The SEO Framework เป็นปลั๊กอิน SEO สำหรับ WordPress คล้ายๆ กับ Yoast SEO แต่เน้นที่การใช้งานที่เบากว่า การตั้งค่าเรียบง่าย  แถมยังมีฟังชั่นการใช้งานที่เกี่ยวกับ Search Engine อย่าง Google มากกว่าอีกด้วย ไม่มีโฆษณาหรือแจ้งเตือนนั่นนี่เยอะแยะแบบ Yoast ปลั๊กอินตัวนี้ถูกออกแบบมาให้เบา แต่หากเราต้องการเสริมความสามารถอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ SEO ในบทความ ก็สามารถลงเป็น ​Extensions ได้ ซึ่ง Extensions เหล่านี้ยังฟรีอีกด้วย สามารถอ่านได้ที่ท้ายๆ บทความ

คุณสมบัติ

  • กำหนด Meta Title, Description ทั้งแบบอัตโนมัติจาก Title และ Excerpt และกำหนดเองได้ ทั้ง Google และ Social media อื่นๆ
  • Optimize Open Graph image
  • วิเคราะห์ SEO ในแต่ละหน้าได้ 3 keywords
  • Structured Data for Google Search, Google’s Knowledge Graph, Breadcrumb
  • ช่องกรอก Verify Google, Bing, Pinterest และ Yandex webmaster verification codes
  • สร้าง Sitemap ได้ และสร้าง Robot.txt ที่ทำงานร่วมกับ Sitemap และสามารถกำหนดสไตล์ให้กับ Sitemap ได้
  • Feed ตั้งค่าให้ใส่ลิงค์กลับมายังเว็บต้นทางได้
  • แจ้งเตือน Search engine เมื่อมีการอัพเดตเว็บ
  • กำหนด noydir, NoIndex, NoFollow, NoArhive สำหรับ Category, Tag, Author, Date, Search, Attachment
  • ตั้ง Custom Canonical URL
  • ทำ 301 Redirect ได้
  • Anti Spam
  • Support AMP
  • Support Custom Post Type
  • White label

ยังมีการทำงานและตั้งค่าอีกหลายอย่าง ดูเพิ่มเติมได้ที่ The SEO Frameworkการทำ SEO เบื้องต้นบน WordPress

การใช้งาน

เมื่อติดตั้งปลั๊กอินแล้ว เราจะสามารถกำหนด Title, Description ต่างๆ ได้ที่หน้าโพสนั้นๆ ผ่านกล่อง SEO Settings แบบด้านล่าง ซึ่งปกติแล้วระบบก็จะดึงจาก Title และ Excerpt ของโพสอัตโนมัติ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเขียนเอง จะมีการแสดงเป็นสภานะสีๆ ซึ่งเราสามารถชี้เม้าส์เพื่อดูได้ว่าหมายความว่าอย่างไร

สามารถตั้งค่าเฉพาะสำหรับ Social Media ก็ได้

นอกจากนี้ยังสามารถกำหนด Visibility เพื่อตั้งค่า Canonical URL, nofollow, noIndex, noarchive (noarchive คือการสั่งไม่ให้ Google cache หน้าเว็บของเรา)

หรือแม้แต่การ Redirect ของแต่ละโพสก็ทำได้ด้วย (ถ้าเป็น Yoast ตัวนี้จะมีเฉพาะในรุ่น Premium เท่านั้น)

รวมไปถึงหน้า Category ต่างๆ ก็สามารถกำหนด Title, Description ได้เช่นกัน

ปลั๊กอินยังแสดงข้อมูล SEO ของแต่ละโพสในหน้ารวมของ Posts ได้เช่นกัน

The SEO Framework Settings

หลังจากติดตั้งปลั๊กอินแล้วสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่เมนู SEO ซึ่งการตั้งค่า The SEO Framework นั้นมีเพียงการตั้งค่าพร้อมคำอธิบายง่ายๆ หน้าเดียวเท่านั้น แต่ก็อยู่ที่ความรู้เกี่ยวกับ SEO ของคนตั้งค่าเองด้วย ซึ่งบางอย่างเราอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเอง และขอออกตัวก่อนว่าเตยไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SEO อะไร จึงไม่อยากจะฟันธงว่าต้องตั้งค่าอย่างไร เพียงแต่อยากจะพาทัวร์ว่ามีการตั้งค่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง สำหรับคนที่สนใจอยากดูก่อนลองจริงๆ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องตั้งค่าตามนะคะ ถ้าใครมีคำแนะนำดีๆ ก็บอกได้ค่ะ

