ทำความรู้จัก WSL

Windows Subsystem for Linux (WSL) เป็นฟีเจอร์ใน Windows 10 Anniversary Update ที่เปิดโอกาศให้นักพัฒนาและผู้ใช้งานสามารถใช้งาน command-line tools (เช่น grep, seed และ อื่นๆ), utilities (vim, nano และ อื่นๆ) และ โปรแกรมต่างๆ (MySQL, Apache และ อื่นๆ) ที่เคยใช้ในสภาพแวล้อมของ Linux บนระบบปฎิบัติการ Windows ทำให้ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยกว่าการใช้ Virtual machine

ประโยชน์ของ WSL และ สิ่งที่ยังไม่รองรับ

  • เมื่อเข้าไปยัง Linux Shell (bash) แล้ว สามารถใช้คำสั่งบน Linux ในการเข้าถึงไฟล์บน Windows ได้
  • ยังสามารถเรียกใช้โปรแกรมบน Windows ผ่าน Shell ได้ด้วย เช่น explorer.exe
  • สิ่งที่ยังงานยังไม่รองรับโดยตรง บางอย่างต้องติดตั้ง หรือกำหนดค่าเพิ่ม เช่น การกำหนดสภาพแวดล้อมให้รองรับภาษาไทย และ การเรียกใช้โปรแกรมบน Linux ที่มีหน้าจอแบบกราฟฟิก

การเปิดใช้งาน WSL

  • คู่มือการเปิดใช้ WSL จากเว็บไซต์ของ Microsoft จะแนะนำให้ทำงานผ่าน PowerShell ในบทบาทของ Administrator ด้วยคำสั่ง
    Enable-Enable-WindowsOptionalFeature -Online -FeatureName Microsoft-Windows-Subsystem-Linux
  • นอกจากนี้สามารถติดตั้งผ่าน Programs and Features ได้ โดยไปที่ Control panel > Programs and Features > Turn Windows features on or off > Windows Subsystem for Linux (Restart Required)
  • ในบางเว็บไซต์แนะนำให้เปิด Developer mode ด้วย (ยังไม่ทราบเป้าหมายของกิจกรรมนี้) โดยไปที่ Settings > Update & Security > Use developer features > Developer mode
  • Restart
  • เปิด Command Prompt ด้วย Run > cmd
  • เรียกใช้คำสั่ง bash.exe หรือ wsl.exe
    หาก WSL ของเรายังไม่เคยติดตั้ง Linux distributions ใดๆ มาก่อน จะได้รับคำแนะนำดังนี้
    Windows Subsystem for Linux has no installed distributions.
    Distributions can be installed by visiting the Microsoft Store:
    https://aka.ms/wslstore

Install Linux Distribution

  • Go to Microsoft Store
  • ค้นหาด้วยคำว่า WSL, Ubuntu หรือ Linux and Get
  • สำหรับการติดตั้งครั้งนี้เลือก Ubuntu 18.04 LTS
  • หลังจากดำเนินการติดตั้งเสร็จสิ้น ให้เปิด Command Prompt แล้วเรียกคำสั่ง wsl, bash หรือ ubuntu1804 ซึ่งการใช้งานครั้งแรกจะให้กำหนด Username และ Password
    Installing, this may take a few minutes…
    Enter new UNIX username: {Your username}
    Enter new UNIX password: {Your password}
  • หลังจากนี้คุณสามารถสั่ง apt-get update และติดตั้งโปรแกรมที่ต้องการใช้งานได้เหมือนกับที่เคยทำมา
  • พื้นที่บนเครื่องสำหรับจัดเก็บ Linux แต่ละ Distribution สามารถพบได้ที่
    <username>\AppData\Local\Packages\CanonicalGroupLimited.UbuntuonWindows_79rhkp1fndgsc\LocalState

การจัดการ Linux Distribution

ใน WSL เราสามารถติดตั้ง Linux ได้หลายตัว จากภาพข้างต้นจะเห็นพื้นที่จัดเก็บระบบของ Ubuntu และ Debian ในส่วนนี้แนะนำคำสั่งในการจัดการ linux distribution

List distributions
สามารถใช้คำสั่ง wsl หรือ wslconfig (เก่า) พร้อมกับ option -l –list –all หรือ /l /list /all

Set a default distribution
หากเราเรียกใช้คำสั่ง wsl หรือ bash โปรแกรมจะเรียกใช้ Linux ตัวที่ถูกกำหนดไว้เป็น Default มาใช้งาน เราสามารถเปลี่ยน default distribution ได้ด้วยคำสั่ง wsl -s หรือ –setdefault

Run a specific distribution
นอกจากการกำหนด default distribution แล้ว ในจังหวะของการเรียกใช้ สามารถระบุ distribution ที่ต้องการใช้งานได้ด้วยคำสั่ง wsl -d

Unregister and reinstall a distribution
การ Unregister คือ การถอด distribution ออกจาก WSL ข้อมูลต่างๆ จะถูกลบออก จะคงเหลือเฉพาะตัว Linux เท่านั้น เมื่อมีการเรียก distribution ที่เคย unregister ออกไปแล้วนั้นระบบจะให้เราตั้งค่าต่างๆ ใหม่ คล้ายๆ กับการ reinstall ระบบใหม่เลย คำสั่งที่ใช้ คือ wsl –unregister

หากต้องการถอด distribute ออกจากเครื่องแบบถาวร สามารถลบได้จาก Apps & features

หากผมพบประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ จากการใช้งานจะนำมาแบ่งปันกันอีกในโอกาสถัดไป

อ้างอิง

  • https://docs.microsoft.com/en-us/windows/wsl/about
  • https://docs.microsoft.com/en-us/windows/wsl/install-win10
  • https://docs.microsoft.com/en-us/windows/wsl/wsl-config
มีเรื่องมาเล่า(Onsite Service)
การใส่ค่าสีใน HTML

Leave a Comment