Post Views:
257
เมื่อ2-3วันก่อน ได้มีโอกาสไปแนะนำฐานข้อมูลในการค้นหางานวิจัย วิทยานิพนธ์ให้กับนักศึกษาปริญญาโทสาขาหนึ่ง แล้วมีคำถามในห้องเรียนว่า ฐานข้อมูล”Science Direct คือฐานข้อมูลอะไร” และฐานข้อมูลงานวิทยานิพนธ์ วิจัยของมอ.เองมีไหม แล้วการใช้งานฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยใช้งานเฉพาะในมหาวิทยาลัยเท่านั้นหรือไม่ สามารถพริ้นหรือCopy มาใส่ในงานได้ไหม
สำหรับฐานข้อมูล Online ของห้องสมุดประกอบไปด้วย 1)ฐานข้อมูลบอกรับ โดย สกอ. 2)ฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3)ฐานข้อมูลทดลองใช้ 4)วารสารออนไลน์ 5)Free eBook วันนี้ก็เลยอยากจะแนะนำฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ ประมาณ 24 ฐานข้อมูล แต่ถ้าทั้งหมดก็เกรงว่าผู้อ่านจะอ่านแล้วง่วง เอาแค่ตัวเด่น ๆ ที่นิยมกันใช้มากที่สุด 3-4 ฐานข้อมูลก่อนแล้ว ค่อยมาต่อภาค 2 กันอีก มาเริ่มตั้งที่ฐานข้อมูลที่บอกรับโดยสกอ.จะประกอบด้วย
1.ฐานข้อมูลScience Direct
Science Direct (ไซแอนซ์ ไดเร็ค) เป็นฐานข้อมูลของบริษัท Elsevierเว็บไซต์ถูกเปิดตัวในเดือนมีนาคม ปี 2540เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเข้าถึงของวารสารวิชาการเกือบ 2,500 วารสาร และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 26,000 เล่มด้วยกัน ประกอบด้วย หนังสือและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ วิทยาศาสาตร์การแพทย์ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี ค. ศ.1995 – ปัจจุบัน โดยปกติแล้วบทความส่วนใหญ่จะมีบทคัดย่อที่เข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และต้องสมัครสมาชิกหรือจ่ายแบบPay-per-view สำหรับการบอกรับเป็นภาคีภายใต้สัญญาของสกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ใช้วารสารได้ประมาณ 1,800 ชื่อ และใช้ Full Text ย้อนหลังได้ถึงปี 1995 โดยมีเงื่อนไขว่าทั้ง 24 มหาวิทยาลัยต้องคงมูลค่าการบอกรับฉบับพิมพ์ (ราคาปัจจุบัน) ที่ตนเองบอกรับ ซึ่งปรากฏในสัญญาบอกรับ ScienceDirect ที่ สกอ. เซ็นต์สัญญาในการบอกรับตั้งแต่ปี 2003
2.ฐานข้อมูล Hospitality & Tourism Complete
ฐานข้อมูลออนไลน์บทความวารสารนานาชาติทางด้านอุตสาหกรรมบริการ การท่องเที่ยวและโรงแรม มีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี ค.ศ.1965-ปัจจุบัน มีเอกสารฉบับเต็มรูปแบบ (Full Text) มากกว่า 828,000 รายชื่อ ประกอบด้วยวารสาร รายงานบริษัทประกาศ หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จากสำนักพิมพ์กว่า 490 แห่ง เช่น Asia Pacific Journal of Tourism Research, Current Issues in Tourism, International Journal of Tourism Research etc.