General

ตั้งค่าทั่วไป

คลิกเพื่อขยายนะคะ

Layout ตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงผลคะแนนต่างๆ ในโพส
Performance ตั้งค่าเกี่ยวกับการคิวรี่ข้อมูลและแคช
Canonical ตั้งค่า Canonical URL เพื่อป้องกันการ duplicate content
Timestamps ตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงเวลา Publish และ Modified

Title

ตั้งค่าเกี่ยวกับ Title

General ตั้งค่าทั่วไป มีตัวเลือกสำหรับ Separator ให้เลือก พร้อมตัวอย่างให้เห็นว่าเลือกตัวไหนเป็นอย่างไร
Additions กำหนดตำแหน่งระหว่าง Blogname กับ Title ว่าจะสลับขวาซ้ายยังไง หรือ ไม่ต้องใส่ Blogname ที่เป็นชื่อเว็บของเราใน Title ก็ได้
Prefix ลบ Category prefix ออกจาก Title เวลาที่เราดูหน้า Category archive

Description Meta

ตั้งค่าเกี่ยวกับการสร้าง Meta Discription

General ตั้งค่าเกี่ยวกับ Excerpt ใน Description โดยการใส่ Separator คั่นระหว่าง Title กับ Description
Additions ตั้งค่าเกี่ยวกับการใส่ Title ใน Description

Home Page

เป็นการตั้งค่าคล้ายๆ กับในส่วนของ Title แต่แยกเฉพาะออกมาสำหรับ Home page โดยเฉพาะ มีเพิ่มเข้ามาค่ะ Robot สามารถตั้งค่า noindex, nofollow และ noarchive สำหรับหน้า Home page ได้ และในแท็บ Soical สามารถกำหนดรูปภาพ Featured image สำหรับหน้า Home page ในกรณีที่เราใช้หน้า Home page แบบบล็อกที่ไม่มีให้กำหนด Featured image เวลาแชร์รูปไปยัง Social media

Social Meta

ตั้งค่าเกี่ยวกับ Open graph สำหรับ Social media ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการดึงเนื้อหาภาพและข้อความไปแสดงเมื่อมีการแชร์ โดยเน้นไปยัง Facebook และ Twitter

Schema

เป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงผลของ Schema markup หรือ Structured Data และเชื่อมต่อกับ Social profile

ตัวอย่างการแสดง Breadcrumb บน search result แทน URL โดยไม่จำเป็นต้องแสดง Breadcrumbในหน้าเว็บก็ได้

Robots Meta

การตั้งค่าเกี่ยวกับ Robot.txt ในการกำหนดว่าจะให้ noindex, nofollow, noarhive หน้าไหนบ้าง

Webmaster Meta

ใช้ตั้งค่าเกี่ยวกับการกรอก Verify code ของ Wembaster tools เจ้าต่างๆ

Sitemap

ตั้งค่าเกี่ยวกับ Sitemap ซึ่งเป็นหน้าที่สร้างอัตโนมัติเพื่อให้ Search engine มาเก็บข้อมูล สามารถตั้งค่าให้มีการ Ping ไปยัง Search Engine ได้ โดยหน้า sitemap สามารถดูได้ที่ domain.com/sitemap.xml

หน้า Sitemap.xml

Feed

ตั้งค่าเกี่ยวกับหน้า Feed ของ WordPress เช่น การกำหนดให้แสดงแบบ Excerpt และใส่ลิงค์กลับมายังบล็อกหลักเพื่อป้องกันการขโมยเนื้อหาผ่านทาง Feed

Extensions

แม้จะไม่มีการโฆษณาอย่างโจ่งแจ้งแบบ Yoast แต่จริงๆ แล้ว The SEO Framework ก็มี Extensions เช่นกัน เพียงแต่เขายึดหลักการที่จะไม่ทำรบกวนการใช้งานของยูสเซอร์ด้วยการโฆษณามากเกินไป ซึ่ง Extensions เหล่านี้ส่วนใหญ่จะฟรีค่ะ ตามที่เห็นในภาพ

The SEO Framework Extensions

โดยเราต้องลงปลั๊กอิน The SEO Framework – Extension ก่อน จากนั้นเลือกแบบ Go Free

อย่างที่บอกว่าส่วนใหญ่มันจะฟรี แต่เขาไม่ได้ใส่รวมมาด้วยกันแต่แรกเพราะเขาเน้นเรื่องความเบานั่นเอง เราก็สามารถที่จะ Activate เฉพาะตัวที่ต้องการใช้งานได้ คือดีมากๆ จริงๆ ในภาพเห็นแค่นั้นแต่มันเลื่อนลงไปมีข้างล่างอีกค่ะ อยากรู้ว่าตัวไหนเป็นยังไง ใช้งานยังไงเพิ่มเติม ก็คลิกอ่านที่ Overview ดูค่ะ

