Post Views:
264
5 เทรนด์สำคัญด้านการศึกษา เมื่อโลกพัฒนา เราก็ต้องปรับตาม
คุณอยากเห็นอนาคตการศึกษาไทยเป็นไปในทิศทางไหน?
เมื่อเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ กำลังก้าวหน้าไปเรื่อยๆ และสิ่งเหล่านั้นได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต วิธีคิด รวมทั้งการเรียนรู้ของมนุษย์เราในทุกส่วน โดยเฉพาะในด้าน “การศึกษา” ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่สังคมต้องเตรียมรับมือ และถ่ายทอดไปสู่เยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้
หากเราอยากเห็นเยาวชนในชาติ พัฒนาทักษะและสามารถรับมือกับโลกอนาคตได้ การเรียนการสอนและการออกแบบห้องเรียนในรูปแบบเดิม จึงไม่สามารถใช้ได้ผลอีกต่อไป เพราะเมื่อโลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทักษะ องค์ความรู้ และวิธีคิดแบบเดิมที่เคยมีในหลักสูตรย่อมไม่เพียงพอ และห้องเรียนสี่เหลี่ยม มีครูมาอ่านหนังสือให้เด็กๆ นั่งฟังฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่รูปแบบการศึกษาที่เข้ากับศตวรรษใหม่อีกต่อไป
บทความนี้เราจึงขอแนะนำ 5 เทรนด์สำคัญด้านการศึกษา (Key Trends in Education) ซึงเป็นข้อมูลที่รวบรวมจากหน่วยงานด้านการศึกษาสำคัญของโลก นักคิด นักการศึกษา และรายงานขององค์กรเพื่อพัฒนาการศึกษาชั้นนำ เพื่อตอบคำถามว่า เราจะทำให้การศึกษาในอนาคตเป็นไปในทิศทางไหน?
1 Coding as a literacy : ความเข้าใจเรื่องระบบและการเขียนโค้ด
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล หุ่นยนต์และ AI จะมาเป็นส่วนสำคัญของโลก ดังนั้น ภาษาที่สำคัญ จึงไม่ใช่แค่ภาษาที่มนุษย์เราใช้สื่อสารกันเท่านั้น แต่ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารและจัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยในต่างประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจในการบรรจุวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรีอ Coding เข้าไปในหลักสูตรการศึกษาแก่เยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพราะยุคนี้ การพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟแวร์ต่างๆ มีความสำคัญต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจทั้งโลก
ดังนั้น ความเข้าใจเรื่อง Code จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาษา และเป็นทักษะที่ไม่อยู่แค่ในภาควิชาคอมพิวเตอร์ แต่เป็นทักษะสำหรับทุกคน โดย Tim Cook ซีอีโอของแอปเปิลให้สัมภาษณ์ถึงภาษาโปรแกรมมิ่งไว้ว่า “เพราะภาษาโปรแกรมมิ่ง เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับคน 7 พันล้านคนทั่วโลก ถ้าผมเป็นเด็กฝรั่งเศสอายุ 10 ขวบ จะให้ความสำคัญในการเรียนภาษาโปรแกรมมิ่งมากกว่าภาษาอังกฤษ” ดังน้ัน เรามาสอนให้เด็กๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องโค้ดกันไว้ตั้งแต่ตอนนี้เถอะ
2 Supporting students as creators : สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นนักคิดสร้างสรรค์
จากที่ระบบการศึกษาในบ้านเราที่วางให้ผู้เรียนหรือนักเรียนเป็นแค่ฝ่ายรับ คอยเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากครูเพียงฝั่งเดียว แต่สำหรับโลกยุคใหม่ ผู้เรียน จะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับ (passive) มาเป็นผู้สร้าง (active) ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่เปิดกว้างและให้โอกาสทุกคนสามารถแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ และสร้างผลงานของตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในมือ โดยปราศจากข้อจำกัด และการปิดกั้นทางความคิดจากกรอบการเรียนแบบเดิม
ในยุคปัจจุบัน ความคิดสร้างสรรค์คือขุมทรัพย์สำคัญที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นอาชีพใหม่ๆ ได้ไม่แพ้อาชีพเดิมที่หลักสูตรกำหนดมา พร้อมกันนั้นเอง ทั้งครูผู้สอนและครอบครัวคนรอบข้างก็ต้องรับฟังความต้องการ ไม่ละเลยความชอบ ความสนใจ และความคิดสร้างสรรค์ที่เด็กๆ พยายามจะแสดงออก หากเรืองไหนสามารถสนับสนุนต่อยอดให้อนาคตเด็กๆ ได้ ก็อย่ารีรอให้กรอบการศึกษาแบบเดิมๆ มาจำกัดความสุขและความสำเร็จที่รออยู่
