Post Views:
28
พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมือง เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น “กุฎาคาร หรือ เรือนยอด” คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ พระอภิมหาเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี ๒ รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์”
การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น
สำหรับพระเมรุมาศในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีลักษณะทรงบุษบก ๙ ยอด บุษบกประธานมี ๗ ชั้นเชิงกลอนภายในมีพระจิตกาธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมโกศ ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสูตร(ม่าน) และฉากบังเพลิงเขียนภาพพระนารายอวตารตอนบน และภาพโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตอนล่าง ที่ยอดบนสุดประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว๙ชั้น) มีลักษณะสอดรับกับความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาที่ยึดคติไตรภูมิ โดยเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม ตลอดจนยึดคติความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ ที่รับถือพระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพิฆเนศ โดยเช่ื่อว่าพระมหากษัตริย์สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า ความพิเศษของพระเมรุมาศนี้ ยังมีขนาดใหญ่กว่า ๔ ครั้งที่ผ่านมา มีฐานกว้่างด้านละ ๕๙.๖๐ เมตร สูง ๕๕.๑๘ เมตร ความพิเศษของพระเมรุมาศในรัชกาลที่ ๙ มีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการคือ
๑.ชัั้นเชิงกลอน โดยมีความใหญ่ของบุษบกประธานถึง ๗ ชั้นเชิงกลอนซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน
๒.สื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นพระโพธิสัตว์
๓.พระเมรุมาศครั้งนี้มี ๔ ชั้นชาลาแสดงถึงความสมจริงของเขาพระสุเมรุมากยิ่งขึ้น
๔.เขาของจักรวาลที่มีสระน้ำ หรือสระอโนดาตล้อมรอบเขาพระสุเมรุ โดยสระอโนดาตทั้ง๔มุมทำเป็นสระน้ำจริง
๕.เสาโคมไฟครุฑ จากเดิมเป็นหงส์เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนาราย
การวางผังที่ตั้งยังมีความโดดเด่นกว่าทุกพระเมรุที่ผ่านมา โดยแกนเหนือ-ใต้ ตรงกับแนวเจดีย์ทองในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก ตรงกับอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร โดยจุดที่ตัดกันเป็นที่ตั้งพระเมรุมาศ กาวงวางผังให้พระเมรุมาศเชื่อมโยงกับพระบรมมหาราชวังและวัด ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญ เชื่อมโยงว่าในหลวงรัชกาลที่ ๙ คือพระมหาราชาผู้ใหญ่และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกด้วย
การตกแต่งพระเมรุมาศใช้งานไม้ทดแทนการแกะสลักไม่จริง ส่วนใหญ่เป็นงานซ้อนไม้ด้วยวิธีการหล่อด้วยไฟเบอร์กาส ที่ใช้สำหรับงานลำลองหรืองานชั่วคราว การประดับตกแต่งจะใช้การปิดผ้าทองย่นสาบกระดาษสี แทนการปิดทองประดับกระจก โดยใช้ผ้าทองย่น ๕ สีหลัก คือ สีทอง สีขาว สีน้ำเงิน สีชมพู และสีเขียว ลายผ้าทองย่นประดับฐานชั้นล่างได้คัดสรรลายพิเศษเพื่อให้สมพระเกียรติ เป็นลายชั้นสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น ลายก้ามปู ลายก้ามแย่ง ลายลูกฟัก และลายก้านต่อ ถือเป็นลวดลายทีี่มีเอกลักษณ์รังสรรค์เพื่องานพระเมรุมาศโดยเฉพาะ ซึ่งลายก้านต่อจะใช้ทุกส่วนสำคัญของพระเมรุมาศ ทั้งบริเวณฐานสิงห์ บัวฐาน เสาหัวเม็ด ลักษณะของลายก้านต่อจะเป็นการต่อลายกันอย่างน้อย ๓ ลาย เช่น ดอกไม้ ใบเทศน์เปลว หน้าเทพนม ประดับต่อกันเป็นชั้นขึ้นไป
กล่าวได้ว่าพระเมรุมาศรัชกาลที่๙ มีเอกลักษณ์อย่างที่ไม่เคยปรากฎในประวัติศาสตร์มาก่อน อีกทั้้งยังนำเทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่งคง แข็งแรง ความรวดเร็ว และสวยงามวิจิตรศิลป์….
แหล่งที่มา
มติชน 2560. พระมรุมาศ ศิลปกรรมล้ำเลิศ สู่แดนสรวง. กรุงเทพ ฯ : มติชน.
