Post Views:
648
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส
โรคชิคุนกุนยาพบครั้งแรกที่ประเทศแทนซาเนีย ในปี พ.ศ. 2495 ชื่อโรคนี้มาจากภาษาสวาฮิลี ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของทวีปแอฟริกา หมายถึง “เจ็บจนตัวงอ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพคนไข้ที่เจ็บปวดจากโรคนี้นั่นเอง
การติดต่อของโรค
โรคชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นติดโรคได้
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี ทำให้ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน
อาการของโรคชิคุนกุนยา
ถึงแม้ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ แต่ความรุนแรงของโรคแตกต่างออกไปในแต่ละบุคคล เมื่อเด็กถูกยุงลายที่มีเชื้อชิคุนกุนยากัด จะมีระยะฟักตัวของโรค 2-5 วัน และเมื่อครบระยะฟักตัว เด็กอาจมีอาการดังต่อไปนี้
ไข้ขึ้นสูงโดยเฉียบพลัน อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อาการไข้จะลดลงภายในเวลา 2-3 วัน
ปวดกล้ามเนื้อและปวดบวมตามข้อ มักมีอาการปวดหลายข้อพร้อมกัน
มีผื่นแดงเล็กๆตามตัวหรืออาจมีผื่นแดงเล็กๆตามแขนขาได้
เบื่ออาหาร
ปวดศีรษะ
คลื่นไส้และอาเจียน
ท้องเสีย
อ่อนล้าและปวดกระบอกตา
ตาแดง
ข้อติดขัด เจ็บปวดบริเวณข้อมือและข้อเท้า
อาการที่พบได้ไม่บ่อยนักของโรคชิคุนกุนยาคือ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตับ ไตและหัวใจ
ความแตกต่างระหว่างโรคชิคุนกุนยากับโรคไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออกและระยะเวลาของไข้สั้นกว่าประมาณ 2 วัน ในขณะที่ไข้เลือดออก ไข้จะลดลงในเวลาประมาณ 4 วัน และไวรัสชิคุนกุนยาไม่ทำให้พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่เกิดอาการช็อค นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถมีผื่นแดงเป็นปื้นและตาแดงได้บ่อยกว่าไข้เลือดออก รวมถึงพบอาการปวดตามตัว ตามข้อได้มากกว่า
การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา
การวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือ การเจาะเลือดผู้ป่วยส่งห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
โรคนี้มักจะหายเองและยังไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษา รวมถึงไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นวิธีการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ
พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำและพักผ่อนอยู่กับบ้าน
กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักและผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุเพื่อให้ฟื้นตัวจากโรคได้เร็วยิ่งขึ้น
เช็ดตัวเด็กด้วยน้ำสะอาดเป็นระยะเพื่อลดไข้
กินยาตามที่แพทย์สั่ง
การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
มารดาที่ตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค นอกจากนี้ผู้ปกครองสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาให้ห่างไกลจากเด็กได้ด้วยวิธีการดังนี้
เก็บบ้านให้สะอาด ป้องกันไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง
ระวังไม่ให้มีน้ำท่วมขัง เก็บเศษขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ควรให้เด็กเล็กนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุง
ให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเพื่อป้องกันยุงกัด
ใช้ยากันยุง แต่ควรระมัดระวังไม่ใช้กับเด็กเล็กจนเกินไปและใช้ให้ถูกวิธี
ถึงแม้โรคชิคุนกุนยามักจะไม่ร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต แต่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดรุนแรง ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
ที่มาของข้อมูล : https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2019/chikungunya
ชยธร วัฒนชาลี
Mr. Chayatorn Wattanachalee
Learning Centre
Information Technology Section,
Prince of Songkla University, Phuket Campus.
E-mail: chayatorn.w@phuket.psu.ac.th
Tel: 0-7627-6514
More Posts - Website
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส
โรคชิคุนกุนยาพบครั้งแรกที่ประเทศแทนซาเนีย ในปี พ.ศ. 2495 ชื่อโรคนี้มาจากภาษาสวาฮิลี ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของทวีปแอฟริกา หมายถึง “เจ็บจนตัวงอ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพคนไข้ที่เจ็บปวดจากโรคนี้นั่นเอง
การติดต่อของโรค
โรคชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นติดโรคได้
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี ทำให้ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน
อาการของโรคชิคุนกุนยา
ถึงแม้ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ แต่ความรุนแรงของโรคแตกต่างออกไปในแต่ละบุคคล เมื่อเด็กถูกยุงลายที่มีเชื้อชิคุนกุนยากัด จะมีระยะฟักตัวของโรค 2-5 วัน และเมื่อครบระยะฟักตัว เด็กอาจมีอาการดังต่อไปนี้
อาการที่พบได้ไม่บ่อยนักของโรคชิคุนกุนยาคือ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตับ ไตและหัวใจ
ความแตกต่างระหว่างโรคชิคุนกุนยากับโรคไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออกและระยะเวลาของไข้สั้นกว่าประมาณ 2 วัน ในขณะที่ไข้เลือดออก ไข้จะลดลงในเวลาประมาณ 4 วัน และไวรัสชิคุนกุนยาไม่ทำให้พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่เกิดอาการช็อค นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถมีผื่นแดงเป็นปื้นและตาแดงได้บ่อยกว่าไข้เลือดออก รวมถึงพบอาการปวดตามตัว ตามข้อได้มากกว่า
การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา
การวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือ การเจาะเลือดผู้ป่วยส่งห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
โรคนี้มักจะหายเองและยังไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษา รวมถึงไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นวิธีการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ
การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
มารดาที่ตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค นอกจากนี้ผู้ปกครองสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาให้ห่างไกลจากเด็กได้ด้วยวิธีการดังนี้
ถึงแม้โรคชิคุนกุนยามักจะไม่ร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต แต่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดรุนแรง ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
ที่มาของข้อมูล : https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2019/chikungunya
Chayatorn Wattanachalee
ชยธร วัฒนชาลี Mr. Chayatorn Wattanachalee Learning Centre Information Technology Section, Prince of Songkla University, Phuket Campus. E-mail: chayatorn.w@phuket.psu.ac.th Tel: 0-7627-6514
More Posts - Website
Chayatorn Wattanachalee
ชยธร วัฒนชาลี Mr. Chayatorn Wattanachalee Learning Centre Information Technology Section, Prince of Songkla University, Phuket Campus. E-mail: chayatorn.w@phuket.psu.ac.th Tel: 0-7627-6514