Post Views:
1,142
ไม่ว่าจะเป็นกล้องมือถือ กล้อง Mirrorless หรือกล้อง DSLR ล้วนแล้วแต่สามารถถ่ายภาพให้ออกมาได้คมชัด แต่น้าป๋วยเชื่อว่าหลายคนน่าจะเจอปัญหาเรื่องถ่ายภาพออกมาแล้วไม่คมชัดเท่าที่ควร สาเหตุอะไรถึงเป็นเช่นนั้น เดี๋ยวเรามาลองไล่เรียงกันดีกว่า จะได้แก้ปัญหาเรื่องถ่ายภาพแล้วได้ภาพเบลอ ภาพไม่คมกัน
1. โฟกัสผิดพลาด
ปัญหาแรกที่เป็นสาเหตุหลักของภาพถ่ายที่เบลอ ไม่คมชัดก็คือเรื่องโฟกัส เพราะแม้ว่าคุณใช้เลนส์ที่ออกแบบมาให้คมขนาดไหน แต่ถ้าโฟกัสไม่เข้าก็เปล่าประโยชน์ เพราะภาพที่ได้จะไม่มีวันคมชัดตามที่ต้องการ ซึ่งมักจะเกิดจากการโฟกัสผิดจุด หรือการเลือกจุดโฟกัสที่ไม่ถูกต้องทำให้กล้องไปโฟกัสที่ตำแหน่งอื่น ทำให้ได้ภาพที่เรียกว่า หลุดโฟกัส จะถ่ายคนให้ชัด กลับไปโฟกัสกิ่งไม้ด้านหลังแทนอะไรประมาณนั้น รวมไปถึงการเลือกระบบโฟกัสที่ไม่เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ เลือกจุดโฟกัสให้ถูกต้องว่าต้องการให้จุดใดชัด หรือใช้งานระบบออโต้โฟกัสให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น เลือกใช้ระบบ AF-C เพื่อให้กล้องโฟกัสต่อเนื่องติดตามวัตถุเพื่อถ่ายภาพกีฬา เป็นต้น
2. ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ภาพเบลอ ไม่คมชัดได้ง่าย และมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ นั่นคือความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไป ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย หรือปรับค่ากล้องผิด ทำให้เกิดภาพที่ดูมีการสั่นไหวปรากฏขึ้น จนวัตถุในภาพไม่คมชัด เบลอ มองไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน วิธีการแก้ไขปัญหาหลักๆเลยก็คือปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้นจนสามารถที่จะถือประคองให้ถ่ายภาพได้ หรืออาจจะต้องใช้งานขาตั้งกล้องหากจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในการถ่ายภาพ
3. วัตถุเคลื่อนไหวเร็ว
บางสถานการณ์ เราปรับค่าความเร็วชัตเตอร์เร็วพอที่จะถือกล้องถ่ายภาพให้นิ่งได้ แต่หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเกินกว่าที่ความเร็วชัตเตอร์จะหยุดภาพให้นิ่งได้ ก็จะทำให้เกิดภาพที่สั่นไหว ไม่คมชัดขึ้นได้ ดังนั้นการถ่ายภาพในสถานการณ์ที่ต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพจึงต้องมีการปรับตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น นอกเสียจากว่าคุณต้องการได้ภาพที่ให้อารมณ์ดูมี Movement
4. ใช้ระยะเทเลถ่ายภาพ
สาเหตุหนึ่งที่หลายคนไม่คาดคิดในการถ่ายภาพแล้วปรากฏว่าภาพที่ได้เบลอ ไม่คมชัดเมื่อขยายภาพดู นั่นคือการใช้เลนส์ระยะเทเล สาเหตุนี้เกิดจากเมื่อใช้งานเลนส์ระยะดังกล่าวซึ่งมีอัตราขยายสูง มีการดึงภาพเข้ามาใกล้ทำให้ โอกาสที่ภาพจะสั่นไหวนั้นเกิดขึ้นได้มากกว่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นกว่า แม้ว่าจะใช้งานความเร็วชัตเตอร์เดิมที่เคยใช้อยู่กับเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นกว่าแล้วภาพยังคมชัดก็ตาม