Zotero เป็นโปรแกรมจัดการทางบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Reference management” เหมือนกับ Endnote และ Reference Manager เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ Firefox เพื่อใช้จัดเก็บรายการบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงของหนังสือ ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความหรือเอกสารต่างๆ ที่ผู้ค้น ค้นได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆเช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลของห้องสมุดหรือแหล่งสารสนเทศต่างๆ หรือจากเว็บไซต์ จากเลข ISBN, DOI, PubMed ID จากไฟล์ *ris และนอกจากนี้ยังสามารถนำเข้าข้อมูลด้วยวิธีนำเข้าตรง ได้ด้วยการนำเข้าข้อมูลและการสร้างรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงด้วย ZOTERO นั้นรองรับทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ซึ่งทำได้ง่าย โดยสามารถแทรกรายการอ้างอิงในส่วนของเนื้อหาและรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม เข้าไปในตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หรือรายงาน หรือบทความได้ง่ายสะดวกและรวดเร็วรวมทั้งสามารถถ่ายโอนข้อมูลบรรณานุกรมที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนตัวได้ และช่วยในการสร้างรูปแบบรายการทางบรรณานุกรมให้มีมาตรฐาน

ข้อดีของ Zotero มีอะไรบ้าง

  1. เป็นของฟรี
  2. รวมเป็นส่วนหนึ่งของบราวเซอร์ ที่ใช้ท่องเน็ตยอดนิยมอย่าง ไฟร์ฟอกซ์
  3. ทำ งานเข้ากันได้กับ Google Scholar, Google Book, Pubmed และเว็บอื่นๆ แต่มีปัญหากับ ScienceDirect อยู่ (เห็นว่า กำลังแก้ไขให้ทำงานด้วยกันได้เร็วๆนี้)
  4. สามารถเพิ่ม โน๊ต ที่สำคัญได้ และ ยังสามารถลิงค์กับไฟล์ PDF ที่เก็บไว้ในเครื่องได้ด้วย
  5. ระบบ “ค้นหา” อันสุดยอดมาก โดยหาข้อมูลที่ต้องการจาก Keyword (ซึ่งรับมาจากทางเซิร์ฟเวอร์เลย ไม่ต้องพิมพ์เอง) หรือหาจากข้อความใน PDF ก็ได้
  6. ใช้ Bibliography style ได้หลายแบบมาก รวมถึงจะแก้ไข สไตล์ด้วยตัวเองก็ได้เช่นกัน
  7. มีระบบ Cite While You Write เช่นเดียวกับ Endnote เลย (ทำให้มีการฟ้องร้องกันด้วย แต่ Zotero ชนะ)
  8. ทำงานกับ MS-Word ได้ดี รวมถึง OpenOffice.org ก็เช่นกัน
  9. สามารถแชร์ข้อมูลที่เก็บไว้ให้กับคนอื่นได้ (ในเวอร์ชั่น 2.0)
  10. สำคัญที่สุด รองรับภาษาทุกภาษา … เพราะใช้ระบบตัวหนังสือเป็น Unicode ในการเก็บข้อมูล

     โอ้ ฟังดูยิ่งใหญ่มากเลย … และความสามารถของซอฟแวร์นี้ก็มากสมราคาคุยจริงๆ หากมีข้อสงสัยสอบถามกับโปรแกรมZotero หรือการใช้งาน เชิญได้ที่ห้องสมุดคะ

อยากใช้ภาษาอังกฤษได้ ทำอย่างไร?
มหาลัยแห่งความสุข......

Leave a Comment