ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการเลือก Digital ID ที่มีอยู่ในเครื่องมาใช้งาน โดยหากเป็นการใช้งานครั้งแรกจะไม่ปรากฏรายการ Digital ID จะต้องทำการนำเข้า Digital ID เสียก่อน ซึ่งจะทำในครั้งแรกเท่านั้น ในการใช้งานครั้งต่อไปไม่ต้องทำอีก จะปรากฏรายการ Digital ID ให้ใช้งานได้เลย ดังขั้นตอนต่อไปนี้
ในตอนนี้จะปรากฏรายการ Digital ID ให้เลือกใช้ได้แล้ว
ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการสร้างสัญลักษณ์ที่จะให้ปรากฏเป็นลายเซ็นต์ ซึ่งอาจจะเป็นรูปลายเซ็นสวยๆ ที่สะแกนมาเป็นไฟล์รูปภาพ หรือการใช้เม้าส์เขียนลากให้เป็นลายเซ็นของเรา หรือใช้พิมพ์ลงไป หรือแม้กระทั่งใช้รูปภาพลายการ์ตูนน่ารักๆ แต่โปรดจำไว้ว่าสัญลักษณ์ลายเซ็นไม่มีความสำคัญอะไร สิ่งที่สำคัญคือ Digital ID ที่กำกับอยู่บนสัญลักษณ์นั้นต่างหากที่เป็นตัวบ่งบอกว่าไครเป็นคนลงลายเซ็นของ และลงลายเซ็นไว้เมื่อไหร่
ว่าด้วยเรื่องของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การลงนามในเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอกสารที่เป็นแฟ้มข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์เอกสาร Word, Excel, PDF File หรืออื่นๆ เป็นต้น
Electronic Signature คือ การทำสัญลักษณ์ หรือ ลายเซ็น ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการยืนยันหรือลงนามในเอกสาร เช่น รูปภาพลายเซ็นที่เซ็นด้วยหมึกปากกาลงในกระดาษแล้วสแกนเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพเข้าสู่คอมพิวเตอร์, การใช้เมาส์หรืออุปกรณ์ Stylus หรือ เมาส์ปากกา หรือ อื่นๆ เพื่อเซ็นหรือวาดรูปลายเซ็นลงไปในคอมพิวเตอร์ หรือการพิมพ์ชื่อลงไปด้วยคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังรวมถึงการคลิกยอมรับในแบบฟอร์มต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ (เช่น “ยอมรับ”, “I Agree” ฯลฯ นั่นหมายถึง Electronic Signature) ซึ่งมีข้อดีคือใช้สัญลักษณ์ หรือรูปภาพลายเซ็นที่ผู้ใช้สามารถเห็นได้ง่าย ทำให้ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของลายเซ็น (ดูรูปลายเซ็น) แต่มีข้อเสีย คือ ถูกคัดลอกจากเอกสารฉบับหนึ่งไปยังอีกฉบับหนึ่งได้ง่าย, ไม่สามารถตรวจจับการแก้ไขเนื้อหา หรือข้อความในเอกสารที่เกิดขึ้นหลังจากการเซ็นได้ และที่สำคัญวิธีการนี้ยังขาดความชัดเจน ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายเซ็นเป็นผู้ลงนามจริงหรือไม่ จึงอาจโดนปฏิเสธความรับผิดชอบในทางกฏหมาย
Digital Signature เป็นลายเซ็นที่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกัน แต่มีการเพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเข้าไป เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น มีคุณสมบัติที่จะต้องประกอบด้วย ความสามารถในการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนเซ็นเอกสาร หรือ Signer Authentication ตัวลายเซ็นจะต้องสามารถใช้ในการเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่เซ็นเอกสารได้, ความสามารถในการตรวจสอบ หรือ Data Integrity คือจะต้องพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขเอกสารหลังจากที่ได้มีการเซ็นไปแล้วหรือไม่ และไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ หรือ Non-repudiation เพราะลายเซ็นที่สร้างขึ้นมีเอกลักษณ์ สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้เซ็นเอกสาร ดังนั้นการลงนามแบบ Digital Signature จึงมีความสมบูรณ์และมีผลในทางกฏหมาย
ดังที่กล่าว Digital Signature นั้นมีความสมบูรณ์และมีผลในทางกฏหมาย แต่มีความยุ่งยากในการใช้งาน มีการเข้ารหัสลับ ผู้ใช้งานจะต้องได้รับการรับรองดิจิทัลประจำตัวบุคคลโดย Certificate Authority (CA) หรือ องค์กรผู้ประกอบกิจการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่เชื่อถือ มีรหัสลับหรือกุญแจประจำตัวในการใช้งาน Digital Signature ในบทความนี้จะพูดถึงการใช้งาน Digital Signature ในเอกสารที่เป็น PDF File โดยผู้ใช้งานในระบบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เท่านั้น
สิ่งที่ต้องมี
1. โปรแกรม Adobe Acrobat Reader (ใช้ได้ทั้งแบบฟรีและแบบไม่ฟรี) ในที่นี้ผู้เขียนจะใช้ Adobe Acrobat DC
**ติดตั้ง Software ลงในเครื่องให้เรียบร้อยก่อนการติดตั้งและใช้งาน Digital Signature
2. CA Certificate โดยใช้ใบรับรับรองที่ออกให้โดย Thailand University Consortium
3. Digital ID หรือใบรับรองและกุญแจรหัสประจำตัวบุคคล โดยเราจะใช้ใบรับรองนี้ที่ออกให้โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ไฟล์รูปภาพลายเซ็นของตัวเองที่สวยที่สุด (**หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้**)
ขั้นตอนการติดตั้ง Digital Signature
หลังจากที่เรามี Adobe Acrobat Reader อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว การติดตั้งและใช้งาน Digital Signature ตามขั้นตอนต่อไปนี้
การนำ Digital Certificate เพื่อใช้เป็น Digital Signature
ถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการติดตั้ง Digital Certificate บนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ต่อไปจะเป็นการนำ Digital Certificate มาใช้งานเพื่อใช้เป็นลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ในโปรแกรม Adobe Reader ดังนั้นไฟล์เอกสารที่เราใช้จะเป็น PDF ไฟล์เท่านั้น
ในตอนนี้จะปรากฏรายการ Digital ID ให้เลือกใช้ได้แล้ว
PREECHA BOONLAMP
More Posts
PREECHA BOONLAMP