เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ได้รับโอกาสไปเข้าร่วม อบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการองค์ความรู้สู่ความสุขในการทำงาน (Routine to Happiness R2H)”สำหรับนักสร้างสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามโครงการ HAPPY UNIVERSITY

จริงๆ ก่อนหน้าที่จะเป็นตัวแทนนักสร้างสุข ของสำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต นั้น ก่อนหน้านี้ได้รับการทาบทามจากพี่เลขาท่านรองอธิการบดีว่าพี่แกเสนอชื่อฉันเป็น 1 ใน 3 ตัวแทนนักสร้างสุขไปแล้ว ซึ่งทาบทามนั้นเป็นคำทืี่เป็นเกียรติอย่างแรง สำหรับฉันตอนนั้นเรียกว่าเออออไปตามน้ำและกัน จริงๆมีคนที่เหมาะสมมากกว่าฉันหลายๆคน แต่ไหนๆก็เออออห่อหมกไปแล้ว…..เราก็ต้องทำให้เต็มที่ที่สุด ไม่คิดอะไรมาก คิดแค่ว่าเราทำงานแบบไหนแล้วมีความสุข เพื่อนก็คงเป็นแบบฉันเช่นกัน
ซึ่งบางครั้งฉันคิดว่าการวางแผนการทำให้คนทำงานมีความสุข ในการทำงาน มันใช่ความสุขเหรอ การมีความสุขต้องวางแผน ประชุมกันมากมายเลยหรือ ฉันจึงคิดว่า ความสุขไม่ต้องวางแผนทำเลยซึ่งๆหน้า เลย
หลังจากที่เข้าประชุมในครั้งนั้นจึงเจอกับคำว่า “อ๋อออออ” มันแบ่งเป็นอย่างนี้คือ การทำความสุขให้เกิดในองค์กร จะต้องมี
1. ผู้บริหาร คอยดูแลวางแผน+วางงบประมาณการเกิดความสุขกรณีต้องใช้ค่าใช้จ่าย
2. ผู้ประสานงานสร้างสุข คอยประสานงานระหว่างผู้บริหารและนักสร้างสุข
3. นักสร้างสุข คือคนที่คอยสร้างรอยยิ้ม สร้างความเข้าใจ สร้างความสุขระหว่างองค์กรกับพนักงาน คนที่คอยช่วยปรับทัศนคติขององค์กรกับพนักงานให้จูนเข้ากัน คอยส่งข้อมูลที่พนักงานทุกข์หรือสุขต่อให้ผู้ประสานงานสร้างสุข

ไม่ใช่ว่านักสร้างสุขจะต้องวางแผน ซึ่งฉันว่าถ้าฉันมานั่งวางแผนฉันก็คงไม่มีความสุขหรอกมั่ง อิอิ

เมื่อมี 3 คนนี้แล้ว องค์กรแห่งความสุขก็สามารถดำเนินต่อ แต่ที่สำคัญจะดำเนินการต่อได้อย่างสุขมากๆๆๆๆ หากพนักงานและองค์กรเข้าใจกันอย่างดี

ที่มาโครงการ Happy University การทำบันทึกข้อตกลง 8 ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข (MOU ระหว่างอธิการบดี) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแม่ข่าย ภายใต้การกำกับของรองศาสตราจารย์ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดยใช้ เครื่องมือ Happinometer สามารถแบ่ง HAPPY เป็น 9 ด้านดังนี้
Happy Body
Happy Relax
Happy Heart
Happy Soul
Happy Family
Happy Society
Happy Brain
Happy Money
Happy Work Life

ซึ่งก่อนหน้าที่จะจัดอบรมอันนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งแบบสอบบถามออนไลน์ให้ทุกวิทยาเขตกรอกว่าความสุขของวิทยาเขตต่างๆ ทั้ง 9 ด้านนี้เป็นอย่างไรบ้าง ของวิทยาเขตภูเก็ต มีพนักงานเข้าไปทำไม่ค่อยมากเท่าที่ควร อาจจะติดภารกิจกันวุ่นๆ อดเสียดายไม่ได้ และก็มีการสรุปผลแล้ว แต่ครั้งต่อไปค่อยมานำเสนอดีกว่า มีผลสรุปออกมาเรียบร้อยแล้ว ว่าพนักงานเรา HAPPY และไม่ HAPPY อย่างไร

หลายคนถามว่าความสุขวัดกันได้ด้วยเหรอ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือฉันที่สงสัย ???????????
อะไรคือความสุข????? ความสุขวัดกันได้ด้วยเหรอ….
แค่ไหนถึงจะเรียกว่าสุข??????????????????????????

