Post Views:
165
วันที่ 1 มกราคมเป็นวันแห่งความสุขของใครหลายคน นอกจากจะได้หยุดพักผ่อน ได้เฉลิมฉลองกับครอบครัวและเพื่อนๆ แล้ว ยังเป็นวันที่หลายคนตั้งใจว่าจะเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิตด้วย
ต้นกำเนิดวันปีใหม่
มีเรื่องเล่ากันว่า จริงๆ แล้วในอดีต วันปีใหม่ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคม แต่เป็นวันที่ 1 มีนาคม ตามปฏิทินโบราณของชาวโรมัน โดยปฏิทินนี้จะมีแค่ 10 เดือน และเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนแรกของปี เพราะปฏิทินจะนับตามการโคจรของดวงจันทร์ โดยเริ่มจากฤดูใบไม้ผลิ จนถึงสิ้นฤดูใบไม้ร่วง
สำหรับการเฉลิมฉลองปีใหม่เริ่มขึ้นครั้งแรกในยุคเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณสองพันปีที่แล้วประมาณช่วงกลางเดือนมีนาคม เรียกว่า vernal equinox ต่อมาชาวอียิปต์ เปอร์เซีย และเฟนีเชียนเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของพวกเขาในช่วงเวลา fall equinox หลายคนคงจะไม่เช้าใจว่า Equinox คืออะไร เราสามารถให้คำจำกัดความของ Equinox ได้ว่า คือ ช่วงเวลาที่กลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงวันที่ 21 มีนาคมและ 23 กันยายน ส่วนชาวกรีกจะเฉลิมฉลองตาม winter solstice หรือวันที่มีกลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ซึ่งก็คือช่วง 22 ธ.ค. ถึง 5 ม.ค. นั่นเอง
มีตำนานเล่ากันว่าในยุคของ Numa Pompilius กษัตริย์องค์ที่ 2 ของโรมันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการแบ่งเดือนใหม่ โดยเพิ่มเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์เข้าไป หากชาวโรมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ และยังเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มีนาคมกันต่อไป
จนเมื่อถึงยุคสาธารณรัฐโรมัน ก็เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 ม.ค. เป็นครั้งแรกโดยจูเลียส ซีซาร์เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตศักราช เพราะเดือนมกราคมนี้ตั้งชื่อตามชื่อเทพเจ้าจานุส (Janus) เทพกรีกที่คนโรมันนับถือบูชา พระองค์จึงต้องการให้เดือนนี้เป็นการเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่
ความเชื่อเกี่ยวกับเทศกาลปีใหม่ตามประเทศต่างๆ
เริ่มต้นด้วยประเทศในแถบยุโรปอย่างประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษจะมีความเชื่อว่า ผู้ชายคนแรกที่มาเยือนที่บ้านหลังจากเที่ยงคืนแล้วจะนำความโชคดีมาให้ โดยปกติแล้วชาวอังกฤษมักจะให้ของขวัญอย่างเช่น เงิน ขนมปังหรือก้อนถ่าน เพื่อเป็นการอวยพรให้ครอบครัวนั้นมีสิ่งของเหล่านั้นอย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ผู้ที่มาคนแรกนั้นจะต้องไม่ใช่คนผมบลอนด์ ผมสีแดง หรือเป็นผู้หญิง เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้จะนำความโชคร้ายมาให้
ส่วนที่ประเทศเดนมาร์ก เชื่อกันว่า ถ้าบ้านไหนมีเศษจานแตกกองสุมอยู่หน้าประตูบ้านเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าบ้านนั้นมีเพื่อนฝูงคบหาสมาคมมากมาย เพราะชาวเดนิชจะเก็บสะสมจานไว้ตลอดปี แล้วจะนำไปขว้างที่หน้าบ้านเพื่อนของพวกเขาในวันก่อนปีใหม่