3 Collaborative Learning : ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน
บ่อยครั้งที่เราให้ความสำคัญไปที่ความสำเร็จส่วนบุคคล ชื่นชมความเก่งและอัจฉริยะของเด็กคนใดคนหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว โลกของความสำเร็จ การทำงาน และการแก้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นได้จากการร่วมมือกันตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ในแต่ละส่วนงาน ซึ่งเห็นได้ชัดจากคุณสมบัติสำคัญที่บริษัทแทบทุกแห่งได้กำหนดไว้ใน ทักษะสำคัญในการรับเข้าทำงาน คือ สามารถทำงานเป็นทีมและร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ นักวิชาการด้านปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไว้ว่า โรงเรียนของไทยมีลักษณะที่เป็นแบบแผน มีครูมายืนหน้าชั้นและพูดให้เด็กฟังฝ่ายเดียว ห้องเรียนในโลกสมัยใหม่ควรถูกออกแบบใหม่ไปสู่ห้องเรียนที่ยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้เด็กๆ จับกลุ่ม เปลี่ยนกลุ่ม ล้อมวงเพื่อปรับรูปแบบการเรียนรู้จากกันและกันได้อย่างอิสระ เป็นห้องเรียนที่ทันสมัยทั้งในด้านความคิดและพร้อมด้วยอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่างๆ และต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักแนวคิดของการอยู่ร่วมกัน ให้ทุกคนสามารถสื่อสาร เชื่อมโยง แบ่งปัน และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ร่วมกันได้อย่างราบรื่น
4 Individualized Learning : เด็กแต่ละคนต้องการรูปแบบการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง
เพราะการศึกษา คือการสร้างมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ไม่ใช่สร้างหุ่นยนต์ เด็กแต่ละคนล้วนมีลักษณะพิเศษและมีความสามารถเฉพาะตัวแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอาชีพ การประดิษฐ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งปัญหาของการเรียนรู้แบบเดิมๆ คือการที่ระบบตั้งมาตรฐานแบบเดียวขึ้นมาและใช้กับเด็กทุกคน เช่น การให้เกรด การคัดคนจากผลสอบไม่กี่วิชา ซึ่งผลสุดท้ายก็จะได้แต่นักเรียนที่มีทักษะความสามารถเหมือนกันแทบทั้งหมด
โดยนักการศึกษาสมัยใหม่ต่างให้ความเห็นว่า ความแตกต่างของเด็กๆ ต้องการรูปแบบการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อพัฒนาจุดแข็งหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคน ไม่ใช่การเหมารวมแบบที่เป็นมา นอกจากนั้น การศึกษาควรจะเน้นพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skill) หรือทักษะที่จะทำให้มนุษย์แตกต่างจากเครื่องจักร เช่น การใช้ภาษา การติดต่อสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ความเป็นมิตร การมองโลกในแง่ดี บุคลิกและการแสดงออกทางสังคม ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นทักษะสำคัญที่โลกแห่งการทำงานกำลังต้องการ
5 Family and Community Involvement : การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
เพราะครอบครัวและสภาพแวดล้อมรอบข้าง ล้วนมีผลกับการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยตรง การอบรมและให้การศึกษาไม่ได้เป็นภาระของโรงเรียนหรือครูอาจารย์เท่านั้น แต่ทั้งครอบครัวและชุมชนรอบข้างของเด็กๆ เอง จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กๆ ให้รอบด้าน
โดยครอบครัวสามารถจัดสรรพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้ง่ายๆ ด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มี อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ไปพร้อมๆ กับการให้คำแนะนำ และคอยสังเกตุว่าเด็กๆ ต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการการสนับสนุนในเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