พระเมรุมาศ. 2560. สืบค้นจาก http://kingrama9.net /Crematory
พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมือง เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น “กุฎาคาร หรือ เรือนยอด” คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ พระอภิมหาเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี ๒ รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์”
การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น
สำหรับพระเมรุมาศในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีลักษณะทรงบุษบก ๙ ยอด บุษบกประธานมี ๗ ชั้นเชิงกลอนภายในมีพระจิตกาธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมโกศ ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสูตร(ม่าน) และฉากบังเพลิงเขียนภาพพระนารายอวตารตอนบน และภาพโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตอนล่าง ที่ยอดบนสุดประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว๙ชั้น) มีลักษณะสอดรับกับความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาที่ยึดคติไตรภูมิ โดยเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม ตลอดจนยึดคติความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ ที่รับถือพระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพิฆเนศ โดยเช่ื่อว่าพระมหากษัตริย์สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า ความพิเศษของพระเมรุมาศนี้ ยังมีขนาดใหญ่กว่า ๔ ครั้งที่ผ่านมา มีฐานกว้่างด้านละ ๕๙.๖๐ เมตร สูง ๕๕.๑๘ เมตร ความพิเศษของพระเมรุมาศในรัชกาลที่ ๙ มีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการคือ
๑.ชัั้นเชิงกลอน โดยมีความใหญ่ของบุษบกประธานถึง ๗ ชั้นเชิงกลอนซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน
๒.สื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นพระโพธิสัตว์
๓.พระเมรุมาศครั้งนี้มี ๔ ชั้นชาลาแสดงถึงความสมจริงของเขาพระสุเมรุมากยิ่งขึ้น
๔.เขาของจักรวาลที่มีสระน้ำ หรือสระอโนดาตล้อมรอบเขาพระสุเมรุ โดยสระอโนดาตทั้ง๔มุมทำเป็นสระน้ำจริง
๕.เสาโคมไฟครุฑ จากเดิมเป็นหงส์เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนาราย
การวางผังที่ตั้งยังมีความโดดเด่นกว่าทุกพระเมรุที่ผ่านมา โดยแกนเหนือ-ใต้ ตรงกับแนวเจดีย์ทองในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก ตรงกับอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร โดยจุดที่ตัดกันเป็นที่ตั้งพระเมรุมาศ กาวงวางผังให้พระเมรุมาศเชื่อมโยงกับพระบรมมหาราชวังและวัด ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญ เชื่อมโยงว่าในหลวงรัชกาลที่ ๙ คือพระมหาราชาผู้ใหญ่และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกด้วย
การตกแต่งพระเมรุมาศใช้งานไม้ทดแทนการแกะสลักไม่จริง ส่วนใหญ่เป็นงานซ้อนไม้ด้วยวิธีการหล่อด้วยไฟเบอร์กาส ที่ใช้สำหรับงานลำลองหรืองานชั่วคราว การประดับตกแต่งจะใช้การปิดผ้าทองย่นสาบกระดาษสี แทนการปิดทองประดับกระจก โดยใช้ผ้าทองย่น ๕ สีหลัก คือ สีทอง สีขาว สีน้ำเงิน สีชมพู และสีเขียว ลายผ้าทองย่นประดับฐานชั้นล่างได้คัดสรรลายพิเศษเพื่อให้สมพระเกียรติ เป็นลายชั้นสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น ลายก้ามปู ลายก้ามแย่ง ลายลูกฟัก และลายก้านต่อ ถือเป็นลวดลายทีี่มีเอกลักษณ์รังสรรค์เพื่องานพระเมรุมาศโดยเฉพาะ ซึ่งลายก้านต่อจะใช้ทุกส่วนสำคัญของพระเมรุมาศ ทั้งบริเวณฐานสิงห์ บัวฐาน เสาหัวเม็ด ลักษณะของลายก้านต่อจะเป็นการต่อลายกันอย่างน้อย ๓ ลาย เช่น ดอกไม้ ใบเทศน์เปลว หน้าเทพนม ประดับต่อกันเป็นชั้นขึ้นไป
กล่าวได้ว่าพระเมรุมาศรัชกาลที่๙ มีเอกลักษณ์อย่างที่ไม่เคยปรากฎในประวัติศาสตร์มาก่อน อีกทั้้งยังนำเทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่งคง แข็งแรง ความรวดเร็ว และสวยงามวิจิตรศิลป์….
แหล่งที่มา
มติชน 2560. พระมรุมาศ ศิลปกรรมล้ำเลิศ สู่แดนสรวง. กรุงเทพ ฯ : มติชน.
พระเมรุมาศ. 2560. สืบค้นจาก http://kingrama9.net /Crematory
KANTIMA SETTHAPHONG
More Posts
KANTIMA SETTHAPHONG