มาต่อกันที่ประเทศในแถบอเมริกาใต้อย่างบราซิล ชาวบราซิลเชื่อว่า ซุปถั่วแขก (Lensil Soup) จะเป็นเครื่องแสดงความมั่งคั่ง ดังนั้นในวันแรกของปี ชาวบราซิลจะทำซุปถั่วแขกทานกัน หรือว่าจะทานถั่วแขกกับข้าว
ข้ามมาที่ประเทศในทวีปเอเชียกันบ้าง ที่ประเทศศรีลังกา จะเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในวันที่ 13 หรือ 14 เมษายนตามปฏิทินของฮินดู ผู้คนที่นั่นจะทำความสะอาดบ้านช่องในช่วงก่อนถึงวันปีใหม่ บางบ้านอาจจะทาสีบ้านใหม่ หรือเตรียมทำของหวานหลายชนิดเพื่อรับประทานในวันปีใหม่ เพราะชาวศรีลังกาจะไม่ทำอาหารหรือจุดไฟในคืนก่อนวันปีใหม่ และพวกเขาจะทานข้าว pongal เป็นมื้อแรกของวันปีใหม่ ซึ่งเป็นอาหารที่ทำจากข้าว ผสมน้ำตาล และมะพร้าว มีรสชาติหวาน
สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่น วันปีใหม่จะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของครอบครัว ร้านรวงต่างๆ รวมไปถึงสำนักงานและโรงงานจะปิดทำการในวันนั้น ผู้คนมักจะไปไหว้พระขอพรตามวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็กๆ หรือวัยรุ่น ตามวัดต่างๆ เมื่อย่างเข้าวันปีใหม่ จะเริ่มตีระฆัง 108 ครั้ง เพื่อปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายทั้งหมด 108 อย่างจากปีก่อนให้หมดไป ซึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โจยะโนะคาเนะ และเมื่อเริ่มปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการหัวเราะจะเป็นการทำให้พวกเขาโชคดีในปีใหม่อีกด้วย
วันที่ 1 มกราคมเป็นวันแห่งความสุขของใครหลายคน นอกจากจะได้หยุดพักผ่อน ได้เฉลิมฉลองกับครอบครัวและเพื่อนๆ แล้ว ยังเป็นวันที่หลายคนตั้งใจว่าจะเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิตด้วย
ต้นกำเนิดวันปีใหม่
มีเรื่องเล่ากันว่า จริงๆ แล้วในอดีต วันปีใหม่ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคม แต่เป็นวันที่ 1 มีนาคม ตามปฏิทินโบราณของชาวโรมัน โดยปฏิทินนี้จะมีแค่ 10 เดือน และเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนแรกของปี เพราะปฏิทินจะนับตามการโคจรของดวงจันทร์ โดยเริ่มจากฤดูใบไม้ผลิ จนถึงสิ้นฤดูใบไม้ร่วง
สำหรับการเฉลิมฉลองปีใหม่เริ่มขึ้นครั้งแรกในยุคเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณสองพันปีที่แล้วประมาณช่วงกลางเดือนมีนาคม เรียกว่า vernal equinox ต่อมาชาวอียิปต์ เปอร์เซีย และเฟนีเชียนเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของพวกเขาในช่วงเวลา fall equinox หลายคนคงจะไม่เช้าใจว่า Equinox คืออะไร เราสามารถให้คำจำกัดความของ Equinox ได้ว่า คือ ช่วงเวลาที่กลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงวันที่ 21 มีนาคมและ 23 กันยายน ส่วนชาวกรีกจะเฉลิมฉลองตาม winter solstice หรือวันที่มีกลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ซึ่งก็คือช่วง 22 ธ.ค. ถึง 5 ม.ค. นั่นเอง