ดังนั้นต้องอย่าลืมว่าหากใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงขึ้น โดยเฉพาะเลนส์เทเล จึงต้องปรับความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นด้วย โดยมีสูตรคร่าวๆว่าความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรต่ำกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้อยู่ เช่น หากซูมภาพไปที่ระยะ 200 mm ก็ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/200 วินาที เป็นต้น
5. ถือกล้องไม่นิ่ง
หากทุกอย่างได้รับการแก้ไขมาแล้ว แต่ภาพที่ได้ยังไม่คมชัด ยังเบลออยู่ อาจเกิดจากปัญหาถือกล้องไม่นิ่งพอ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำอย่างที่บอกไปแล้ว บางทีการจับถือกล้องที่ไม่สมดุลหรือกล้องมีน้ำหนักมากก็เป็นสาเหตุทำให้มือไม่นิ่งด้วยเช่นกัน การทำให้กล้องนิ่งที่สุดจึงต้องประคองกล้องให้มั่นคงในขณะกดชัตเตอร์ หรืออาจจะเปิดใช้งานระบบป้องกันภาพสั่นไหว ซึ่งกล้องรุ่นใหม่ๆนั้นออกแบบมาให้สามารถลดการสั่นไหวขณะถือกล้องได้ดีขึ้นแม้ใช้งานความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แต่ที่สำคัญที่สุดก็อย่าลืมสาเหตุหลักๆที่กล่าวมาแล้วด้วย เช่น บางคนอาจจะไปเที่ยวภูเก็ต นั่งอยู่บนเรือแต่พยายามถ่ายภาพ ก็อาจทำให้ภาพเบลอได้
6. ใช้ ISO สูงจนเกิด Noise รบกวน
ภาพไม่คม แต่อารมณ์ต้องได้ อาจจะเป็นคำที่ดี แต่หากภาพไม่คมเพราะความผิดพลาดของเราเองก็น่าเขกกะโหลกตัวเอง โดยเฉพาะบางคนลืมปรับค่า ISO แม้ถ่ายภาพตอนกลางวันแดดเปรี้ยงๆ ส่วนปัญหานี้มักเกิดจากการที่เราต้องการให้ภาพคมชัด ไม่สั่นไหวด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น นั่นคือเราก็จำเป็นต้องปรับรูรับแสงกว้างขึ้นหรือไม่ก็ไปปรับที่ ISO ให้สูงขึ้น ซึ่งหากปรับ ISO สูงขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือเรื่อง Noise หรือสัญญาณรบกวนดิจิตอลที่ปรากฏขึ้นในภาพ โดย Noise นอกจากจะเกิดจุดสีขึ้นในภาพแล้ว ยังทำให้ภาพไม่คมชัดหากเทียบกับการใช้ ISO ต่ำ ดังนั้นการใช้งาน ISO กล้องที่สูงขึ้นจึงมีโอกาสทำให้ภาพขาดความคมชัด คุณภาพไฟล์แย่ลงจนรายละเอียดของภาพหายไป ไม่คมชัดเท่าที่ต้องการ และเกิด Noise ขึ้นมารบกวนอีกด้วย
7. เลนส์คุณภาพต่ำ
เลนส์รุ่นใหม่ๆมักจะออกแบบมาให้สามารถถ่ายทอดแสงได้ดีซึ่งแน่นอนว่าภาพที่ได้ก็จะคมชัด สีสันสดใสไปด้วย แต่ก็มีเลนส์อีกหลายตัวทั้งเลนส์เก่าๆ หรือเลนส์ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้มีคุณภาพออพติคสูง มักจะทำให้ได้ภาพที่ไม่คมชัด เช่นเกิดอาการฟุ้งกระจายของแสง จนภาพดูฟุ้งขาดความคมชัด เมื่อเรานำเลนส์ที่มีคุณภาพต่ำมาใช้งานอย่างเช่นเลนส์สำหรับกล้องวงจรปิด ก็จะทำให้ภาพขาดความคมชัด แต่หลายๆคนมักนำเลนส์ดังกล่าวมาใช้งานเนื่องจากให้โทนภาพแตกต่างออกไปจากเลนส์รุ่นใหม่ๆ เลนส์บางตัวก็ให้โบเก้ที่แปลกตา ทั้งนี้หากคุณไม่ได้ต้องการโทนภาพที่ดูแปลกๆ เบลอๆ ไม่คมชัด ก็ไม่ควรเลือกเลนส์คุณภาพต่ำดังกล่าวมาใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นกล้องมือถือ กล้อง Mirrorless หรือกล้อง DSLR ล้วนแล้วแต่สามารถถ่ายภาพให้ออกมาได้คมชัด แต่น้าป๋วยเชื่อว่าหลายคนน่าจะเจอปัญหาเรื่องถ่ายภาพออกมาแล้วไม่คมชัดเท่าที่ควร สาเหตุอะไรถึงเป็นเช่นนั้น เดี๋ยวเรามาลองไล่เรียงกันดีกว่า จะได้แก้ปัญหาเรื่องถ่ายภาพแล้วได้ภาพเบลอ ภาพไม่คมกัน
