัศน์ครับ รูปจอจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้านิดๆ จอแบบนี้จะมีหน่วยวัดที่เป็นเส้นทแยงมุม เช่น – จอแบบ 100” (4:3) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 2 เมตร สูง 1.5 เมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 100” – จอแบบ 150 “ (4:3) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 3.05 เมตร สูง 2.44 เมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 150”
3. HDTV format (16:9/1.78) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูงและความกว้างของจอเป็น 16: 9 ภาพจะเป็น Wide screen เหมือนจอภาพยนตร์ หรือภาพที่เราเห็นจากเครื่องเล่นDVD รูปจอจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวกว่าแบบ 4:3 จอแบบนี้จะมีหน่วยวัดที่เป็นเส้นทแยงมุม เช่น 92” 106 “ เหมือนแบบ 4:3 แต่ว่าขนาดกว้างxยาว จะต่างกันครับ
– จอแบบ 92” (16:9) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 2.03 เมตร สูง 1.14 เมตร เมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 92”
– จอแบบ 106 “ (16:9) หมายถึง เนื้อจอจะมีความกว้าง 2.34เมตร สูง 1.32 เมตรเมตร มีความยาวของเส้นทแยงมุม 106”
แต่ขนาดดังกล่าวเป็นขนาดของเนื้อจอนะครับ เวลาซื้อมาติดตั้งจะมีความยาวของกระบอกจอเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น จอแบบแขวนมือดึง 100 “ จะมีความยาวกระบอกจอประมาณ 2.15-2.30 เมตร แต่ถ้าเป็นแบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระบอกจอจะมีความยาวประมาณ 2.30-55 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ แต่ โดยทั่วไปแล้วจอมอเตอร์จะมีกระบอกจอที่ยาวกว่าแบบแขวนมือดึงครับ เนื่องจากมีส่วนที่เป็นมอเตอร์ควบคุมซ่อนอยู่ ส่วนจอตรึงจะมีขอบจอไม่กว้างมากนัก อาจจะเพิ่มจากความกว้างของเนื้อจอประมาณ 10-15 ซม.
ชนิดของจอ
1. จอฉายแบบแขวนมือดึง เหมาะสำหรับติดประจำห้องโดยยึดจอไว้กับฝ้าหรือกำแพง เวลาใช้ก็แค่ดึงจอลงมาเกี่ยวไว้ด้านล่าง และดึงกลับมาเลือกใช้
2. จอฉายแบบมอเตอร์ไฟฟ้า หน้าตาคล้ายๆกับแบบแรก แต่จะสะดวกตรงที่ไม่ต้องออกแรงดึงเองแต่จะมี รีโมทคอนโทรลคอยควบคุมการขึ้น-ลงของจอ ซึ่งจะเป็นรีโมททั้งแบบมีสายและไร้สาย เหมาะสำหรับจอขนาดใหญ่ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ดึงจอไม่สะดวกครับ
3. จอฉายแบบขาตั้ง เหมาะสำหรับงานที่ต้องเคลื่อนย้าย งานนอกสถานที่ ที่ไม่มีตำแหน่งยึดจอ หรือต้องการใช้งานชั่วคราว น้ำหนักจะมากกว่าแบบมือดึงเพราะมีขาตั้งมาด้วยครับ ส่วนขาตั้งจะมีทั้งที่เป็นแบบ 3 ขา (Tripod Projection Screen) หรือแบบ 2 ขา ตั้งขึ้นมาจากด้านข้าง
4. จอฉายแบบตรึง เป็นจอที่ขึงมาในกรอบ บางยี่ห้ออาจมีกรอบอลูมิเนียมบุกำมะหยี่สีดำ บางยี่ห้อเป็นสีน้ำเงิน เนื้อจอมักเป็นแบบ HD ซึ่ง ใช้สำหรับการชมภาพยนตร์ ติดตั้งภายในห้องครับ นอกจากนี้แล้วจอตรึงอีกแบบที่นิยมใช้ในบ้านเราตามร้านอาหารต่างๆ จะเป็นจอที่เจาะตาไก่แล้วร้อยกับโครงจอครับ จอแบบนี้มักใช้จอที่เป็นจอหนังมาทำ มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 150-300 “ ราคาไม่สูงมาก เหมาะกับงานกลางแจ้งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็หาซื้อและสั่งทำได้ง่ายขึ้นครับ