5 เทรนด์สำคัญด้านการศึกษา เมื่อโลกพัฒนา เราก็ต้องปรับตาม
เมื่อเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ กำลังก้าวหน้าไปเรื่อยๆ และสิ่งเหล่านั้นได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต วิธีคิด รวมทั้งการเรียนรู้ของมนุษย์เราในทุกส่วน โดยเฉพาะในด้าน “การศึกษา” ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่สังคมต้องเตรียมรับมือ และถ่ายทอดไปสู่เยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้
หากเราอยากเห็นเยาวชนในชาติ พัฒนาทักษะและสามารถรับมือกับโลกอนาคตได้ การเรียนการสอนและการออกแบบห้องเรียนในรูปแบบเดิม จึงไม่สามารถใช้ได้ผลอีกต่อไป เพราะเมื่อโลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทักษะ องค์ความรู้ และวิธีคิดแบบเดิมที่เคยมีในหลักสูตรย่อมไม่เพียงพอ และห้องเรียนสี่เหลี่ยม มีครูมาอ่านหนังสือให้เด็กๆ นั่งฟังฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่รูปแบบการศึกษาที่เข้ากับศตวรรษใหม่อีกต่อไป
บทความนี้เราจึงขอแนะนำ 5 เทรนด์สำคัญด้านการศึกษา (Key Trends in Education) ซึงเป็นข้อมูลที่รวบรวมจากหน่วยงานด้านการศึกษาสำคัญของโลก นักคิด นักการศึกษา และรายงานขององค์กรเพื่อพัฒนาการศึกษาชั้นนำ เพื่อตอบคำถามว่า เราจะทำให้การศึกษาในอนาคตเป็นไปในทิศทางไหน?
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล หุ่นยนต์และ AI จะมาเป็นส่วนสำคัญของโลก ดังนั้น ภาษาที่สำคัญ จึงไม่ใช่แค่ภาษาที่มนุษย์เราใช้สื่อสารกันเท่านั้น แต่ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารและจัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยในต่างประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจในการบรรจุวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรีอ Coding เข้าไปในหลักสูตรการศึกษาแก่เยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพราะยุคนี้ การพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟแวร์ต่างๆ มีความสำคัญต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจทั้งโลก
ดังนั้น ความเข้าใจเรื่อง Code จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาษา และเป็นทักษะที่ไม่อยู่แค่ในภาควิชาคอมพิวเตอร์ แต่เป็นทักษะสำหรับทุกคน โดย Tim Cook ซีอีโอของแอปเปิลให้สัมภาษณ์ถึงภาษาโปรแกรมมิ่งไว้ว่า “เพราะภาษาโปรแกรมมิ่ง เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับคน 7 พันล้านคนทั่วโลก ถ้าผมเป็นเด็กฝรั่งเศสอายุ 10 ขวบ จะให้ความสำคัญในการเรียนภาษาโปรแกรมมิ่งมากกว่าภาษาอังกฤษ” ดังน้ัน เรามาสอนให้เด็กๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องโค้ดกันไว้ตั้งแต่ตอนนี้เถอะ
2 Supporting students as creators : สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นนักคิดสร้างสรรค์
จากที่ระบบการศึกษาในบ้านเราที่วางให้ผู้เรียนหรือนักเรียนเป็นแค่ฝ่ายรับ คอยเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากครูเพียงฝั่งเดียว แต่สำหรับโลกยุคใหม่ ผู้เรียน จะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับ (passive) มาเป็นผู้สร้าง (active) ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่เปิดกว้างและให้โอกาสทุกคนสามารถแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ และสร้างผลงานของตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในมือ โดยปราศจากข้อจำกัด และการปิดกั้นทางความคิดจากกรอบการเรียนแบบเดิม
ในยุคปัจจุบัน ความคิดสร้างสรรค์คือขุมทรัพย์สำคัญที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นอาชีพใหม่ๆ ได้ไม่แพ้อาชีพเดิมที่หลักสูตรกำหนดมา พร้อมกันนั้นเอง ทั้งครูผู้สอนและครอบครัวคนรอบข้างก็ต้องรับฟังความต้องการ ไม่ละเลยความชอบ ความสนใจ และความคิดสร้างสรรค์ที่เด็กๆ พยายามจะแสดงออก หากเรืองไหนสามารถสนับสนุนต่อยอดให้อนาคตเด็กๆ ได้ ก็อย่ารีรอให้กรอบการศึกษาแบบเดิมๆ มาจำกัดความสุขและความสำเร็จที่รออยู่