1. โฟกัสผิดพลาด
ปัญหาแรกที่เป็นสาเหตุหลักของภาพถ่ายที่เบลอ ไม่คมชัดก็คือเรื่องโฟกัส เพราะแม้ว่าคุณใช้เลนส์ที่ออกแบบมาให้คมขนาดไหน แต่ถ้าโฟกัสไม่เข้าก็เปล่าประโยชน์ เพราะภาพที่ได้จะไม่มีวันคมชัดตามที่ต้องการ ซึ่งมักจะเกิดจากการโฟกัสผิดจุด หรือการเลือกจุดโฟกัสที่ไม่ถูกต้องทำให้กล้องไปโฟกัสที่ตำแหน่งอื่น ทำให้ได้ภาพที่เรียกว่า หลุดโฟกัส จะถ่ายคนให้ชัด กลับไปโฟกัสกิ่งไม้ด้านหลังแทนอะไรประมาณนั้น รวมไปถึงการเลือกระบบโฟกัสที่ไม่เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ เลือกจุดโฟกัสให้ถูกต้องว่าต้องการให้จุดใดชัด หรือใช้งานระบบออโต้โฟกัสให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น เลือกใช้ระบบ AF-C เพื่อให้กล้องโฟกัสต่อเนื่องติดตามวัตถุเพื่อถ่ายภาพกีฬา เป็นต้น
2. ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ภาพเบลอ ไม่คมชัดได้ง่าย และมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ นั่นคือความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไป ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย หรือปรับค่ากล้องผิด ทำให้เกิดภาพที่ดูมีการสั่นไหวปรากฏขึ้น จนวัตถุในภาพไม่คมชัด เบลอ มองไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน วิธีการแก้ไขปัญหาหลักๆเลยก็คือปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้นจนสามารถที่จะถือประคองให้ถ่ายภาพได้ หรืออาจจะต้องใช้งานขาตั้งกล้องหากจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในการถ่ายภาพ
3. วัตถุเคลื่อนไหวเร็ว
บางสถานการณ์ เราปรับค่าความเร็วชัตเตอร์เร็วพอที่จะถือกล้องถ่ายภาพให้นิ่งได้ แต่หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเกินกว่าที่ความเร็วชัตเตอร์จะหยุดภาพให้นิ่งได้ ก็จะทำให้เกิดภาพที่สั่นไหว ไม่คมชัดขึ้นได้ ดังนั้นการถ่ายภาพในสถานการณ์ที่ต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพจึงต้องมีการปรับตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น นอกเสียจากว่าคุณต้องการได้ภาพที่ให้อารมณ์ดูมี Movement
4. ใช้ระยะเทเลถ่ายภาพ
สาเหตุหนึ่งที่หลายคนไม่คาดคิดในการถ่ายภาพแล้วปรากฏว่าภาพที่ได้เบลอ ไม่คมชัดเมื่อขยายภาพดู นั่นคือการใช้เลนส์ระยะเทเล สาเหตุนี้เกิดจากเมื่อใช้งานเลนส์ระยะดังกล่าวซึ่งมีอัตราขยายสูง มีการดึงภาพเข้ามาใกล้ทำให้ โอกาสที่ภาพจะสั่นไหวนั้นเกิดขึ้นได้มากกว่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นกว่า แม้ว่าจะใช้งานความเร็วชัตเตอร์เดิมที่เคยใช้อยู่กับเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นกว่าแล้วภาพยังคมชัดก็ตาม