3. ACM : Association for Computing Machinery
เป็นฐานข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว และเอกสารในการประชุมวิชาการ ที่จัดท าโดย ACM (Association for Computing Machinery) ซึ่งเนื้อหาเอกสารประกอบด้วยข้อมูลที่ส าคัญ เช่น รายการบรรณานุกรมสาระสังเขป article reviews และบทความฉบับเต็ม ให้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี1985-ปัจจุบัน
4. ProQuest Dissertation & Theses Global
เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ฉบับเต็ม (Full-text) ของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเซีย และแอฟริกา มากกว่า 1000 แห่ง ประกอบไปด้วยเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและปริญญาโทตั้งแต่ปี 1997 ถึงปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 1.1 ล้านรายการ และสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านรายการ
สำหรับการเข้าถึงฐานข้อมูล
บุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้บริการได้เมื่อใช้อินเตอร์เน็ตในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ถ้ามีความประสงค์ที่จะเข้าใช้จากภายนอกเครือข่ายของมหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องเชื่อมต่อผ่าน VPN เสียก่อนถึงจะมีสิทธิ์ใช้งานได้
เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าฐานข้อมูลแต่ละฐานมีทั้งงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความที่มากมาย เพราะฉะนั้นแล้วมาใช้งานฐานข้อมูลกันเถอะคะ สำหรับรอบนี้ก็เท่านี้ก่อนนะคะ ไว้ต่อรอบหน้าคะ
เมื่อ2-3วันก่อน ได้มีโอกาสไปแนะนำฐานข้อมูลในการค้นหางานวิจัย วิทยานิพนธ์ให้กับนักศึกษาปริญญาโทสาขาหนึ่ง แล้วมีคำถามในห้องเรียนว่า ฐานข้อมูล”Science Direct คือฐานข้อมูลอะไร” และฐานข้อมูลงานวิทยานิพนธ์ วิจัยของมอ.เองมีไหม แล้วการใช้งานฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยใช้งานเฉพาะในมหาวิทยาลัยเท่านั้นหรือไม่ สามารถพริ้นหรือCopy มาใส่ในงานได้ไหม
สำหรับฐานข้อมูล Online ของห้องสมุดประกอบไปด้วย 1)ฐานข้อมูลบอกรับ โดย สกอ. 2)ฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3)ฐานข้อมูลทดลองใช้ 4)วารสารออนไลน์ 5)Free eBook วันนี้ก็เลยอยากจะแนะนำฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ ประมาณ 24 ฐานข้อมูล แต่ถ้าทั้งหมดก็เกรงว่าผู้อ่านจะอ่านแล้วง่วง เอาแค่ตัวเด่น ๆ ที่นิยมกันใช้มากที่สุด 3-4 ฐานข้อมูลก่อนแล้ว ค่อยมาต่อภาค 2 กันอีก มาเริ่มตั้งที่ฐานข้อมูลที่บอกรับโดยสกอ.จะประกอบด้วย
1.ฐานข้อมูลScience Direct
Science Direct (ไซแอนซ์ ไดเร็ค) เป็นฐานข้อมูลของบริษัท Elsevierเว็บไซต์ถูกเปิดตัวในเดือนมีนาคม ปี 2540เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเข้าถึงของวารสารวิชาการเกือบ 2,500 วารสาร และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 26,000 เล่มด้วยกัน ประกอบด้วย หนังสือและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ วิทยาศาสาตร์การแพทย์ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี ค. ศ.1995 – ปัจจุบัน โดยปกติแล้วบทความส่วนใหญ่จะมีบทคัดย่อที่เข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และต้องสมัครสมาชิกหรือจ่ายแบบPay-per-view สำหรับการบอกรับเป็นภาคีภายใต้สัญญาของสกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ใช้วารสารได้ประมาณ 1,800 ชื่อ และใช้ Full Text ย้อนหลังได้ถึงปี 1995 โดยมีเงื่อนไขว่าทั้ง 24 มหาวิทยาลัยต้องคงมูลค่าการบอกรับฉบับพิมพ์ (ราคาปัจจุบัน) ที่ตนเองบอกรับ ซึ่งปรากฏในสัญญาบอกรับ ScienceDirect ที่ สกอ. เซ็นต์สัญญาในการบอกรับตั้งแต่ปี 2003
2.ฐานข้อมูล Hospitality & Tourism Complete
ฐานข้อมูลออนไลน์บทความวารสารนานาชาติทางด้านอุตสาหกรรมบริการ การท่องเที่ยวและโรงแรม มีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี ค.ศ.1965-ปัจจุบัน มีเอกสารฉบับเต็มรูปแบบ (Full Text) มากกว่า 828,000 รายชื่อ ประกอบด้วยวารสาร รายงานบริษัทประกาศ หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จากสำนักพิมพ์กว่า 490 แห่ง เช่น Asia Pacific Journal of Tourism Research, Current Issues in Tourism, International Journal of Tourism Research etc.
3. ACM : Association for Computing Machinery
เป็นฐานข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว และเอกสารในการประชุมวิชาการ ที่จัดท าโดย ACM (Association for Computing Machinery) ซึ่งเนื้อหาเอกสารประกอบด้วยข้อมูลที่ส าคัญ เช่น รายการบรรณานุกรมสาระสังเขป article reviews และบทความฉบับเต็ม ให้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี1985-ปัจจุบัน
4. ProQuest Dissertation & Theses Global
เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ฉบับเต็ม (Full-text) ของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเซีย และแอฟริกา มากกว่า 1000 แห่ง ประกอบไปด้วยเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและปริญญาโทตั้งแต่ปี 1997 ถึงปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 1.1 ล้านรายการ และสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านรายการ
สำหรับการเข้าถึงฐานข้อมูล
บุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้บริการได้เมื่อใช้อินเตอร์เน็ตในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ถ้ามีความประสงค์ที่จะเข้าใช้จากภายนอกเครือข่ายของมหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องเชื่อมต่อผ่าน VPN เสียก่อนถึงจะมีสิทธิ์ใช้งานได้
เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าฐานข้อมูลแต่ละฐานมีทั้งงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความที่มากมาย เพราะฉะนั้นแล้วมาใช้งานฐานข้อมูลกันเถอะคะ สำหรับรอบนี้ก็เท่านี้ก่อนนะคะ ไว้ต่อรอบหน้าคะ
KANTIMA SETTHAPHONG
More Posts
KANTIMA SETTHAPHONG