จึงได้คำตอบมาว่า——–ความสุขของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่วัดได้โดยอาศัยการวัดจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ประเมินจากตัวเราว่าในเวลานั้นๆ เรามีความสุขหรือไม่ เครื่องมือ Happinometer สามารถวัดได้ตลอดเวลาทุกๆนาที ….ในเวลาต่างกันแค่ 1 นาทีความสุขอาจเปลี่ยนเป็นความทุกข์ได้เมื่อสภาพแวดล้อมและบริบทแปรเปลี่ยน

ฉันจึงคิดว่าความไม่ HAPPY ของพนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เมื่อครั้งอารมณ์ขณะตอบแบบสอบถาม วันนี้ขณะที่ฉันพิมพ์ เขาอาจ HAPPY แล้วก็ได้ ก็ความสุขมันแปรเปลี่ยนได้ทุกๆนาทีน่ะใช่ป่ะ

ในที่ประชุมมีการคิดว่าจะมีโครงการอะไรบ้างที่ทำความสุขให้กับพนักงาน มีหลายอย่างที่น่าใจ และบางวิทยาเขตก็ได้ทำโครงการที่นำเสนอไปแล้วด้วย วันนั้นจึงเป็นวันที่มีทั้งโครงการใหม่ โครงการเก่าแล้วมาเล่าผล จะหยิบยกตัวอย่างโครงการที่คิดว่าน่าจะทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข เช่น
– ข้าวกลางวันฟรีแก่พนักงาน ทำให้เกิด Happy Money เงินเหลือ Happy Society ทำให้คนในองค์กรมาเจอกันทุกเที่ยง ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
– นวดทุกวันศุกร์ ทำให้เกิด Happy Relax Happy Body
– มุมกาแฟ มุมวิวทิวทัศน์ บ่อเลี้ยงปลา ทำให้เกิด Happy Relax
– ตลาดนัดแลกของ ทำให้เกิด Happy Money ใครไม่ใช้อะไรแล้วก็เอามาแลกกับเพื่อนคนที่อยากได้ ไม่ต้องไปซื้อใหม่ให้เสียเงิน แลกของกันแทน

ท่านวิทยากรบอกว่า โครงการที่ทำเหมือนกันใช่ว่าจะได้ผลทุกองค์กร คงขึ้นอยู่กับอุปนิสัย อายุ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้นองค์กรจะต้องรู้จักธรรมชาติของพนักงานให้มากที่สุด แล้วค่อยหล่อหลอม จับทางให้เป็น…….กว่าจะเป็นองค์กรแห่งความสุขต้องใช้เวล่า แต่เมื่อไหร่ที่องค์กรมีความสุข พนักงานมีความสุขเมื่อนั้นหล่ะ….คือ …..

…… “สวรรค์ที่เยี่ยมยอดของการทำงาน……..”

วันนี้มาเล่าแค่นี้ก่อนน่ะค่ะ….อาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ เห็นว่าวิทยาเขตภูเก็ตควรจะมีโครงการอะไรที่คิดว่ามีแล้วตัวเองมีความสุขก็ส่งผ่านความคิดมายังดิฉันได้ค่ะ……จุ๊บุจุ๊บุ รักน่ะ ^_^

(^^PHEunG^^)wilaiporn

ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

More Posts

Follow Me:
Facebook

Zotero โปรแกรมบรรณานุกรมมาแรงแซง EndNote
การคิดเชิงรุก คืออะไร?

Discussion

Leave a Comment