มีตำนานเล่ากันว่าในยุคของ Numa Pompilius กษัตริย์องค์ที่ 2 ของโรมันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการแบ่งเดือนใหม่ โดยเพิ่มเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์เข้าไป หากชาวโรมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ และยังเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มีนาคมกันต่อไป
จนเมื่อถึงยุคสาธารณรัฐโรมัน ก็เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 ม.ค. เป็นครั้งแรกโดยจูเลียส ซีซาร์เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตศักราช เพราะเดือนมกราคมนี้ตั้งชื่อตามชื่อเทพเจ้าจานุส (Janus) เทพกรีกที่คนโรมันนับถือบูชา พระองค์จึงต้องการให้เดือนนี้เป็นการเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่
ความเชื่อเกี่ยวกับเทศกาลปีใหม่ตามประเทศต่างๆ
เริ่มต้นด้วยประเทศในแถบยุโรปอย่างประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษจะมีความเชื่อว่า ผู้ชายคนแรกที่มาเยือนที่บ้านหลังจากเที่ยงคืนแล้วจะนำความโชคดีมาให้ โดยปกติแล้วชาวอังกฤษมักจะให้ของขวัญอย่างเช่น เงิน ขนมปังหรือก้อนถ่าน เพื่อเป็นการอวยพรให้ครอบครัวนั้นมีสิ่งของเหล่านั้นอย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ผู้ที่มาคนแรกนั้นจะต้องไม่ใช่คนผมบลอนด์ ผมสีแดง หรือเป็นผู้หญิง เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้จะนำความโชคร้ายมาให้
ส่วนที่ประเทศเดนมาร์ก เชื่อกันว่า ถ้าบ้านไหนมีเศษจานแตกกองสุมอยู่หน้าประตูบ้านเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าบ้านนั้นมีเพื่อนฝูงคบหาสมาคมมากมาย เพราะชาวเดนิชจะเก็บสะสมจานไว้ตลอดปี แล้วจะนำไปขว้างที่หน้าบ้านเพื่อนของพวกเขาในวันก่อนปีใหม่
มาต่อกันที่ประเทศในแถบอเมริกาใต้อย่างบราซิล ชาวบราซิลเชื่อว่า ซุปถั่วแขก (Lensil Soup) จะเป็นเครื่องแสดงความมั่งคั่ง ดังนั้นในวันแรกของปี ชาวบราซิลจะทำซุปถั่วแขกทานกัน หรือว่าจะทานถั่วแขกกับข้าว
ข้ามมาที่ประเทศในทวีปเอเชียกันบ้าง ที่ประเทศศรีลังกา จะเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในวันที่ 13 หรือ 14 เมษายนตามปฏิทินของฮินดู ผู้คนที่นั่นจะทำความสะอาดบ้านช่องในช่วงก่อนถึงวันปีใหม่ บางบ้านอาจจะทาสีบ้านใหม่ หรือเตรียมทำของหวานหลายชนิดเพื่อรับประทานในวันปีใหม่ เพราะชาวศรีลังกาจะไม่ทำอาหารหรือจุดไฟในคืนก่อนวันปีใหม่ และพวกเขาจะทานข้าว pongal เป็นมื้อแรกของวันปีใหม่ ซึ่งเป็นอาหารที่ทำจากข้าว ผสมน้ำตาล และมะพร้าว มีรสชาติหวาน
สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่น วันปีใหม่จะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของครอบครัว ร้านรวงต่างๆ รวมไปถึงสำนักงานและโรงงานจะปิดทำการในวันนั้น ผู้คนมักจะไปไหว้พระขอพรตามวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็กๆ หรือวัยรุ่น ตามวัดต่างๆ เมื่อย่างเข้าวันปีใหม่ จะเริ่มตีระฆัง 108 ครั้ง เพื่อปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายทั้งหมด 108 อย่างจากปีก่อนให้หมดไป ซึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โจยะโนะคาเนะ และเมื่อเริ่มปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการหัวเราะจะเป็นการทำให้พวกเขาโชคดีในปีใหม่อีกด้วย
จอมเวทย์ หลังเลิกงาน
More Posts
จอมเวทย์ หลังเลิกงาน