ดังนั้นต้องอย่าลืมว่าหากใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงขึ้น โดยเฉพาะเลนส์เทเล จึงต้องปรับความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นด้วย โดยมีสูตรคร่าวๆว่าความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรต่ำกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้อยู่ เช่น หากซูมภาพไปที่ระยะ 200 mm ก็ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/200 วินาที เป็นต้น
5. ถือกล้องไม่นิ่ง
หากทุกอย่างได้รับการแก้ไขมาแล้ว แต่ภาพที่ได้ยังไม่คมชัด ยังเบลออยู่ อาจเกิดจากปัญหาถือกล้องไม่นิ่งพอ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำอย่างที่บอกไปแล้ว บางทีการจับถือกล้องที่ไม่สมดุลหรือกล้องมีน้ำหนักมากก็เป็นสาเหตุทำให้มือไม่นิ่งด้วยเช่นกัน การทำให้กล้องนิ่งที่สุดจึงต้องประคองกล้องให้มั่นคงในขณะกดชัตเตอร์ หรืออาจจะเปิดใช้งานระบบป้องกันภาพสั่นไหว ซึ่งกล้องรุ่นใหม่ๆนั้นออกแบบมาให้สามารถลดการสั่นไหวขณะถือกล้องได้ดีขึ้นแม้ใช้งานความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แต่ที่สำคัญที่สุดก็อย่าลืมสาเหตุหลักๆที่กล่าวมาแล้วด้วย เช่น บางคนอาจจะไปเที่ยวภูเก็ต นั่งอยู่บนเรือแต่พยายามถ่ายภาพ ก็อาจทำให้ภาพเบลอได้
6. ใช้ ISO สูงจนเกิด Noise รบกวน
ภาพไม่คม แต่อารมณ์ต้องได้ อาจจะเป็นคำที่ดี แต่หากภาพไม่คมเพราะความผิดพลาดของเราเองก็น่าเขกกะโหลกตัวเอง โดยเฉพาะบางคนลืมปรับค่า ISO แม้ถ่ายภาพตอนกลางวันแดดเปรี้ยงๆ ส่วนปัญหานี้มักเกิดจากการที่เราต้องการให้ภาพคมชัด ไม่สั่นไหวด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น นั่นคือเราก็จำเป็นต้องปรับรูรับแสงกว้างขึ้นหรือไม่ก็ไปปรับที่ ISO ให้สูงขึ้น ซึ่งหากปรับ ISO สูงขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือเรื่อง Noise หรือสัญญาณรบกวนดิจิตอลที่ปรากฏขึ้นในภาพ โดย Noise นอกจากจะเกิดจุดสีขึ้นในภาพแล้ว ยังทำให้ภาพไม่คมชัดหากเทียบกับการใช้ ISO ต่ำ ดังนั้นการใช้งาน ISO กล้องที่สูงขึ้นจึงมีโอกาสทำให้ภาพขาดความคมชัด คุณภาพไฟล์แย่ลงจนรายละเอียดของภาพหายไป ไม่คมชัดเท่าที่ต้องการ และเกิด Noise ขึ้นมารบกวนอีกด้วย
7. เลนส์คุณภาพต่ำ
เลนส์รุ่นใหม่ๆมักจะออกแบบมาให้สามารถถ่ายทอดแสงได้ดีซึ่งแน่นอนว่าภาพที่ได้ก็จะคมชัด สีสันสดใสไปด้วย แต่ก็มีเลนส์อีกหลายตัวทั้งเลนส์เก่าๆ หรือเลนส์ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้มีคุณภาพออพติคสูง มักจะทำให้ได้ภาพที่ไม่คมชัด เช่นเกิดอาการฟุ้งกระจายของแสง จนภาพดูฟุ้งขาดความคมชัด เมื่อเรานำเลนส์ที่มีคุณภาพต่ำมาใช้งานอย่างเช่นเลนส์สำหรับกล้องวงจรปิด ก็จะทำให้ภาพขาดความคมชัด แต่หลายๆคนมักนำเลนส์ดังกล่าวมาใช้งานเนื่องจากให้โทนภาพแตกต่างออกไปจากเลนส์รุ่นใหม่ๆ เลนส์บางตัวก็ให้โบเก้ที่แปลกตา ทั้งนี้หากคุณไม่ได้ต้องการโทนภาพที่ดูแปลกๆ เบลอๆ ไม่คมชัด ก็ไม่ควรเลือกเลนส์คุณภาพต่ำดังกล่าวมาใช้งาน
SURACHAI KALONG
More Posts
SURACHAI KALONG