ซึ่งเมื่อเพิ่ม Extensions เข้าไปแล้วก็ยิ่งทำให้ปลั๊กอินนี้น่าใช้งานเข้าไปอีก

Extensions ที่แนะนำ

Focus

ที่ช่วยวิเคราะห์ On-Page SEO ของเรา คล้ายๆ กับ Yoast เลย นอกจากจะสามารถใส่ Keyword หลักได้แล้ว ยังสามารถใส่ Support keyword ได้อีก 2 ตัว รวมเป็น 3 ตัวเลย ส่วนตัวชอบดีไซน์ของปลั๊กอินนี้ เพราะรู้สึกว่าดูง่าย เข้าใจง่ายกว่า Yoast ซึ่งมันมีเวอร์ชั่นแบบพรีเมี่ยมด้วย

Article

ให้เราสามารถตั้งค่า Structure ของโพสแต่ละโพสได้ (Support AMP ด้วย) สามารถกำหนดให้เป็น Article, News หรือ Blog ได้

AMP

สำหรับคนที่ใช้ปลั๊กอิน  AMP for WordPress สำหรับสร้างเพจเวอร์ชั่น AMP (Accelerated Mobile Pages) ของ Google ซึ่งตัว Extension นี้ก็จะสร้าง Structure data เวอร์ชั่นสำหรับ ​AMP ให้ ซึ่งยังไงเราคิดว่า ​AMP ต้องมาแน่ๆ จากที่ดูงาน WordCamp Europe ที่ผ่านมา

Origin

สำหรับทำรีไดเร็ค Attachment page ของรูปภาพ ให้กลับไปยังโพสหลักของมัน

Honeypot

ตัวนี้ไว้ป้องกันสแปมคอมเม้นท์

Incognito

หรือ White label เป็นการลบข้อมูลของปลั๊กอิน The SEO Framework ออกจากหน้าเพจ ซึ่งปกติแล้วปลั๊กอินพวกนี้ เช่น Yoast SEO ก็จะใส่ข้อมูลมาในแต่ละหน้าว่าข้อมูลเหล่านี้สร้างด้วย Yoast นะ ซึ่งบางคนอาจจะไม่ชอบแต่ถ้าจะลบออกก็ไม่ได้ ก็ต้องหาปลั๊กอินมาลบออกแทน ซึ่ง The SEO Framework สามารถ Activate Incognito แล้วจะลบข้อมูลพวกนั้นไปเลย

Local

เป็นการสร้างโปรไฟล์สำหรับธุรกิจของเราให้แสดงในผลการค้นหาของ Google ตัวนี้เป็น Premium

Monitor

เป็นตัวที่คอยตรวจ SEO ของเว็บเรา รวมไปถึง Performance และ Uptime ด้วย โดยการเชื่อมต่อกับเซิฟเวอร์ของเขาเพื่อคอยเช็คต่างหาก

ข้อแตกต่างหลักๆ กับ Yoast SEO

จริงๆ แล้วก็มีข้อแตกต่างกันหลายอย่าง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ต่างกันมากๆ และ Yoast ได้เปรียบมากกว่า นั่นก็คือ การเชื่อมต่อกับบัญชี Search Console ของ ​Google ซึ่งส่วนตัวแล้วเราก็ไม่ค่อยได้เชื่อมต่อ ถ้าอยากเช็คส่วนใหญ่เราจะเข้าไปเช็คกับ Google เอง หรือถ้ามีอะไรร้ายแรง Google ก็จะส่งอีเมลมาบอก

THE SEO FRAMEWORK
บทสรุป
เป็นปลั๊กอิน SEO ที่ดีมากๆ อีกตัวสำหรับใครที่อยากหาตัวอื่นมาใช้แทน Yoast เพราะทั้งเบาและใช้งานได้ง่าย มีฟังชั่นต่างๆ มากมายครบครัน การตั้งค่าจบในหน้าเดียว ไม่ต้องคลิกหาหลายหน้าให้งง และไม่มีโฆษณาให้รำคาญอีกต่างหาก
Customizability
Feature Availability
Easy to use
Design
ข้อดี
มีความยืดหยุ่นในการตั้งค่าที่เกี่ยวข้องกับ Search Engine
ตั้งค่าง่าย ไม่ซับซ้อน มีอธิบายทุกขั้นตอนแบบเข้าใจง่าย
สามารถวิเคราะห์เนื้อหาและคีย์เวิร์ดได้
ไม่มีโฆษณาให้วุ่นวาย
เบาและเร็วดี
 
 
 
 
 
ที่มา:https://www.wpthaiuser.com/the-seo-framework-wordpress/
การจัดการ Tags และ Categories ใน word press
การแก้ไขภาพง่ายๆ ด้วย WordPress

Leave a Comment