5. จอแบบตั้งโต๊ะ เป็นจอขนาดเล็ก ส่วนมากจะมีขนาดประมาณ 40”-50” เพื่อความสะดวกในการพกพา เวลาใช้ก็ดึงกระบอกจอออกมาแล้ววางบนโต๊ะนำเสนอเพื่อใช้งานได้ทันที
6. จอแบบตั้งพื้น สวยกว่า โดยจอประเภทนี่จะมีฐานจอขนาดใหญ่ ใช้ดึงจอจากด้านล่างขึ้นมาแล้วยึดกับโครงยึดจอด้านหลัง เป็นจอที่เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย งานนอกสถานที่ ราคาจะสูงกว่าแบบขาตั้งธรรมดาแต่ดู
เนื้อจอฉาย
1. Matte White มีค่า Gain 1.0 เป็น จอที่ได้รับความนิยมในตลาดสูงมาก เนื่องจากราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เหมาะกับงานนำเสนอตัวหนังสือจากคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายสไลด์ หรือ Overhead สามารถทำความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่ กันเชื้อราได้ และไม่ติดไฟง่าย
2. Glass Beaded มีค่า Gain 2.5 ราคาจะสูงกว่าแบบ Matt White สามารถ สะท้อนแสงได้ดีกว่า เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีแสงรบกวนสูง และมีตำแหน่งของผู้ชมไม่กว้างมากนักเพราะจอมีมุมมองภาพที่แคบ แนะนำในการใช้งานกับการนำเสนอรูปภาพต่างๆ ไม่เหมาะกับการฉายภาพที่เป็นข้อมูลตัวหนังสือคอมพิวเตอร์ เช่น excel ,word หรือภาพจาก Overhead นอกจากนี้เนื้อจอยังกันเชื้อราได้ และไม่ติดไฟง่าย แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เนื้อจอยับนะครับเพราะจะทำให้คุณภาพของภาพลดลงมาก ทีเดียวครับ
3. Rear Gain 5.0 เนื้อจอภาพแบบฉายหลัง จอแบบนี้จะใช้ในกรณีที่เราติดตั้งเครื่องฉายไว้ด้านหลังจอครับ จอที่มีคุณภาพดีจะมีการกระจายแสงที่ดี ให้ภาพที่คมชัด ราคาจะสูงกว่า 2 แบบแรกมากครับ
4. High Definition Gain 3.0 จอแบบนี้นิยมใช้กับห้องโฮมเธียเตอร์ในบ้าน ภาพที่ได้จะให้คุณภาพสูงมากอย่างเห็นได้ชัด เมื่อฉายเทียบกับจอแบบ Matt white และ Glass beaded ทีสำคัญราคาสูงพอๆกับคุณภาพ
เมื่อเข้าใจเรื่องจอโปรเจคเตอร์ และ ประเภทโปรเจคเตอร์ที่จะนำมาใช้งานแล้ว สิ่งหนึงที่สำคัญไม่แพ้กันคือการติดตั้ง โปรเจคเตอร์ และจอภาพโปรเจคเตอร์ เพราะห้องแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน ฝ้าของอาคารก็ดูแตกต่างกันความยากง่ายในการติดตั้งก็แตกต่างกันด้วยดังนั้นเพื่อความสวยงามของอาคารควรมีช่างผู้ชำนาญแนะนำในการติดตั้ง เพื่อความคมชัดของภาพ ควรมีผ้าม่านเพื่อให้ห้องทึบแสงบ้างจะได้เห็นภาพที่ชัดขึ้น
ข้อสังเกตุ เมื่อใช้โปรเจคเตอร์ไประยะหนึ่ง เมื่อใช้โปรเจคเตอร์ ไปนานๆจะทำให้ ภาพโปรเจคเตอร์มีสีที่จืดดูไม่สวยงาม เพราะหลอดโปรเจคเตอร์มีอายุเช่นกันแต่สามารถเปลี่ยนหลอดไหม่ได้ครับราคาหลอดก็แตกต่างกันไปตามยีห้อและอัตราความสว่าง
เครดิต : http://www.projectorok.com
PATTTRA WANAJARO
More Posts
PATTTRA WANAJARO