บ่อยครั้งที่เราให้ความสำคัญไปที่ความสำเร็จส่วนบุคคล ชื่นชมความเก่งและอัจฉริยะของเด็กคนใดคนหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว โลกของความสำเร็จ การทำงาน และการแก้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นได้จากการร่วมมือกันตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ในแต่ละส่วนงาน ซึ่งเห็นได้ชัดจากคุณสมบัติสำคัญที่บริษัทแทบทุกแห่งได้กำหนดไว้ใน ทักษะสำคัญในการรับเข้าทำงาน คือ สามารถทำงานเป็นทีมและร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ นักวิชาการด้านปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไว้ว่า โรงเรียนของไทยมีลักษณะที่เป็นแบบแผน มีครูมายืนหน้าชั้นและพูดให้เด็กฟังฝ่ายเดียว ห้องเรียนในโลกสมัยใหม่ควรถูกออกแบบใหม่ไปสู่ห้องเรียนที่ยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้เด็กๆ จับกลุ่ม เปลี่ยนกลุ่ม ล้อมวงเพื่อปรับรูปแบบการเรียนรู้จากกันและกันได้อย่างอิสระ เป็นห้องเรียนที่ทันสมัยทั้งในด้านความคิดและพร้อมด้วยอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่างๆ และต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักแนวคิดของการอยู่ร่วมกัน ให้ทุกคนสามารถสื่อสาร เชื่อมโยง แบ่งปัน และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ร่วมกันได้อย่างราบรื่น
4 Individualized Learning : เด็กแต่ละคนต้องการรูปแบบการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง
เพราะการศึกษา คือการสร้างมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ไม่ใช่สร้างหุ่นยนต์ เด็กแต่ละคนล้วนมีลักษณะพิเศษและมีความสามารถเฉพาะตัวแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอาชีพ การประดิษฐ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งปัญหาของการเรียนรู้แบบเดิมๆ คือการที่ระบบตั้งมาตรฐานแบบเดียวขึ้นมาและใช้กับเด็กทุกคน เช่น การให้เกรด การคัดคนจากผลสอบไม่กี่วิชา ซึ่งผลสุดท้ายก็จะได้แต่นักเรียนที่มีทักษะความสามารถเหมือนกันแทบทั้งหมด
โดยนักการศึกษาสมัยใหม่ต่างให้ความเห็นว่า ความแตกต่างของเด็กๆ ต้องการรูปแบบการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อพัฒนาจุดแข็งหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคน ไม่ใช่การเหมารวมแบบที่เป็นมา นอกจากนั้น การศึกษาควรจะเน้นพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skill) หรือทักษะที่จะทำให้มนุษย์แตกต่างจากเครื่องจักร เช่น การใช้ภาษา การติดต่อสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ความเป็นมิตร การมองโลกในแง่ดี บุคลิกและการแสดงออกทางสังคม ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นทักษะสำคัญที่โลกแห่งการทำงานกำลังต้องการ
5 Family and Community Involvement : การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
เพราะครอบครัวและสภาพแวดล้อมรอบข้าง ล้วนมีผลกับการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยตรง การอบรมและให้การศึกษาไม่ได้เป็นภาระของโรงเรียนหรือครูอาจารย์เท่านั้น แต่ทั้งครอบครัวและชุมชนรอบข้างของเด็กๆ เอง จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กๆ ให้รอบด้าน
โดยครอบครัวสามารถจัดสรรพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้ง่ายๆ ด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มี อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ไปพร้อมๆ กับการให้คำแนะนำ และคอยสังเกตุว่าเด็กๆ ต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการการสนับสนุนในเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
www.educationandcareernews.com
thematter.co
www.tcdc.or.th
medium.com
จอมเวทย์ หลังเลิกงาน
More Posts
จอมเวทย์ หลังเลิกงาน