Post Views:
1,205
ตอบข้อสงสัย ทำไมการจับปลาดาว หรือสัตว์ทะเลถึงผิดกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ หรือถูกจำคุก ข้อควรรู้ในการท่องเที่ยวทะเลและอุทยานแห่งชาติของไทย ใครกำลังวางแผนไปเที่ยวทะเลต้องอ่าน
สืบเนื่องจากข่าว (เจอตัวแล้ว 2 สาวนักท่องเที่ยว ดำน้ำจับปลาดาวที่เกาะหลีเป๊ะ-ปรับ 2,500 บาท) ก็เลยจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไมนักท่องเที่ยวทั้ง 2 คนนี้ถึงถูกเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา16 (3) และมาตรา 18 เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,500 บาท
ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 3 : การคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ มาตรา 16 (3) ได้กำหนดไว้ว่า ภายในเขตอุทยานแหงชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์
หมายเหตุ : ปลาดาว ไม่ใช่ปลา เป็นสัตว์ทะเลที่เรียกว่า “ดาวทะเล” (Starfish, Seastar) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัม Echinodermata จึงอาจปรับข้อกฎหมายเข้าได้กับมาตราดังกล่าว
การดำน้ำจับสัตว์น้ำใต้ท้องทะเลโดยเฉพาะปลาดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวถ่ายรูปทั้งใต้น้ำและนำขึ้นมาถ่ายรูปบนผิวน้ำ และได้โพสต์ภาพขึ้นโซเชียล ถือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่นักท่องเที่ยวคนอื่นที่เห็นและอาจจะทำตามจึงเป็นความผิด และมีโทษตาม มาตรา 24 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้ตามมาตรา 20 ประกอบกับมาตรา 28 ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวนั่นเอง
กฎหมายได้กำหนดไว้แล้วนะคะว่าบุคคลซึ่งเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 18) หากเราเข้าไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเมื่อใดเรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จะอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้ และแต่ละอุทยานแห่งชาติก็มีทรัพยากรที่แตกต่างกันออกไป จึงมีกฎระเบียบเพิ่มเติมแยกย่อยออกไปอีก เช่น พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ห้ามให้อาหารลิงและสัตว์ป่าทุกชนิด, ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และให้ระวังสัตว์ป่าข้ามถนน เป็นต้น ดังนั้นเราเป็นนักท่องเที่ยวก็ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีอยู่ต่อไป
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ dnp.go.th หรือสอบถามโดยตรงกับทางอุทยานแห่งชาติที่นักท่องเที่ยวกำลังวางแผนเข้าไปเที่ยวชม
หากเรายังต้องการเห็นท้องทะเลไทยเป็นสีฟ้าใส หาดทรายขาวสะอาด มีปะการังหลากสีสันและสัตว์ทะเลสุดน่ารักมากมาย หรืออยากเห็นป่าสีเขียว มีดอกไม้ป่าหลากสีสันให้ได้ชื่นชม พร้อมทั้งอากาศในบ้านเราเย็นสบายบริสุทธิ์ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้กันด้วยนะคะ เที่ยวอย่างมีจิตสำนึก เพื่อตัวเราและลูกหลานค่ะ 🙂
ข้อมูลจาก http://travel.kapook.com/view150385.html
ตอบข้อสงสัย ทำไมการจับปลาดาว หรือสัตว์ทะเลถึงผิดกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ หรือถูกจำคุก ข้อควรรู้ในการท่องเที่ยวทะเลและอุทยานแห่งชาติของไทย ใครกำลังวางแผนไปเที่ยวทะเลต้องอ่าน
สืบเนื่องจากข่าว (เจอตัวแล้ว 2 สาวนักท่องเที่ยว ดำน้ำจับปลาดาวที่เกาะหลีเป๊ะ-ปรับ 2,500 บาท) ก็เลยจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไมนักท่องเที่ยวทั้ง 2 คนนี้ถึงถูกเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา16 (3) และมาตรา 18 เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,500 บาท
ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 3 : การคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ มาตรา 16 (3) ได้กำหนดไว้ว่า ภายในเขตอุทยานแหงชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์
หมายเหตุ : ปลาดาว ไม่ใช่ปลา เป็นสัตว์ทะเลที่เรียกว่า “ดาวทะเล” (Starfish, Seastar) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัม Echinodermata จึงอาจปรับข้อกฎหมายเข้าได้กับมาตราดังกล่าว
การดำน้ำจับสัตว์น้ำใต้ท้องทะเลโดยเฉพาะปลาดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวถ่ายรูปทั้งใต้น้ำและนำขึ้นมาถ่ายรูปบนผิวน้ำ และได้โพสต์ภาพขึ้นโซเชียล ถือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่นักท่องเที่ยวคนอื่นที่เห็นและอาจจะทำตามจึงเป็นความผิด และมีโทษตาม มาตรา 24 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้ตามมาตรา 20 ประกอบกับมาตรา 28 ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวนั่นเอง
กฎหมายได้กำหนดไว้แล้วนะคะว่าบุคคลซึ่งเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 18) หากเราเข้าไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเมื่อใดเรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จะอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้ และแต่ละอุทยานแห่งชาติก็มีทรัพยากรที่แตกต่างกันออกไป จึงมีกฎระเบียบเพิ่มเติมแยกย่อยออกไปอีก เช่น พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ห้ามให้อาหารลิงและสัตว์ป่าทุกชนิด, ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และให้ระวังสัตว์ป่าข้ามถนน เป็นต้น ดังนั้นเราเป็นนักท่องเที่ยวก็ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีอยู่ต่อไป
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ dnp.go.th หรือสอบถามโดยตรงกับทางอุทยานแห่งชาติที่นักท่องเที่ยวกำลังวางแผนเข้าไปเที่ยวชม
หากเรายังต้องการเห็นท้องทะเลไทยเป็นสีฟ้าใส หาดทรายขาวสะอาด มีปะการังหลากสีสันและสัตว์ทะเลสุดน่ารักมากมาย หรืออยากเห็นป่าสีเขียว มีดอกไม้ป่าหลากสีสันให้ได้ชื่นชม พร้อมทั้งอากาศในบ้านเราเย็นสบายบริสุทธิ์ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้กันด้วยนะคะ เที่ยวอย่างมีจิตสำนึก เพื่อตัวเราและลูกหลานค่ะ 🙂
SURACHAI KALONG
More Posts
SURACHAI KALONG